Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JGSM_SPUKK Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK th-TH Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK ส่วนหน้า https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JGSM_SPUKK/article/view/761 <p>ส่วนหน้า</p> JGSM SPUKK Copyright (c) 2024 Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK 2024-11-04 2024-11-04 1 2 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทดลองโดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสาร https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JGSM_SPUKK/article/view/533 <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะ การทดลอง เรื่องการแยกสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการทดลองวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา จำนวน 9 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยดำเนินการทั้งหมด 2 วงรอบปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการทดลองวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสังเกตทักษะการทดลอง และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า หลังจากสิ้นสุดวงจรปฏิบัติการสุดท้ายแล้ว มีจำนวนนักเรียน 6 คน ที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 66.67 ของกลุ่มเป้าหมาย และมีนักเรียนจำนวน 7 คน มีคะแนนทักษะการทดลอง ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77.78 ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งผลจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้พบว่า นักเรียนมีแนวโน้มของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทดลองที่ดีขึ้น โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการทดลองวิทยาศาสตร์ ช่วยทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการทดลองให้กับนักเรียนควบคู่กัน</p> กัณฑิฌา จงเอื้อกลาง กัญญารัตน์ โคจร Copyright (c) 2024 Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK 2024-11-04 2024-11-04 1 2 19 33 คุณลักษณะการเป็นพลเมืองคุณภาพในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้: การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะผู้เรียนขั้นพื้นฐานและสมรรถนะครูในการออกแบบการเรียนรู้ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JGSM_SPUKK/article/view/450 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นพลเมืองคุณภาพในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ และสมรรถนะครูในการออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นพลเมืองคุณภาพในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ แหล่งข้อมูลประกอบด้วย กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่ช่วยในการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะผู้เรียน 10 ท่าน กลุ่มที่ใช้ ในการวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะผู้เรียนฯ จำนวน 1,107 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญช่วยในการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะครู ฯ จำนวน 7 ท่าน และกลุ่มใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะครู ฯ จำนวน 1,155 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะผู้เรียนฯ เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่า t-test แสดงอำนาจจำแนกรายข้อมีค่าเท่ากับ 6.17-14.05 และได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และแบบสอบถามพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะครูฯ เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่า t-test แสดงอำนาจจำแนกมีค่าเท่ากับ 7.24-13.83 และได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 เก็บรวบรวมในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 สถิติที่ใช้การวิจัย คือ Correlation แบบเพียร์สัน Kaiser-Meyer-Olkin และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor analysis) ในการกำหนดค่าน้ำหนักองค์ประกอบและจัดกลุ่มพฤติกรรมบ่งชี้</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะผู้เรียนฯ มี 5 องค์ประกอบ คือ (1) ความฉลาดรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน (2) ความลุ่มลึกการบริโภคสินค้าและการบริการอย่างชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน (3) ความมุ่งมั่นในการใช้ศักยภาพของตนและผู้อื่นสู่การพัฒนากระบวนการทำงานบนฐานเศรษฐกิจฐานความรู้ (4) สำนึกแห่งความเป็นพลเมืองเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ยั่งยืน และ (5) ความมั่นใจต่อการใช้เศรษฐกิจฐานความรู้จะนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และองค์ประกอบพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะครูฯ มี 3 องค์ประกอบ คือ (1) การออกแบบการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองคุณภาพในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (2) การใช้กรอบคิดแบบเติบโตในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองคุณภาพในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ และ (3) ความรอบรู้และเชื่อมโยงหลักเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจให้ผู้เรียนรู้ เท่าทันโลกแห่งความจริง</p> <p> </p> เกียรติสุดา ศรีสุข Copyright (c) 2024 Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK 2024-11-04 2024-11-04 1 2 34 54 ความต้องการจำเป็นความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JGSM_SPUKK/article/view/530 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ความเป็นนวัตกร ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ 2) ประเมินระดับความต้องการจำเป็นความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาครู ชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 350 คน จำแนกเป็นชั้นปี 1 จำนวน 105 คน ชั้นปี 2 จำนวน 86 คน ชั้นปี 3 จำนวน 77 คน และชั้นปี 4 จำนวน 82 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 46 ตัวชี้วัด ฉบับที่ 1 แบบสอบถามสภาพปัจจุบันความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.88 ถึง 0.98 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.86 ถึง 0.93 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของ ความต้องการจำเป็น ด้วยเทคนิค Modified Priority Need Index (PNI modified)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=2.69, =0.68) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความคิดสร้างสรรค์ ความท้าทายในการทำงาน ความมุ่งมั่นและตั้งใจ การสื่อสาร และการแก้ปัญหา อยู่ในระดับปานกลาง การคิดเชิงนวัตกรรม การทำงานเป็นทีม และการยอมรับความเสี่ยง อยู่ในระดับน้อย และสภาพที่พึงประสงค์ความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.43, =0.63) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญอย่างเร่งด่วนและต้องการพัฒนาสองลำดับแรก ได้แก่ ความคิดเชิงนวัตกรรม รองลงมาได้แก่ การทำงานเป็นทีม</p> สิริพร บูรณาหิรัณห์ วุฒิชัย พิลึก Copyright (c) 2024 Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK 2024-11-04 2024-11-04 1 2 55 71 รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JGSM_SPUKK/article/view/580 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น การพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลฯ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลฯ และ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลฯ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล 1) แบบสอบถาม 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัล 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 4) แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 35 คน พบว่า สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำดิจิทัลอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัล พบว่า ลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัลผู้บริหารสถานศึกษา การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล การปฏิบัติที่เป็นเลิศ อย่างมืออาชีพ และการสื่อสารดิจิทัล ตามลำดับ 2) การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัล ผลการสร้างรูปแบบฯ พบว่า 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินการ 4) แนวทางการประเมิน และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการตรวจสอบยืนยันและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัล พบว่า ความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 35 คน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด</p> สมทรัพย์ ภูโสดา เสน่ห์ คำสมหมาย สุรพล ทับทิมหิน Copyright (c) 2024 Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK 2024-11-04 2024-11-04 1 2 72 84 บทบรรณาธิการ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JGSM_SPUKK/article/view/762 <p>บทบรรณาธิการ</p> JGSM SPUKK Copyright (c) 2024 Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK 2024-11-04 2024-11-04 1 2 การสร้างแบบสอบถาม หรือ แบบวัด https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JGSM_SPUKK/article/view/541 <p>การวัดทางสังคมศาสตร์จะต้องคำนึงก่อนเสมอว่าจะเก็บข้อมูลด้านใดบ้าง หากเป็นด้านจิตพิสัย (Affective <em>Domain</em>) มักจะนิยมใช้การสอบถาม หรือแบบวัด และอาจจะใช้ควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์ (Interview) ดังนั้นผู้สร้างแบบสอบถาม หรือแบบวัดต้องมีความรอบรู้กว้างขวางและลุ่มลึก</p> <p> ถ้าเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ ก็ต้องเข้าใจขั้นตอนการสร้างที่เป็นระบบอย่างดี เริ่มต้นจากการนำแบบสอบถาม หรือแบบวัดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ไปหาความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ หลังจากนั้นจึงนำไปทดลองใช้ (Try out) เพื่อหาค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) เป็นรายข้อ ซึ่งต้องทำการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติด้วย แล้วคัดเลือกข้อที่เข้าเกณฑ์ ให้มีจำนวนเท่ากับที่กำหนดไว้ ขั้นสุดท้ายจึงนำไปหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability) เมื่อดำเนินการครบถ้วนสมบูรณ์เช่นนี้ จึงนำไปเก็บข้อมูลตามเป้าหมายของการทำวิจัย</p> สมนึก ภัททิยธนี Copyright (c) 2024 Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK 2024-11-04 2024-11-04 1 2 1 17 สารบัญ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JGSM_SPUKK/article/view/763 <p>สารบัญ</p> JGSM SPUKK Copyright (c) 2024 Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK 2024-11-04 2024-11-04 1 2 ภาคผนวก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JGSM_SPUKK/article/view/764 <p>ภาคผนวก</p> JGSM SPUKK Copyright (c) 2024 Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK 2024-11-04 2024-11-04 1 2 ฉบับเต็ม https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JGSM_SPUKK/article/view/760 <p>ฉบับเต็ม</p> JGSM SPUKK Copyright (c) 2024 Journal of Graduate School of Management Studies of Sripatum University Khon Kaen Campus: JGSM-SPUKK 2024-11-04 2024-11-04 1 2