https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/issue/feed วารสารวิชาการแห่งอนาคต 2024-12-31T00:00:00+07:00 พระอุทิศ อาสภจิตฺโต, ดร. Kom.2016.usa@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิชาการแห่งอนาคต</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ และ บทความปริทรรศน์ ของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ด้วยหวังให้เป็นตลาดแห่งองค์ความรู้ที่สามารถค้นคว้า ถ่ายถอด และแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย วารสารมุ่งเน้นเปิดรับบทความทางด้าน สังคมวิทยา พระพุทธศาสนา พฤติกรรมศาสนา ภาษาศาสตร์ การศึกษาเชิงประยุกต์และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการต่อไป กระบวนการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ ทุกบทความจะต้องได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) อย่างน้อย 2 ท่านขึ้นไป ในลักษณะปกปิด แบบไม่เห็นชื่อผู้เขียนและผู้ประเมิน (Double-blinded review) ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นตอน</p> https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/865 ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาลีในภาษาไทย 2024-12-19T17:47:13+07:00 ทิพย์ ขันแก้ว thip.khan@mcu.ac.th พระมหาถนอม อานนฺโท thip.khan@mcu.ac.th ไว ชึรัมย์ thip.khan@mcu.ac.th <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการของภาษาบาลี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ภาษาบาลีในภาษาไทย <br />ภาษาบาลี ภาษาปาฬิหรือปาลิภาสา มีคำใช้เรียกแทนชื่ออยู่หลายคำทีเดียวเป็นภาษาที่มีมาตั้งแต่อดีต ผ่านกาลเวลากว่า 2500 ปีมาแล้ว ได้แผ่ขยายไปในภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง บาลีเป็นภาษาถิ่นที่ใช้พูดกันในแคว้นมคธ เรียกว่า มาคธภาษา ตามชื่อแคว้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก ทรงใช้ภาษามคธหรือภาษาบาลีเป็นภาษาในการประกาศพระพุทธศาสนา ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีหลักแน่นอนในการเปลี่ยนแปลงรูปคำตามหน้าที่ทางไวยากรณ์ มีการบ่งบอกเพศของศัพท์ กาล วจนะ วิภัตติ และมีวิภัตติปัจจัยบ่งบอกหน้าที่ของตน<br />มีความสัมพันธ์ของคำที่มีประโยคทุกคำ บาลีเป็นภาษาที่มีความสำคัญในการรักษาพระพุทธพจน์ผู้ที่เรียนภาษาบาลีหรือจะใช้ภาษาบาลีจึงต้องเรียนรู้แบบแผนนั้น ๆ ให้ขึ้นใจ และจดจำ นำไปใช้ จึงจะเข้าใจภาษาบาลีได้ <br />อีกทั้งคนไทยยังนิยมใช้ภาษาบาลีในการตั้งชื่อซึ่งเป็นสิ่งสมมติขึ้น แต่ถ้าตั้งชื่อให้เหมาะสมกับจริตและอุปนิสัยของบุคคลนั้น ชื่อก็จะกลายเป็นสิ่งสำคัญและเป็นอัตลักษณ์ของผู้นั้นและสามารถนำประโยชน์สุขมาให้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่วนความสัมพันธ์คำบาลีที่ใช้ในภาษาไทยปัจจุบันซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ภาษาไทยในการพูด เขียน สนทนา และการสื่อสาร ในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาบาลีกับภาษาไทยอย่างรู้ลึก รู้รากศัพท์และรู้ความหมายที่ถูกต้องจึงมีคุณค่าแก่การศึกษาอย่างแท้จริง</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแห่งอนาคต https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/870 การอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนอย่างยั่งยืน 2024-12-21T10:25:29+07:00 ณัฐปภัสร์ เฑียรทอง phaitoon2555@gmail.com ไพฑูรย์ อุทัยคาม phaitoon2555@gmail.com จันทร์ธรรม อินทรีเกิด phaitoon2555@gmail.com <p>การอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของชุมชน วัฒนธรรมสะท้อนถึงอัตลักษณ์ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาของชุมชนที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ความสำคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนอยู่ที่การรักษามรดกทางวัฒนธรรม ความสามัคคีในชุมชน และการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การกลืนกลายทางวัฒนธรรม และการขาดทรัพยากร การส่งเสริมการศึกษา การมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืน การศึกษาวิจัย และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนอย่างยั่งยืน.