บทบาทของพระพุทธศาสนาในวิกฤตภัยพิบัติทางธรรมชาติ: ความเข้าใจกรอบแห่งพุทธบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • พระอดิศักดิ์ อนาลโย วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง
  • พระมหาชินภัทร ฉินฺนาลโย วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง
  • พระมหามนูญ ปริญฺญาโณ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง

คำสำคัญ:

บทบาท, พระพุทธศาสนา, ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, พุทธบูรณาการ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักพุทธบูรณาการ และเพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ในกิจการได้ในทุกขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยเหลือบรรเทาและระดับบุคคลที่สามารถวางแนวคิดเผชิญกับภัยพิบัติได้ ด้วยกรอบแห่งพุทธบูรณาการ เพื่อนำหลักการและคุณค่าจากพุทธศาสนามาวิเคราะห์และทำความเข้าใจภาวะการทำงานขององค์กร บุคลากร เสริมสร้างสังคมที่ยั่งยืน ก่อเกิดความร่วมมือ บ่อยครั้งที่มนุษย์ต้องประสบกับความสูญเสียอันเป็นผลกระทบที่ต้องพยายามแก้ไขภาวะวิกฤตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่ให้ผลกระทบทั้งด้านจิตใจและร่างกาย การพัฒนาจิตเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการเข้าใจในพระธรรม อันเป็นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการก่อเกิดองค์ปัญญาขึ้นโดยผ่านการปฏิบัติ สามารถกระทำได้แม้ในเวลาทำงาน การปลูกจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมตามวิถีแห่งพุทธธรรม ประโยชน์ในการปรับหลักพุทธธรรมมาใช้นั้น สามารถทำได้ ตั้งแต่การวางแนวคิดที่ดีในองค์รวมทั้งองค์กรในระดับนานาชาติลงมาถึงการประสานงานขององค์กรในระดับท้องถิ่น ด้วยหลักมัชฌิมาปฎิปทา การสร้างระบบความคิดด้วยหลักของการพิจารณาแบบโยนิโสมนสิการ และมีการวางรูปแบบการวางตัวอย่างเหมาะสมเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยหลักหลักสังคหวัตถุ 4 การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมที่กรมชลประทานใช้นั้น คือ หลักสัปปุริสธรรม 7 ผนวกเข้ากับหลักการจัดการ ในการบริหารจัดการน้ำให้มีการแก้ปัญหาที่มีความเหมาะสมอย่างมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขวิกฤตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติด้านอุทกภัย แนวทางสำคัญที่ช่วยให้การพัฒนาทั้งในส่วนบุคลากรและหน่วยงานให้สามารถมีความตั้งใจ ความใส่ใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เกิดการบริหารจัดการแก้ปัญหาภาวะวิกฤตและมีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ในระดับบุคคลที่ประสบภัย หากเข้าใจในหลักแห่ง อริยสัจ 4 มาใช้เพื่อการดูแลสุขภาพ แม้ในภาวะการณ์ขาดแคลนด้านการประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ การในชีวิตด้วยหลักธรรมด้านปัจจัย 4 และสามารถประยุกต์ร่วมกับ ทฤษฎีแรงจูงใจของมนุษย์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) ทำให้สามารถเข้าถึงความต้องการของผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้เป็นอย่างดีและสามารถให้ความช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการในช่วงเวลาที่เร่งด่วน แม้ในยามที่ต้องเผชิญกับวิกฤตจากภัยพิบัติจากธรรมชาติ

References

กฤษณ ธาดาบดินทร และ พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ. (2565). อริยสัจกับการแก้ปัญหาในสังคมไทย. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(2), 249-260.

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย. (2558). ปัจจัย 4 กับวิถีชีวิตของฆราวาส แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2567, จากhttps://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i= 10082.

ตวงเพชร สมศรี. (2558). ระบบการทำงานของบุคคลต้นแบบเชิงพุทธบูรณาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นฤมล สมรรคเสวี. (2557). ภาวะวิกฤตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติกับบทบาทพยาบาล, วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(2), 1-16.

พระครูไพศาลศีลวัฒน. (2565). รูปแบบการจัดการสภาพแวดล้อมและภาวะวิกฤตอุกทกภัยของชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง (ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสารกิจประยุตฒ (2560), การประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในการแก้ไขปัญหาชีวิต. ธรรมทรรศน์, 17(2), 257-267.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2558). พระธรรมเทศนา : วิธีการทำงาน ให้เป็นการปฏิบัติธรรม. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2567, จาก http://www.trilakbooks.com/index.php?mo=1.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺฺโต), (2564), พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: นิติธรรมการพิมพ์.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2563). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการเชิงพุทธ Research Methodology in Buddhist Management. พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อดิเทพ ภิญญาเกษม. (2565). การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทานโดยการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม (ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Maslow., A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50(4), 370–396.

Formoso-Suáre, A. M., et al. (2022). The Impact of Religion and Social Support on Self-Reported Happiness in Latin American Immigrants in Spain. Religions, 13(122), 1-14.

Davis, K. (1957). Human Relations in Business. New York: McGraw-Hill Book Company, INC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-07-2024