ปรัชญาการเมือง : กรณีศึกษาแนวคิดของอริสโตเติล
คำสำคัญ:
ปรัชญา, การเมือง, อริสโตเติลบทคัดย่อ
บทความเรื่อง ปรัชญาการเมือง : กรณีศึกษาแนวคิดของอริสโตเติล ผลการศึกษา พบว่า อริสโตเติลนักปราชญ์ชาวกรีกที่มีคุณูปการต่อแนวคิดทางการเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยได้นำเสนอหลักการทางการเมือง กล่าวคือ 1. มนุษย์เป็นสัตว์การเมืองและเป็นสัตว์สังคม หมายถึง มนุษย์ไม่ได้สามารถอยู่ดำรงได้เพียงลำพังเหมือนสัตว์อื่น แต่จะดำรงชีพได้อย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่ออยู่ภายในขอบเขตของนครรัฐ 2. การก่อตัวเกิดรัฐได้นั้น เริ่มจากปัจเจกบุคคล แล้วขยายออกไปเป็นครอบครัว หมู่บ้าน ชุมชน และเป็นนครรัฐในที่สุด โดยนครรัฐจะทำหน้าที่สร้างหลักประกันความมั่นคงและพัฒนาอารยธรรมแก่มนุษย์ 3. อริสโตเติลสนับสนุนหลักการปกครองโดยกฎหมายเพราะการปกครองที่ดีจะต้องเป็นการปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายและกฎหมายจะเป็นเครื่องมือในการกำกับ ดูแล รักษาความยุติธรรมภายในสังคม โดยอาศัยกฎหมายจากกฎหมายธรรมชาติ และกฎหมายที่มนุษย์กำหนดขึ้น 4. สนับสนุนให้มีการถือครองสมบัติส่วนตัวปฏิเสธแนวคิดการถือกรรมสิทธิ์ครอบครองแบบสาธารณะ 5. การปกครองของรัฐ ได้แก่ ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย โพลิตี้ ทรราช คณาธิปไตย และ ประชาธิปไตย และ 6. สนับสนุนการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดตามทัศนะของอริสโตเติลได้นำเสนอการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ เป็นรัฐที่ถูกปกครองโดยราษฎรเป็นผู้เลือกมาเพื่อบริหารประเทศ
References
กิติวัฒน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2548). นิติรัฐ. วารสารข่าวกฎหมายใหม่, 3(1), 53-56.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2533). ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ. กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2540). ปรัชญากรีก: บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม บริษัทเคล็ดลับไทย จำกัด.
พิศาล มุกดารัศมี. (2558). การศึกษาแนวคิดในการสร้างสถาบันทางการเมืองและกระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ผู้นำมีคุณธรรมและพลเมืองมีความเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ฟื้น ดอกบัว. (2544). ปวงปรัชญากรีก (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศยาม.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.
วินัย ผลเจริญ. (2556). ทฤษฎีสังคมและการเมือง. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิรัช เตียงหงษากุล. (2529). การพัฒนาชุมชน ตามแนวความคิดนักปรัชญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์. (2537). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อมรการพิมพ์.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2538). การเมือง: แนวคิดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
สมยศ เชื้อไทย. (2545). ความรู้นิติปรัชญาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชนจำกัด.
สมัคร บุราวาส (ผู้แปล). (2522). ประวัติและลัทธิปวงปรัชญาเมธี. กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.
สุลักษณ์ ศิวรักษ์. (2520). นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชย์.
สุลักษณ์ ศิวรักษ์. (2543). แนวคิดทางปรัชญาการเมืองของอริสโตเติล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.
Rodee, C.C. (1957). Introduction to Political Science (4th ed.). New York: McGraw Hill.
Thilly, F. (1976). A History of Philosophy. Allahabad: Central Book Depot.
Stace, W.T. (1965). A Critical History of Greek Philosophy. New York: Macmillan.
Wagner, P. (2006). Social theory and political philosophy. In Handbook of Contemporary European Social Theory. London and New York: Routledge.
