วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JEDULPRU
วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
th-TH
วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
3057-0808
-
บทบรรณาธิการ
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JEDULPRU/article/view/1341
<p> วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็น วารสารวิชาการในรูปแบบออนไลน์ที่มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นพื้นที่นำเสนอผลงานทางวิชาการทางด้านการศึกษาและสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านศึกษาศาสตร์ เช่น ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ฯลฯ ศาสตร์การสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมไปถึงศาสตร์การสอนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ดนตรี ศิลปะ สังคมศึกษา หรือที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านความรู้และด้านการวิจัย</p>
วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
2025-06-30
2025-06-30
1 2
-
จากแนวคิดครูในฐานะผู้ทำงานทางวัฒนธรรมของเปาโล แฟรร์ สู่การสร้างโมดูลการเรียนรู้ “ห้องเรียนคือพื้นที่ทางวัฒนธรรม”
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JEDULPRU/article/view/1002
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจและวิเคราะห์หลักการสร้างห้องเรียนวัฒนธรรมจากแนวคิดครูในฐานะผู้ทำงานทางวัฒนธรรมของเปาโล แฟรร์ 2) เพื่อสร้างโมดูลการเรียนรู้ห้องเรียนวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครูในรายวิชาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักการสร้างห้องเรียนวัฒนธรรมจากแนวคิดครูในฐานะผู้ทำงานทางวัฒนธรรมของเปาโล แฟร์ ให้ความสำคัญต่อการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ตั้งอยู่บนฐานของมนุษยนิยม การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดสำนึกเชิงวิพากษ์และตระหนักรู้ต่อโลกชีวิตที่เขาดำรงอยู่ ปลดปล่อยผู้เรียนให้เป็นอิสระจากความไม่รู้และความกดขี่ จึงเป็นหลักการสำคัญในการสร้างห้องเรียนวัฒนธรรม 2. โมดูลการเรียนรู้ “ห้องเรียนวัฒนธรรม” เรื่อง “อำนาจในระบบการศึกษา” ประกอบไปด้วย 4 โมดูลย่อย ได้แก่ 1) โลกชีวิตและอัตลักษณ์ครู 2) การเมืองของการนิยามความหมาย: ถอดรหัสอำนาจในโลกการศึกษา 3) โรงเรียนประชาธิปไตยและภารกิจเพื่อการเติบโต 4) ครูในฐานะผู้ทำงานวัฒนธรรม การสอนด้วยความหวังและมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลง</p>
อรรฏชณม์ สัจจะพัฒนกุล
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
2025-06-30
2025-06-30
1 2
-
การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ผู้สอนภาษาจีนในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JEDULPRU/article/view/687
<p>งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ผู้สอนภาษาจีนในระดับอุดมศึกษา และเพื่อนำผลวิจัยที่ได้เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนในสถาบันอุดมศึกษา เขตภูมิศาสตร์ภาคเหนือของประเทศไทย จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็นด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านบุคลิกภาพ และด้านคุณธรรมและจริยธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า นักศึกษาที่เรียนภาษาจีนมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของอาจารย์ผู้สอนภาษาจีนในด้านคุณธรรมและจริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.67 รองลงมาด้านบุคลิกภาพ ค่าเฉลี่ย 4.60 และด้านความสามารถในการสอน ค่าเฉลี่ย 4.46 ซึ่งอยู่ในระดับมากเท่ากัน</p>
Nueakwan Buaphuan
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
2025-06-30
2025-06-30
1 2
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนรายวิชาไวยากรณ์จีนของนักศึกษาสาขาการสอนภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JEDULPRU/article/view/734
<p>งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนรายวิชาไวยากรณ์จีน และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนรายวิชาไวยากรณ์จีนของนักศึกษาสาขาการสอนภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเป็นนักศึกษาสาขาการสอนภาษาจีนชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 17 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาและใช้สถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ข้อมูล</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้สอนเป็นปัจจัยที่มีระดับความสำคัญมากที่สุดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนรายวิชาไวยากรณ์จีนของนักศึกษาสาขาการสอนภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยนักศึกษาได้ให้ความสำคัญกับการที่ผู้สอนมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่จะช่วยเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และเข้าใจไวยากรณ์จีนได้เป็นอย่างดี ตลอดจนการที่ผู้สอนมีความรอบรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการและสามารถบูรณาการความรู้ต่าง ๆ สู่การจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 2) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้สอน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และด้านสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนรายวิชาไวยากรณ์จีนของนักศึกษาสาขาการสอนภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
