วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/001-1447cc6dd353074809d937a61e946898.png" alt="" width="30" height="30" /><br />วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ</strong></p> <p><strong>E-ISSN</strong>: 3027-8643</p> <p><strong>กำหนดออก</strong> : 4 ฉบับต่อปี <br />ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม <br />ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน <br />ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน<br />ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong></p> <p>วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงที่มีการประยุกต์พระพุทธศาสนากับศาสตร์ทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และการจัดการ การศึกษา และนิติศาสตร์</p> หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย th-TH วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 3027-8643 พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ภายใต้สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/1114 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และ 3. เพื่อนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีภายใต้สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 395 คน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Multiple Regression Analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาเพื่อยืนยันผลการศึกษาเชิงปริมาณจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญอีกครั้งหนึ่ง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=4.20) เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านพฤติกรรมทางวิชาชีพ ด้านการรักษาความลับ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความรู้ ความสามารถและความเอาใจใส่ทางวิชาชีพ ด้านความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระ และด้านความโปร่งใส ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พบว่า หลักการบัญชีบริหารส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ประกอบด้วย การวิเคราะห์ การสื่อสาร การสร้างความเชื่อมั่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนสารสนเทศ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และหลักพละ 5 ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ประกอบด้วย ปัญญา ความรู้ทั่ว วิริยะ ความเพียร สมาธิ ความตั้งจิตมั่น สัทธา ความเชื่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนสติ ความระลึกได้ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีภายใต้สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ คือการนำหลักพละ 5 เข้ามาบูรณาการ ประกอบด้วย ศรัทธาพละ ความเชื่อ วิริยะพละ ความเพียร สติพละ ความระลึกได้ สมาธิพละ ความตั้งจิต และปัญญาพละ ความรู้ทั่ว นอกจากนั้นยังนำหลักการบัญชีบริหารมาเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทั้ง การสื่อสาร สารสนเทศ การวิเคราะห์ และการสร้างความเชื่อมั่น </p> พนิดา อมราวิกรม สุรพล สุยะพรหม เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 1 11 นวัตกรรมเชิงพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/1093 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานอย่างมีความสุข 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีความสุข และ 3. เพื่อนำเสนอนวัตกรรมเชิงพุทธบูรณาการกับการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจโดยเก็บข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 227 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 53 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นในภาพรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.917 และการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์ผลการวิจัยนำมาสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 11 รูปหรือคน เพื่อยืนยันผลการศึกษา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.81) โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ การยอมรับในตนเอง การมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ด้านการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต การพัฒนาตนเอง การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม และความเป็นตัวของตัวเอง 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พบว่า ปัจจัยการบริหารจัดการส่งผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลมงกุฎเกล้า 3 ด้านคือ เงินทุน บุคคล การบริหารจัดการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และหลักพรหมวิหาร 4 ส่งผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลมงกุฎเกล้าทั้ง 4 ด้านคือ อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง) มุทิตา (ความยินดี) เมตตา (ความรัก) กรุณา (ความสงสาร) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 