หลักอริยสัจ 4 กับการกำหนดนโยบายสาธารณะ

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ แจ้งพงศ์พันธ์ นักวิชาการอิสระ
  • ชนาธิป พรมวัน นักวิชาการอิสระ
  • นิชนันท์ บุญโข นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

หลักอริยสัจ 4, การกำหนดนโยบายสาธารณะ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ หลักอริยสัจ 4 กับการกำหนดนโยบายสาธารณะ ซึ่งมีความเหมือนกันอยู่หลายประการ ถึงแม้หลักอริยสัจ 4 จะอธิบายในมุมของปัจเจกบุคคลเพื่อให้รู้และเข้าใจกฎของธรรมชาติ ส่วนการกำหนดนโยบายสาธารณะเป็นการอธิบายถึงการแก้ไขปัญหาโดยส่วนรวมของสังคม หากมองในรายละเอียดจะพบว่ากระบวนการกำหนดนโยบายก็ต้องอาศัยหล้กอริยสัจ 4 เป็นพื้นฐานการกำหนดเป็นนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับสังคมเช่นเดี่ยวกันดังนี้ 1. ทุกข์ คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกสถานที่ ทุกเวลา และทุกโอกาส การกำหนดนโยบายต้องค้นหาทุกข์ คือ การระบุปัญหา ที่แท้จริงให้ได้ก่อน 2. สมุทัย คือ เหตุแห่งความทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นต้องมีสาเหตุ ต้องเกิดจากอะไรบางอย่าง คือ การวิเคราะห์ปัญหา ปัญหาสาธารณะต่าง ๆ มักไม่ได้เกิดขึ้นมาโดยเอกเทศแต่มีลักษณะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน 3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ความทุกข์หรือปัญหาทั้งหลายนั้นดับได้ด้วยการดับที่สาเหตุของปัญหา ซึ่งเกี่ยวกับ การพิจารณาทางเลือก 4. มรรค คือ วิถีทางแห่งความดับทุกข์/ปัญหา ก็คือ การอนุมัติและประกาศเป็นนโยบาย เป็นขั้นตอนเป็นขั้นตอนที่ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีทีสุดแล้ว และระบุหน่วยงานที่เหมาะสมรับผิดชอบ

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เอสดีจี มูฟ. (2567). ทำไมนโยบายสาธารณะไทย (ยัง) ไปไม่ถึงความยั่งยืน?. สืบค้น 23 พฤษภาคม จาก : https://www.sdgmove.com/2021/09/07/sdg-updates-reasons-why-thais-public-policy-has-not-yet-sustainable/#_ftn1.

Anderson, J.E. (1994). Public Policy–Making: Introduction (2nd ed.). New York: Houghton Mifflin Company.

Dye, T.R. (1978). Understanding Public Policy (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Harold D.L. & Abraham, K. (1970). Power and Society. New Haven: Yale University Press.

John E., et al. (1981). New Strategic Perspectives on Social Policy. [Subtitle]: (Pergamon Policy Studies on Social Policy series). Tropman Paperback: Pergamon Press.

Prewitt, K. & Verba, S. (1983). An Introduction to American Government. (4th ed.). New York: Harper & Row.

Sharkansky, I. (1970). The Political Scientist and Policy Analysis: An Introduction in Policy Analysis in Political Science, ed. Ira Sharkansky. Chicago: Markham Publishing Company.

William, W.B. (1975). Implementation Analysis and Assessment. Policy Analysis. 1(3), 531-566

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-07-2024