Bunsikan Tangpakorn
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
2025-06-30
2025-06-30
1 2
-
แนวทางการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อสร้างนวัตกรในผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JEDULPRU/article/view/1028
<p>บทคัดย่อ<br /> การวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อสร้างนวัตกรในผู้เรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อสร้างนวัตกรในผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท และ แนวทางการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อสร้างนวัตกรในผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท มีวิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อสร้างนวัตกรในผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร<br />สถานศึกษาและครูผู้สอนจำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อสร้างนวัตกรในผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาทให้ข้อมูล โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า</p> <p> 1. สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อสร้างนวัตกรในผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการออกแบบภาระงาน รองลงมา คือด้านการวิเคราะห์เนื้อหาของบทเรียน ตามด้วยด้านการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการประเมินและพัฒนาการเรียนรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการกำหนดเป้าหมายการเรียน ซึ่งทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อสร้างนวัตกรในผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างความเข้าใจ นิเทศ กำกับติดตาม ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้พร้อมทั้งสังเกตการจัดการเรียนการสอนของครูให้เป็นไปตามขั้นตอนในทุกๆด้านอย่างสม่ำเสมอ</p> <p><br />คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้, นวัตกร, ผู้บริหารสถานศึกษา</p>
Nuttawut Sermsripong
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
2025-06-30
2025-06-30
1 2
-
บอร์ดเกมวางแผนกับการปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JEDULPRU/article/view/724
<p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt; text-indent: 36.0pt;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการสร้างบอร์ดเกมวางแผนที่ช่วยปลูกฝังแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ </span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">6 <span lang="TH">โดยเกมดังกล่าวเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรที่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน ผู้เล่นจะได้ฝึกทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์ การวางแผนล่วงหน้า และการทำงานร่วมกับผู้อื่นในการแก้ปัญหาเชิงซับซ้อน นอกจากนี้ บอร์ดเกมยังส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์และการตัดสินใจที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์ชีวิตจริง เช่น การจัดการทรัพยากรในวิกฤตและโอกาสที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม</span></span></p>
Pornsuda Chaithanee
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
2025-06-30
2025-06-30
1 2
-
บทความปริทัศน์
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JEDULPRU/article/view/1344
<p> ครู นับเป็นหนึ่งในอาชีพที่ถูกคาดหวังให้เป็นต้นแบบ เป็นแม่พิมพ์ พ่อพิมพ์ เป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังสั่งสอน ความดี ความงาม ความจริงและปัญญาของคนในสังคม (ไทย) ด้วยความคาดหวังดังที่ปรากฏนี้เอง ได้ส่งผลต่อการผลิตซ้ำภาพจำของครูในระบบการศึกษาไทยว่า ครูต้องเป็นแม่แบบและผู้เสียสละของสังคมโดยที่สังคมและระบบการศึกษากลับละเลยและกดทับ "ความเป็นคน" ของพวกเขาเอาไว้ภายใต้คำว่า "ครู" เพราะเป็นครูจึงต้องเสียสละ (และแบกรับความเจ็บปวด) เพราะเป็นครูจึงต้องทำงานหนักและเพราะเป็นครูจึงต้องทำตามคำสั่งโดยไม่ (สามารถ) ตั้งคำถามต่อสิ่งใด ๆ ในคำสั่งของระบบ ครูที่เป็นเช่นนั้นจึงจะถูกนับรวมในฐานะของ "ครูที่ดี" ของสังคมแห่งนี้</p>
วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
2025-06-30
2025-06-30
1 2
-
บทความพิเศษ
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JEDULPRU/article/view/1345
<p>จับประเด็น<br>ถูกสาปให้พ่ายแพ้ในกระแสความเปลี่ยนแปลง:<br>รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2025</p> <p>กองบรรณาธิการ</p>
วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
2025-06-30
2025-06-30
1 2