3. นวัตกรรมเชิงพุทธบูรณาการกับการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พบว่า การปฏิบัติงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย ความเป็นตัวของตัวเอง การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาตนเอง การมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต และการยอมรับตนเอง โดยการนำหลักธรรม คือ หลักพรหมวิหาร 4 เข้ามาปฏิบัติเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย เมตตา (ความรัก) กรุณา (ความสงสาร) มุทิตา (ความยินดี) อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง) และการนำหลักการ คือ ปัจจัยการบริหารจัดการมาเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขคือ บุคคล เงินทุน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ</p> อัญชลี แสงชาญชัย สุรพล สุยะพรหม เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 12 26 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมือง ของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/1112 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 2. เปรียบเทียบการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. นำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.977 ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การทดสอบค่าที (T-test) และค่าเอฟ (F-test) เพื่อทดสอบสมมติฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /><strong> </strong>= 4.07) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านรัฐบาล ด้านสื่อมวลชน ด้านกลุ่มเพื่อน ด้านครอบครัว ด้านสถาบันการศึกษา ทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3) การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่า ฉันทาคติ ด้วยการส่งเสริมให้เยาวชนมีความคิดเห็นที่เป็นกลาง และพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ โทสาคติ ด้วยการฝึกให้เยาวชนจัดการอารมณ์และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง โมหาคติ ด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นการตัดสินใจที่รอบคอบด้วยความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ภยาคติ ด้วยการส่งเสริมให้เยาวชนมีความกล้าและมีความรับผิดชอบ</p> ชิตาภา รัตนารักษ์ ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ ยุทธนา ประณีต Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 27 37 พุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการพัฒนาองค์กรของ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/1138 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาองค์กร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาองค์กร และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการพัฒนาองค์กรของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้แก่ บุคลากรของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จำนวน 229 คน สัมภาษณ์ จำนวน 18 รูปหรือคน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม และสนทนากลุ่มเฉพาะ 10 รูปหรือคน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการพัฒนาองค์กร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยดังนี้ ด้านการพัฒนา รองลงมาคือ ด้านการผลิตหรือการบริการ ด้านการปรับเปลี่ยน ด้านความพึงพอใจ และด้านประสิทธิภาพ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาองค์กร พบว่า 1. ปัจจัยบริหารภายในองค์กรส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาองค์กรของ รฟฟท. ประกอบด้วย การบริหารจัดการ วัสดุอุปกรณ์ วิธีการทำงานหรือกระบวนการ บุคคล เครื่องจักรหรือเทคโนโลยี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 2. หลักพละ 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาองค์กรของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ประกอบด้วย สังคหพละ ปัญญาพละ อนวัชชพละ วิริยะพละ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3. รูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการพัฒนาองค์กรของ รฟฟท. พบว่า มีการนำหลักพละ 4 เข้ามาบูรณาการ ได้แก่ ปัญญาพละ กำลังความรู้ วิริยะพละ กำลังความเพียร อนวัชชพละ กำลังความสุจริต และสังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ และนำปัจจัยบริหารภายในองค์กรมาเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมประสิทธิผลการพัฒนาองค์กร ประกอบด้วย บุคคล เงิน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรหรือเทคโนโลยี วิธีการทำงานหรือกระบวนการ การบริหารจัดการ </p> อรอนงค์ แจ้งพงศ์พันธ์ สุรพล สุยะพรหม เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 38 48 อิทธิบาท 4 ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความสำเร็จขององค์การ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/929 <p>บทความวิชานี้มุ่งศึกษาอิทธิบาท 4 ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความสำเร็จขององค์การ เพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ นำไปสู่การพัฒนาผลงานขององค์การในภาพรวม สิ่งสำคัญในการพัฒนาคือทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การฝึกอบรมและการพัฒนาหรือการพัฒนาตนเอง การพัฒนาองค์การ และการพัฒนาอาชีพ นอกจากการพัฒนาทั้ง 3 ส่วน สามารถนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการทำงานอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และเป็นการยึดถือปฏิบัติและต่อยอดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนและนำมาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่องได้ตามบริบทของแต่ละองค์การที่แตกต่างกันออกไป เพราะหลักอิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย 4 ประการ คือ 1. ฉันทะ คือ ความรักงาน พอใจกับงานที่ทำอยู่ 2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน 3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน 4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ ทำให้การทำงานบรรลุตามเป้าหมายและผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา</p> พิมพ์ลภัส จิตต์ธรรม Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 49 58 นโยบายและการบริหารจัดการสู่ความยั่งยืนตามแนวพุทธธรรม https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/689 <p>บทความวิชาการนี้ผู้เขียนได้นำเสนอไตรสิกขาในฐานะที่เป็นระบบการบริหารจัดการสามารถกำหนดเป็นสามมิติเท่านั้น คือ ทางด้านปัญญาทางด้านศีลทางด้านจิต ซึ่ง ทางด้านปัญญาเป็นเรื่องทางความรู้ ความเข้าใจแนวคิด ค่านิยมที่ถูกต้อง ทางด้านศีลเป็นเรื่องการควบคุมพฤติกรรม ทางกาย ทางวาจาให้อยู่ในกรอบสอดคล้องกับความรู้ความเข้าใจ ทางด้านจิตเป็นเรื่องการพัฒนาจิตให้มีสมาธิ พัฒนาจิตให้มีความเพียร พัฒนาจิตให้มีสติ ดังนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา 3 องค์ประกอบนี้เป็น 3 มิติ ต้องทำไปด้วยกันเรื่องเดียวกันทำไปด้วยกันเพื่อจุดประสงค์เดียวกันจึงตรัสรวมกัน ไม่ได้หมายความว่าต้องทำศีลก่อนให้สมบูรณ์แล้วต้องมาทำสมาธิ ทำสมาธิสมบูรณ์แล้วมาทำปัญญา</p> อัครพร พึงพร พระมหาบรรพต กิตฺติปญฺโญ (กันหา) ปรีชา ลาลุน Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 59 67 การบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักอธิปไตย 3 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/608 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักอธิปไตย 3 เพื่อเสนอแนวทางสำหรับการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักอธิปไตย 3 การบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทยมีทั้งสิ้น 6 ด้าน ประกอบด้วย 1. การปกครอง 2. การศึกษา 3. การเผยแผ่ 4. การศึกษาสงเคราะห์ 5. การสาธารณสงเคราะห์ และ 6. การสาธารณูปการ และเพิ่มอีก 1 ด้าน คือ การพัฒนาพุทธมณฑล การบริหารกิจการคณะสงฆ์ เจ้าอาวาสมีอำนาจจูงใจในการบริหาร เจ้าอาวาสจึงเป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกดำเนินการกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับการบริหารกิจการคณะสงฆ์ การประยุกต์หลักอธิปไตย 3 สำหรับการบริหารกิจการคณะสงฆ์จึงเป็นแนวทางที่ดีที่จะสามารถสนับสนุนส่งเสริมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการใช้หลักอัตตาธิปไตย ในกรณีที่กิจกรรมหรือแนวทางการปฏิบัตินั้น ๆ มีความถูกต้องเหมาะสมอยู่แล้ว ให้หลักโลกาธิปไตย ในกรณีที่ต้องการเสียงข้างมาก หรือการบริหารแบบมีส่วนร่วมรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และการลงมติที่ชอบธรรม ใช้หลักธัมมาธิปไตย ในกรณีที่ต้องมีการตัดสินปัญหาข้อขัดแย้งหรือเกิดอธิกรณ์ในหมู่สงฆ์ และการบริหารทั่วไป การบริหารกิจการคณะสงฆ์โดยการประยุกต์ใช้หลักอธิไตย 3 นี้ จะส่งผลให้การบริหารกิจการคณะสงฆ์มีประสิทธิภาพ</p> พระมหาสวัสดิ์ ฐิตวณฺโณ (อินกอง) พระครูนันทจรณธรรม (ณนณัฏฐ์ จารุธมฺโม) Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 68 76 จริยธรรมผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/572 <p class="1" style="margin: 0cm; text-indent: 36.0pt; tab-stops: 36.0pt;"><span lang="TH" style="font-weight: normal;">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจริยธรรมผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด ด้วยว่าองค์กรปกครองส่วนจังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัด ที่บริหารงานภายใต้นโยบายของรัฐ มีอำนาจหน้าที่หลัก ๆ อยู่สองส่วนคือ การบริหาร เป็นการบริหารทรัพยากรต่าง ๆ ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และนิติบัญญัติ เป็นการออกกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ สำหรับบังคับใช้ในเขตพื้นที่จังหวัด การบริหารอำนาจทั้งสองนี้ให้มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารต้องมีความรู้ความสามารถมีสมรรถนะสูง และที่สำคัญคือต้องใช้จริยธรรมกำกับในการบริหารงานด้วย จึงจะสามารถบริหารงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีงามตามยุทธศาสตร์และนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดได้</span></p> ตากเพชร เลขาวิจิตร Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 