</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแห่งอนาคต https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/871 การบริหารจัดการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา 2024-12-21T12:41:02+07:00 พระมหาธงชัย สุนฺทราจาโร Thongchai.sun@mcu.ac.th สุริยะ มาธรรม Thongchai.sun@mcu.ac.th ณัฎฐกานต์ หงษ์กุลเศรษฐ์ Thongchai.sun@mcu.ac.th <p>ประเทศไทยมีมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าจากอดีตอันยาวนาน ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยโบราณสถานและศิลปกรรมที่หลงเหลือสะท้อนถึงความเชื่อ ศรัทธา และภูมิปัญญาของชาวไทย การอนุรักษ์มรดกเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนโดยกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติโบราณสถาน พ.ศ. 2504 เพื่อปกป้องและคุ้มครองศิลปกรรม โบราณสถาน และทรัพย์สินทางวัฒนธรรม การบริหารจัดการและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมต้องอาศัยการวางแผน การจัดองค์กร การสั่งการ และการควบคุมอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสำรวจและประเมินค่าทรัพย์สินทางวัฒนธรรม การฟื้นฟูและบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ความร่วมมือจากชุมชนและการสนับสนุนจากภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการรักษามรดกเหล่านี้ให้ยั่งยืนและส่งต่อให้คนรุ่นหลังอย่างภาคภูมิใจ</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแห่งอนาคต https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/872 แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างยั่งยืน 2024-12-22T13:11:01+07:00 สุดธิดา พาดฤทธิ์ Sudtida.padrit@mcu.ac.th พระครูศรีสิทธิบัณฑิต Sudtida.padrit@mcu.ac.th พระครูธรรมธรบุญเที่ยง ลักษณ์พลวงค์ Sudtida.padrit@mcu.ac.th พระครูปลัดโยธิน พลดงนอก Sudtida.padrit@mcu.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาที่สำคัญประกอบด้วย 1) การอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ให้คงความเป็นของแท้ดั้งเดิม 2) การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบการคมนาคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยว 4) การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีความรู้ความเข้าใจในคุณค่าทางวัฒนธรรม และ 5) การส่งเสริมการตลาดที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแห่งอนาคต https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/577 พุทธจิตวิทยา สาระแห่งสุตตะการอนุสาสนีปาฏิหาริย์ 2024-08-03T18:14:06+07:00 ศศิภา แก้วหนู sasipakaewnoo@gmail.com สิริวัฒน์ ศรีเครือดง sasipakaewnoo@gmail.com มั่น เสือสูงเนิน sasipakaewnoo@gmail.com <p>พุทธจิตวิทยาเป็นสุตตะการอนุสาสนีปาฏิหาริย์คือ การทำจิตให้สงบด้วยการเรียนรู้หลักแห่งพุทธศาสนา คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อนำหลักพุทธจิตวิทยามาวิเคราะห์พบว่าพุทธจิตวิทยาหรือจิตในทางพระพุทธศาสนานั้น มีหลักการที่สามารถนำไปใช้เพื่อการพัฒนาชีวิตและสังคมได้ เช่น พุทธจิตวิทยากับสุตตะการอนุสาสนีปาฏิหาริย์ พุทธจิตวิทยากับการเรียนการสอน พุทธจิตวิทยากับการปกครอง จิตวิทยากับการดำเนินชีวิต พุทธจิตวิทยากับการให้คำปรึกษา เป็นต้น โดยสาระสำคัญของพุทธจิตวิทยาในแง่ของสุตตะการอนุสาสนีปาฏิหาริย์มีดังนี้<br />1) วิเคราะห์ธรรมชาติดั้งเดิมของจิต พบว่าแม้ว่าจะมีหลักฐานว่าจิตของมนุษย์นั้นมีธรรมชาติบริสุทธิ์<br />แต่เศร้าหมองเพราะกิเลส เนื่องจากความจริงจิตมนุษย์ประภัสสรจริงแต่ก็ยังคงมีกิเลสอยู่ตราบเท่าที่ยังไม่สามารถกำจัดกิเลสได้<br />2) หลักพื้นฐานของพุทธจิตวิทยามีพื้นฐานมาจากหลักการสำคัญตามสุตตะการอนุสาสนีปาฏิหาริย์ดังนี้ แนวคิดเรื่องกฎธรรมชาติ (อิทัปปัจยตา-ปฏิจจสมุปบาท) แนวคิดเรื่องกฎธรรมชาติคือนิยาม 5 ประการ<br />และแนวคิดเรื่องกฎไตรลักษณ์<br />3) พุทธจิตวิทยากับความเป็นมนุษย์ จากการศึกษามาทั้งหมดพบว่ามนุษย์มีองค์ประกอบสองส่วนคือกายกับจิตและจิตนั้นถือว่ามีอำนาจเหนือกาย ดังนั้นความเป็นมนุษย์จึงเกิดมาจากการที่กายกับจิตทำงานประสานสอดคล้องกัน<br />4) พุทธจิตวิทยากับปัญหาความเป็นเอกนิยมหรือสัจนิยม พบว่าจิตของพุทธศาสนาเถรวาทเป็นจิตที่มีกระบวนการทำงานแบบเกิดดับเปลี่ยนแปลงตามหลักอนิจจังดังนั้นจึงไม่ใช่จิตตามแนวคิดเอกนิยมแต่ประการใด<br />5) พุทธจิตวิทยากับปัญหาเรื่องเจตจำนงพบว่าจิตในทางพระพุทธศาสนานั้นมีเจตจำนงเสรีเป็นบางครั้ง บางครั้งก็ต้องตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จำเป็นอื่น ๆ ได้</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแห่งอนาคต