การจัดการเชิงพุทธสมัยใหม่กับการจัดการองค์การสงฆ์

ผู้แต่ง

  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมบัติ อรรถพิมล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากิตติกร กิตฺติรกฺโข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการเชิงพุทธ, สมัยใหม่, องค์การสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มุ่งศึกษา การจัดการเชิงพุทธสมัยใหม่กับการจัดการองค์การสงฆ์ โดยศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ ตำรา เว็ปไซต์และการวิเคราะห์สังเคราะห์จากฐานแนวคิดตามหลักพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่า 1.การจัดการเชิงพุทธสมัยใหม่เป็นการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการประยุกต์หรือบูรณาการกับการบริหารจัดการองค์การที่ทันสมัย คือ ในสถานการณ์ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ความทันสมัยในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ การติดต่อประสานงานต่าง ๆ มีความรวดเร็ว สามารถประยุกต์หลักธรรมมาใช้ ยกตัวอย่างเช่น หลักการมีสติ คือ ความระลึกได้ก่อนคิด ก่อนพูด ก่อนกระทำ และโยมนสิการคือพิจารณาไตร่ตรองไม่เชื่ออะไรโดยไม่ได้รับการศึกษาข้อมูลที่ชัดเจน เป็นต้น ในส่วนที่ 2 คือการจัดการเชิงพุทธที่เน้นไปในแนวทางการบริหารกิจการคณะสงฆ์มีอยู่ 6 ด้าน กล่าวคือ คือการปกครอง การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การสาธารณสงเคราะห์และการสาธารณูปการ ซึ่งเป็นการจัดการองค์การของคณะสงฆ์ 2.การจัดการเชิงพุทธสมัยใหม่จำเป็นจะต้องอาศัยหลักพระธรรมวินัยตั้งแต่สมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าได้วางหลักไว้รวมถึงการอ้างอิงถึงแนวคิดตะวันตกหรือพระราชบัญญัติคณะสงฆ์รวมถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการจัดการองค์การสงฆ์ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่การทำที่ชัดเจนและสิ่งสำคัญก็คือการประยุกต์หลักธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดจึงเป็นการสมบูรณ์แบบในเรื่องของการจัดการองค์การสงฆ์และรวมถึงการจะนำไปใช้ในการบริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเกิดใช้หลักธรรมเข้ามาด้วยก็จะประกอบกับสิ่งที่เป็นประโยชน์ทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

References

พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์ และชลิดา ศรมณี. (2531). หลักการจัดองค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ห.จ.ก.แสงจันทร์การพิมพ์.

พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตฺโต. (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์ ประยูร ธมฺมจิตฺโต. (2541). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พุทธทาสภิกขุ. (มปป.). การบริหารธุรกิจแบบพุทธ. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2538). วินัยมุข เล่ม 3 หลักสูตรนักธรรมชั้นเอก (พิมพ์ครั้งที่ 28). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกฏราชวิทยาลัย.

สัมฤทธิ์ ท่าเหล็กเจริญ. (2546). ปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตาบลในเขตจังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรพล สุยะพรหม และคณะ. (2555). ทฤษฎีองค์การและการจัดการเชิงพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุลักษณ์ ศิวรักษ์. (2538). การบริหารงานแบบพุทธ. กรุงเทพฯ: บริษัทส่องสยาม จำกัด.

เสนาะ ติเยาว์. (2546). หลักการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-07-2024