ก้าวย่างทางประวัติศาสตร์การเคลื่อนตัวของหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด

ผู้แต่ง

  • พระครูชินวีรบัณฑิต (เอก ชินวํโส) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระอธิการจารึก สญฺญโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาปัญญา ปญฺญาสิริ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เจษฎากรณ์ คุณคำเท็ญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธวัช แย้มปิ๋ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์, การเคลื่อนตัว, หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            ในปัจจุบันราชอาณาจักรไทยมีพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 9 เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับเดียวที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด อีกทั้งการปรับใช้และการตีความหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดนั้น ยังคงต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบประการอื่นๆนอกเหนือจากที่มีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากพัฒนาการของหลัก Volenti Non Fit Injuria นั้นไม่มีความตายตัว และมีความยืดหยุ่นในการปรับใช้ การตีความ โดยเมื่อมีการโอนถ่ายหลักกฎหมายนี้เข้ามาในราชอาณาจักรไทย ก็ได้มีการพัฒนาในรูปแบบเฉพาะของราชอาณาจักรไทย ผ่านเครื่องมือการถ่ายโอนที่หลากหลาย เช่น ประมวลกฎหมาย นักกฎหมาย หรือการเรียน การสอน แต่ในปัจจุบัน การปรับใช้และการตีความหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด มีความแตกต่างไปจากสมัยเริ่มแรก ที่มีการรับเอาหลักกฎหมายนี้เข้ามาสู่ราชอาณาจักรไทย เพราะผลของพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัตินี้ที่ก่อให้เกิดปัญหาว่า ขอบเขตการใช้บังคับในส่วนที่ว่าความยินยอมซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนให้ตกไปนั้น เป็นการวางหลักยกเว้นผลของกฎหมายที่กว้างมากเกินไป จนถึงขนาดขัดต่อเจตนารมณ์ของการก่อกำเนิดหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด อีกทั้งราชอาณาจักรไทยไม่มีการกำหนดหลักการเรื่องความยินยอมไม่เป็นละเมิดไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจน จึงนำไปสู่การใช้การตีความในบริบทที่มีความแตกต่างกันไป

References

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2511). การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราช. พระนคร: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี.

บุญช่วย วณิกกุล. (2463). หลักกฎหมายประทุษร้ายส่วนแพ่ง รัตนโกสินทร์ศก 129. พระนคร: มปท.

พระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540. (2540, 16 พฤศจิกายน 2540). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 72 ก.

เพ็ง เพ็งนิติ. (2553). คำอธิบาย (ฉบับย่อ) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด และ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จิวรัชการพิมพ์.

วารี นาสกุล และจรัญ ภักดีธนากุล. (2553). คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง.

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2555). คำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้ (ผลแห่งหนี้). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สุธีรา จินายน. (2550). วิเคราะห์ปัญหาการใช้การตีความมาตรา 9 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540. (นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์) กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพัชรินทร์ อัศวธิตานนท์. (2552). พัฒนาการของหลักกฎหมาย VOLENTI NON FIT INJURIA : ศึกษาการปรับใช้กับประเทศไทย. (นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์. (2547). การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 : การวางรากฐานเพื่อก้าวจากสังคมจารีตลักษณ์สู่สังคมนวลักษณ์ของสยาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 16(1), 29-48.

เสนีย์ ปราโมช. (2479). กฎหมายอังกฤษว่าด้วยลักษณะสัญญาและละเมิด. พระนคร: โรงพิมพ์สุวรรณศรี.

หลวงสารนัยประสาสน์. (2499). พัฒนาการศึกษากฎหมายในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cooke, J. (2011). Law of Tort (10th ed.). United Kingdom: Dorset Press.

Jackson, M. V. (1977). Law Case Summary. Retrieved April 20, 2024, from https://www.lawteacher.net/cases/miller-v-jackson.php?vref=1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-07-2024