วารสารอินทนิลบริหารศาสตร์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS <p><strong>บรรณาธิการ : ดร.สรัญณี อุเส็นยาง</strong></p> th-TH sarannee@pnu.ac.th (ดร.สรัญณี อุเส็นยาง) namthip.c@pnu.ac.th (นางสาวน้ำทิพย์ ชำนิอารัญ) Tue, 08 Apr 2025 16:34:45 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การเสริมพลังอำนาจให้กับการทำงานเป็นทีมของภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและผู้นำการเปลี่ยนแปลง: ผ่านมุมมองทฤษฎีความต้องการ-ทรัพยากรในงาน https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS/article/view/992 <p>ภาวะผู้นำแบบใดที่สามารถดึงศักยภาพการทำงานเป็นทีมได้มากกว่ากัน เพื่อตอบคำถามดังกล่าวงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบบทบาทการเป็นตัวแปรคั่นกลางของภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและผู้นำการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับความยึดมั่นผูกพันในงานภายใต้มุมมองของทฤษฎีความต้องการในงานและทรัพยากรในงาน (ทฤษฎี JD-R) ตัวอย่างในการศึกษาเป็นบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 134 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรกำกับและทดสอบอิทธิพลอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่าทั้งภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการทำงานเป็นทีมกับความยึดมั่นผูกพันในงาน แสดงว่าภาวะผู้นำทั้งสองแบบสามารถเสริมพลังอำนาจให้กับการทำงานเป็นทีมเพื่อสร้างผลผลัพธ์ที่ดีขึ้น แต่ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าภาวะผู้นำเกี่ยวข้องกับทฤษฎี JD-R ในลักษณะการกำกับความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมในฐานะเป็นทรัพยากรในงานและเชื่อมโยงไปยังผลการปฏิบัติงานในระดับบุคคลได้อย่างไร</p> อิศรัฏฐ์ รินไธสง, วธูสิริ ไชยประสิทธิ์, อับดุลรอเซะ ดือราฮิง Copyright (c) 2025 วารสารอินทนิลบริหารศาสตร์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS/article/view/992 Tue, 08 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแหล่งเรียนรู้ตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านของโต๊ะบีแด ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS/article/view/831 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลแหล่งเรียนรู้ตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านของโต๊ะบีแดจากชาวบ้านในพื้นที่่จังหวัดนราธิวาส 2) เพื่อออกแบบพัฒนา และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอปพลิเคชันแหล่งเรียนรู้ตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านของโต๊ะบีแด โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้าน กระบวนการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้าน การวิเคราะห์ ความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย เช่น ระบบฐานข้อมูลสมุนไพร การค้นหาข้อมูล การแสดงผลแบบหลายมิติ ข้อความ ภาพ และเสียง รวมถึงระบบความปลอดภัยและการปรับแต่งโปรไฟล์ผู้ใช้ ผลการประเมินประสิทธิภาพ และความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันพบว่า ด้านความต้องการของผู้ใช้ มีคะแนนเฉลี่ย 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 โดยเฉพาะการนำเสนอข้อมูลสมุนไพรที่ครบถ้วนและเป็นประโยชน์ ด้านการทำงานของฟังก์ชัน มีคะแนนเฉลี่ย 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72 โดยมีประสิทธิภาพในการประมวลผลและการแสดงข้อมูลอย่างรวดเร็ว ด้านความง่ายในการใช้งาน มีคะแนนเฉลี่ย 4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 โดยเฉพาะความชัดเจนของเมนูและการจัดวางฟังก์ชัน ด้านความปลอดภัย มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดที่ 4.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 โดยเน้นระบบล็อกอินและการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล งานวิจัยนี้คาดหวังว่าจะเป็นช่องทางสำคัญในการอนุรักษ์และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสมุนไพรพื้นบ้านของโต๊ะบีแด กลุ่มงานการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสามารถต่อยอดไปสู่การส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนในพื้นที่อย่างกว้างขวาง</p> อาหาหมัด สามะ, มัรฏียะห์ อาแว, สุรเชษฐ์ สังขพันธ์, ผการัตน์ ทองจันทร์, เจ๊ะอีลยาส โตะตาหยง, พระรักษ์ อมรศักดิ์, ศิริลักษณ์ อินทสโร Copyright (c) 2025 วารสารอินทนิลบริหารศาสตร์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS/article/view/831 Tue, 08 Apr 2025 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมไข่เตาถ่านแม่จำเนียน ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS/article/view/902 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมไข่เตาถ่านแม่จำเนียน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 2) ศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ขนมไข่เตาถ่านแม่จำเนียน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ขนมไข่เตาถ่านแม่จำเนียน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชาชนที่เคยซื้อขนมไข่เตาถ่านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างตามสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญมีความต้องการให้บรรจุภัณฑ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นมามีลักษณะเป็นกล่องทรงบ้าน มีฝาปิดมิดชิด ป้ายฉลากแสดงชื่อสินค้าและตราสินค้าอย่างชัดเจน เมื่อนำไปสอบถามความพึงพอใจจากผู้บริโภค พบว่า โดยภาพรวมลูกค้ามีความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ใหม่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของลูกค้าที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ขนมไข่เตาถ่านไม่แตกต่างกัน</p> ศิโรฐินี วงษ์วรรณ, พิเชษฐ์ พรหมใหม่, ธีรนาถ กุลประสิทธิ, สหรัฐ คำวัตร Copyright (c) 2025 วารสารอินทนิลบริหารศาสตร์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS/article/view/902 Tue, 08 Apr 2025 00:00:00 +0700 การใช้ระบบ TMS และระบบ MILK RUN เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง: กรณีศึกษา บริษัทผู้ให้บริการขนส่งในสนามบินสุวรรณภูมิแห่งหนึ่ง