77 85 ประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทย https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/616 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทย ประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเกิดจากกระบวนการเผยแผ่ที่มีคุณภาพ แผนหรือนโยบายในการเผยแผ่ที่ชัดเจน ผู้เผยแผ่มีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบของการเผยแผ่ มีความเข้าใจในการเลือกใช้สื่อ ช่องทาง และวิเคราะห์ผู้รับสื่อ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาจากแนวทางการดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ด้วยว่า เป็นไปในทิศทางใด ประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทยจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก ๆ คือ นโยบายหรือทิศทางการเผยแผ่ของคณะสงฆ์ คุณสมบัติของนักเผยแผ่ การบริหารปัจจัยการเผยแผ่ ผสมผสานกับหลักการสื่อสารที่ดี หากได้มีการดำเนินการดังกล่าวแล้วนี้จะส่งผลให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทยมีประสิทธิผล สามารถเข้าถึงประชาชนได้ ประชาชนมีส่วนร่วม เกิดการพัฒนาความรู้ และอยู่อย่างเป็นสุข ในสังคมไทย</p> พระครูนันทจรณธรรม (ณนณัฏฐ์ จารุธมฺโม) พระมหาสวัสดิ์ ฐิตวณฺโณ (อินกอง) Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 86 95 บทบาทของพระสงฆ์ในกระบวนการสื่อสารทางการเมือง: การวิเคราะห์จากหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/586 <p>บทความวิชาการนี้เป็นการวิเคราะห์บทบาทของพระสงฆ์ในกระบวนการสื่อสารทางการเมือง โดยใช้หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในสังคมไทยไม่เพียงแต่ในด้านศาสนา แต่ยังมีอิทธิพลในด้านการเมืองและสังคมอีกด้วย การสื่อสารของพระสงฆ์มุ่งเน้นการเผยแพร่ธรรมะและค่านิยมทางศีลธรรม ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจและความสามัคคีในสังคม พระพุทธศาสนาสอนให้พระสงฆ์มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งหลักการเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการสื่อสารเพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองและสร้างความสมานฉันท์ในสังคมได้อีกด้วย</p> พระมหาสมัคร อติภทฺโท พระมหาพิสุทธิ์ สิทฺธิเมธี อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 96 105 อริยสัจสี่: พลังธรรมะเพื่อการบริหารและการพัฒนาความสามารถพิเศษในยุคดิจิทัล https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/699 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำหลักธรรม “อริยสัจสี่” ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค มาประยุกต์ใช้ในการบริหารบุคลากร โดยเฉพาะกลุ่ม “Talent” ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง การนำหลักธรรมเหล่านี้มาใช้กลายเป็นแนวทางใหม่ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารบุคลากรและสร้างความสมดุลในองค์กร รวมถึงการพัฒนาศักยภาพทีมงานและส่งเสริมความสำเร็จในยุคเทคโนโลยี บทความนี้วิเคราะห์กรณีศึกษาที่เป็นไปได้ และอภิปรายผลลัพธ์ที่คาดหวัง โดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมไม่เพียงแต่ช่วยในการจัดการที่มีประสิทธิภาพ แต่ยังส่งเสริมความเข้าใจและความสัมพันธ์ในทีมงาน บทความนำเสนอวิธีการและประโยชน์ของการนำหลักธรรมมาใช้ในการบริหารบุคลากร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล</p> มณฑนรรห์ อุปถัมภ์ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 106 115 นโยบายเร่งด่วนกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักพุทธธรรม https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/588 <p class="1" style="margin: 0cm; text-indent: 36.0pt; tab-stops: 36.0pt;"><span lang="TH" style="font-weight: normal;">บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายเร่งด่วนกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักพุทธธรรม เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศนโยบายเร่งด่วน 5 ประการเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานที่เป็นหน่วยงานที่รับนโยบายไปปฏิบัติ จึงควรพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สนองต่อนโยบายเร่งด่วน โดยใช้หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บูรณาการกับหลักไตรสิกขา ดังนี้ 1. นโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ควรฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาบุคลากร ให้รู้และเข้าใจในระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล มุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน ให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำประชาชน <br />2. นโยบายแก้ปัญหาหนี้สิน ควรฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาบุคลากร ให้รู้และเข้าใจในระบบหนี้ การให้คำแนะนำและให้ความรู้กับประชาชน 3. นโยบายลดภาระค่าใช้จ่าย ควรฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาบุคลากร ให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการใช้การพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน ส่งเสริมให้ประชาชนใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดค่าใช้จ่าย 4. นโยบายผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ควรฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างรายได้และการส่งเสริมอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมระเบียบแบบแผนจารีตภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. นโยบายแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในรัฐธรรมนูญ ควรฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง มุ่งมั่น ส่งเสริมกล่อมเกลาประชาชนให้มีความเห็นที่สอดคล้องกัน</span></p> ตากเพชร เลขาวิจิตร Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 116 125 การปกครองคณะสงฆ์ไทยตามหลักพุทธธรรม https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/597 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปกครองคณะสงฆ์ไทยตามหลักพุทธธรรม โดยดำเนินการศึกษาการปกครองคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบันที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 และเป็นไปตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ และมติ ของมหาเถรสมาคม เป้าหมายของการปกครองคณะสงฆ์ คือเพื่อความเรียบร้อยดีงามของคณะสงฆ์ เพื่อการปกครองคณะสงฆ์ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เจ้าคณะชั้นปกครอง จะต้องเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ อำนาจหน้าที่ในการปกครอง และต้องมีความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของการปกครอง รู้จักประยุกต์หลักพุทธธรรมเข้ามาใช้ในการปกครอง ได้แก่ หลักสัปปุริสธรรม 7 ประการ ประกอบด้วย ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ อัตถัญญุตา รู้จักผล อัตตัญญุตา รู้จักตน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ กาลัญญุตา รู้จักกาล ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล จึงจะสามารถปกครองคณะสงฆ์ไทยให้เกิดประสิทธิภาพได้</p> พระมหาสวัสดิ์ ฐิตวณฺโณ (อินกอง) Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 126 136 ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตบุคลากรกรมชลประทานตามแนวพระพุทธศาสนา https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/558 <p>ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งที่บุคคลใฝ่หาเป็นอย่างยิ่ง เพราะหมายถึงความอยู่ดีกินดีชีวิตมีความสมบูรณ์ องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรของตน ด้วยว่าคุณภาพชีวิตของบุคลากรที่ดี ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร เนื่องจากบุคลากรที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีย่อมปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มศักยภาพ ดังนั้นกรมชลประทาน จึงได้มีการกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของบุคลากรไว้เป็นเบื้องต้น ทั้งนี้การนำหลักภาวนา 4 มาเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิต จะทำให้เกิดกระบวนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ทำให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีร่างกายที่สมบูรณ์ ปฏิบัติตนตามระเบียบวินัย มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีปัญญาดี สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ</p> ยศ ธนารักษ์โชค Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 137 144 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา https://so18.tci-thaijo.org/index.php/A_GJ/article/view/596 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในปัจจุบันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสามารถทำได้หลายช่องทาง พระสงฆ์ในปัจจุบันมีศักยภาพในการเผยแผ่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเผยแผ่เป็นอย่างดี การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะมีประสิทธิภาพต้องอาศัย คุณสมบัติผู้เผยแผ่ ความรู้ความสามารถเข้าใจหลักการเผยแผ่ และการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อใช้ในการเผยแผ่ โดยผู้เผยแผ่ควรมีคุณสมบัติของการเป็นนักเผยแผ่ที่ดี ประกอบด้วย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ เป็นที่ยกย่อง เป็นนักพูด เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้พูดด้วยถ้อยคำลึกซึ้งได้ ไม่ชักนำในอฐานะ ผู้เผยแผ่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารคือ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร และต้องรู้จักประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อใช้ในการเผยแผ่คือหลักพุทธสื่อสาร ประกอบด้วย พูดเรื่องจริง พูดเรื่องแท้จริง พูดถูกเวลา พูดเรื่องที่น่าฟัง พูดเรื่องที่เป็นประโยชน์ จึงจะทำให้การเผยแผ่มีประสิทธิภาพ</p> พระครูนันทจรณธรรม (ณนณัฏฐ์ จารุธมฺโม) Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ 2025-06-25 2025-06-25 3 2 145 152