ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตบุคลากรกรมชลประทานตามแนวพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
ตัวชี้วัด, คุณภาพชีวิตของบุคลากร, กรมชลประทาน, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งที่บุคคลใฝ่หาเป็นอย่างยิ่ง เพราะหมายถึงความอยู่ดีกินดีชีวิตมีความสมบูรณ์ องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรของตน ด้วยว่าคุณภาพชีวิตของบุคลากรที่ดี ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร เนื่องจากบุคลากรที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีย่อมปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มศักยภาพ ดังนั้นกรมชลประทาน จึงได้มีการกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของบุคลากรไว้เป็นเบื้องต้น ทั้งนี้การนำหลักภาวนา 4 เป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิต จะทำให้เกิดกระบวนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ทำให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีร่างกายที่สมบูรณ์ ปฏิบัติตนตามระเบียบวินัย มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีปัญญาดี สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ
References
กรมชลประทาน. (2566). รายงานประจำปี 2566. กรุงเทพมหานคร : กรมชลประทาน.
กรมชลประทาน. รายงานประจำปี 2561. สืบค้น 2 มิถุนายน 2563. จาก http://www1.rid.go.th/main/_data/annual-conclusion/RID-Annual/RID_Annual_2018.pdf.
กรมพัฒนาชุมชน. การพัฒนาหมู่บ้านอีสานเขียวแบบผสมผสานสนับสนุนโครงการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง. พฤษภาคม 2558.
ชัยวัฒน์ ปัญจพงษ์ และคณะ. (2546). คู่มือฉบับสมบูรณ์ฉบับประชากรศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
เดชา บุญมาสุข. (2559). “การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.
นิศารัตน์ ศิลปะเดช. (2549). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏธนบุรี.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2533). บทบาทของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบัน : พุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : รุ่งแสงการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 22. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2553). ปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2550). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ธรรมกมลการพิมพ์.
ส่วนส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักมาตรฐานการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2556). ความเป็นมาของ “ธรรมาภิบาล” และ “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” สืบค้น 10 มกราคม 2567 จาก https://www.dla.go.th/upload/templateOrganize/tempNews /2013/3/24252_2.pdf
สาริกา หาญพานิชย์. (2558). “การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธบูรณาการ”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Abraham H. Maslow. (1943). “A Theory of Hunman Motivation”. Psychological Review. (50), 340-396.
K., Koffka. (1978). Encyclopedia of the Social Science. New York: The Macmillan Company.
