หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการนำนโยบายไปปฏิบัติตามนโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566–2570)
คำสำคัญ:
การนำนโยบายไปปฏิบัติ, นโยบายและแผนความมั่นคงแห่งชาติ, อปริหานิยธรรม 7บทคัดย่อ
นโยบายความมั่นคงเป็นนโยบายในระดับชาติที่กำหนดไว้เป็นกรอบในการบริหารประเทศยับยั้งภัยคุกคามต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นเพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นของของชาติ กระบวนการในการนำนโยบายด้านความมั่นคงไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการดำเนินการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม ที่สำคัญคือเครื่องมือทางวิชาการได้แก่หลักการและขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติได้แก่ 1. ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล 2. ตัวแบบทางด้านการจัดการ 3. ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ 4. ตัวแบบทางกระบวนการของระบบราชการ 5. ตัวแบบทางการเมือง 6. ตัวแบบเชิงบูรณาการ และหลักอปริหานิยธรรม 7 ประการ ประกอบด้วย 1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2. พร้อมเพรียงกันประชุม 3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ 4. เคารพนับถือผู้ใหญ่ 5. ให้การคุ้มครองเด็กและสตรี 6. เคารพปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ 7. ให้การคุ้มครองที่ชอบธรรมแก่ทุกฝ่าย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2564). พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).
วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2544). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2566). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2566-2570). กรุงเทพฯ: กองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง.
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก หน้า 5.
Donald, S. & Carl, E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration and Society. 6(4), 10-16.
Nagamura, R.T. & Smallwood, F. (1980). The Politics of Policy Implementation. New York: Martin Press.