https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS/article/view/988 <p>การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนการขนส่งโดยการปรับปรุงระบบการจัดส่งสินค้าในบริษัทขนส่งเอกชนที่ตั้งอยู่ในสนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีเป้าหมายในการลดต้นทุนรวมในการขนส่งให้ต่ำที่สุด การศึกษาแบ่งออกเป็นขั้นตอนหลัก ได้แก่ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการ การวิเคราะห์ปัญหาด้วยเครื่องมือแผนผังก้างปลา และใช้ข้อมูลจากเอกสารใบบันทึกควบคุมการขนส่งมาช่วยในการในการวิเคราะห์ปัญหา และการนำเสนอระบบ Transport Management Solution (TMS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเส้นทางและการขนส่งสินค้า การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้รถ และการบริหารต้นทุนผ่านระบบ Transport Management Solution ซึ่งช่วยในการวางแผนเส้นทางที่เหมาะสม ลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง โดยการใช้เทคโนโลยีเช่น ระบบ GPS และระบบการจัดการขนส่งอัตโนมัติ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การนำระบบ Transport Management Solution และระบบมิลค์รันมาใช้ในการบริหารจัดการเส้นทางการขนส่งช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนหน้านี้ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 51,200 บาทต่อเดือน แต่เมื่อใช้ระบบมิลค์รัน ค่าใช้จ่ายลดลงเหลือ 47,020 บาทต่อเดือน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายลดลงถึง 4,180 บาท หรือคิดเป็นการลดลงร้อย 8.16 การใช้ระบบมิลค์รันยังช่วยปรับปรุงการส่งสินค้าตรงเวลาและลดปัญหาการส่งมอบสินค้าล่าช้าได้อย่างมีนัยสำคัญ</p> ภนิดา โพธิ์เกษม, อนันตพล ชื่นชม, พัทธ์ธีรา จิรอุดมสาโรจน์, รัตนพงษ์ มหาสุด, กัญญาวี วงศ์เสือ Copyright (c) 2025 วารสารอินทนิลบริหารศาสตร์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS/article/view/988 Tue, 08 Apr 2025 00:00:00 +0700 การเรียนรู้ภาษามลายู: โลกยุคดิจิทัลโอกาสและการปรับตัว https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS/article/view/961 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนการสอนภาษามลายู 2) โอกาสและความท้าทายในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนการสอนภาษามลายู และ 3) แนวทาง การปรับตัวในการจัดการเรียนการสอนภาษามลายูในยุคดิจิทัล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษามลายู จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาภาษามลายู มีประสบการณ์การสอนภาษามลายูไม่น้อยกว่า 7 ปี และมีผลงานวิชาการหรืองานวิจัยด้านการสอนภาษามลายู และ 2) ผู้สอนภาษามลายูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 5 คน ซึ่งมีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 5 ปี มีประสบการณ์และมีผลงานการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนการสอนภาษามลายูแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ และด้านการพัฒนาทักษะทางภาษาผ่านเครื่องมือดิจิทัลที่หลากหลาย เช่น แอปพลิเคชัน AI และสื่อสังคมออนไลน์ 2) โอกาสในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ การขยายฐานผู้เรียน การลดข้อจำกัดในการเข้าถึงการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้สอนและผู้เรียน ส่วนความท้าทายที่สำคัญ ได้แก่ การรักษามาตรฐานภาษา การพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูผู้สอน และการสร้างวัฒนธรรมการใช้ภาษามลายูที่ถูกต้อง และ 3) แนวทางการปรับตัวประกอบด้วย การพัฒนาผู้สอนทั้งด้านทักษะดิจิทัลและการสร้างเครือข่ายวิชาชีพ และการยกระดับการเรียนการสอนผ่านการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล กับการอนุรักษ์คุณค่าทางภาษาและวัฒนธรรม การวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษามลายูให้สอดคล้องกับบริบทดิจิทัล และเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาการศึกษาภาษามลายูในอนาคต</p> ซาฮีฎีน นิติภาค Copyright (c) 2025 วารสารอินทนิลบริหารศาสตร์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS/article/view/961 Tue, 08 Apr 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นซี ในจังหวัดนราธิวาส https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS/article/view/1040 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นซีในจังหวัดนราธิวาส และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นซีในจังหวัดนราธิวาส เป็นงานวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคเจเนอเรชั่นซี จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบระบบ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติสมการถดถอยเชิงพหุคูณ </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาหรือผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เพศหญิง มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท นิยมซื้อสินค้าผ่าน TikTok โดยเฉพาะเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ความงาม มักซื้อสินค้าในช่วงกลางคืนและใช้จ่ายไม่เกิน 500 บาทต่อครั้ง ผลการวิเคราะห์ความถดถอยพบว่าส่วนประสม ทางการตลาด 4Es มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในระดับสูง (R² = 72.63%) โดยการสร้างประสบการณ์ อิทธิพลมากที่สุด (Beta = 0.403) รองลงมาคือ การสร้างลูกค้าประจำ Beta = 0.235 การสร้างการเข้าถึงง่าย Beta = 0.188 และการสร้างคุณค่า (Exchange) Beta = 0.103 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความสะดวกในการค้นหาสินค้า ระบบติดตามสถานะ และโปรโมชั่นเป็นหลัก ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ากลยุทธ์การตลาดที่เน้นประสบการณ์และความสะดวกในการเข้าถึงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นซี ธุรกิจควรมุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย สร้างประสบการณ์ที่ดี และใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่ตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย</p> มธุรส ทองอินทราช, นันทิกานต์ ประสพสุข, พัชนี ตูเล๊ะ Copyright (c) 2025 วารสารอินทนิลบริหารศาสตร์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/IAJ_FMS/article/view/1040 Tue, 08 Apr 2025 00:00:00 +0700