วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS
<p><strong>ชื่อวารสาร (ภาษาไทย): วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์</strong></p> <p><strong>(ภาษาอังกฤษ): Journal of Psychological Educational and Social Sciences Research</strong></p> <p><strong>หน่วยงานวารสาร: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</strong></p>
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
en-US
วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์
3027-642X
-
การศึกษาการมีส่วนร่วมในระบบการยกระดับทักษะของพนักงานโรงแยกก๊าซธรรมชาติในจังหวัดระยอง
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/520
<p> การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วม 2) ศึกษาแนวทางเสริมสร้างการมีส่วนร่วม และ 3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในระบบ<br>การยกระดับทักษะของพนักงานโรงแยกก๊าซธรรมชาติในจังหวัดระยองจำแนกตามตำแหน่งและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงาน จำนวน 217 คน โดยใช้แบบสอบถามประเภทมาตราประมาณค่า และตรวจสอบรายการเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในระบบการยกระดับทักษะของพนักงานโรงแยกก๊าซธรรมชาติในจังหวัดระยองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทาง<br>ในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในระบบการยกระดับทักษะของพนักงานโรงแยกก๊าซธรรมชาติในจังหวัดระยองของพนักงานอันดับแรก คือ ควรพัฒนาให้มีโครงสร้างหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อการยกระดับทักษะให้เป็นมาตรฐานและเหมาะสมโดยแยกตามความต้องการของแต่ละหน่วยการผลิต และ 3) ตำแหน่งของพนักงานมีผลต่อการมีส่วนร่วมในระบบการยกระดับทักษะของพนักงานโรงแยกก๊าซธรรมชาติในจังหวัดระยองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
วสันต์ ว่องวิกาล
ศุภกร อ้นศิริ
ณัฐที ปิ่นทอง
ดุสิต ขาวเหลือง
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์
2024-07-01
2024-07-01
20 1
1
15
-
ทุนทางจิตวิทยาและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่พยากรณ์พฤติกรรมนวัตกรรมในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งหนึ่ง
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/521
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทุนทางจิตวิทยา ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมนวัตกรรมในการทำงานของบุคลากร 2) ศึกษา<br>ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยา ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง กับพฤติกรรมนวัตกรรมในการทำงานของบุคลากร และ 3) พยากรณ์พฤติกรรมนวัตกรรม<br>ในการทำงานของบุคลากรด้วยทุนทางจิตวิทยา และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งหนึ่งในเขตปริมณฑล จำนวน 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br>ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีทุนทางจิตวิทยาอยู่ในระดับสูง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับสูง และพฤติกรรมนวัตกรรมในการทำงานอยู่ในระดับสูง 2) ทุนทางจิตวิทยามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมนวัตกรรมในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมนวัตกรรมในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ทุนทางจิตวิทยาด้านความยืดหยุ่น ทุนทางจิตวิทยาด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมนวัตกรรมในการทำงานได้ร้อยละ 27.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
คเณศ จุลสุคนธ์
กุสุมา พูลเฉลิม
รังสิมา หอมเศรษฐี
ณัชชามน เปรมปลื้ม
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์
2024-07-01
2024-07-01
20 1
16
30
-
แนวทางการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านสุขภาวะผู้มีภาวะพึ่งพิงขององค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/519
<p> งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลบางคนทีในการพัฒนาด้านสุขภาวะของผู้มีภาวะพึ่งพิง <br>เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงจากผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการของระบบการดูแลระยะยาวทั้งกระบวนการ และเพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนา<br>การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านสุขภาวะของผู้มีภาวะพึ่งพิง ดำเนินการวิจัยตามระเบียบและวิธีวิจัยของงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด จำนวน 110 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชื่อมโยงกับแนวคิดและทฤษฎี<br>ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงและการมีส่วนร่วม</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์การบริหารส่วนตำบลบางคนทีมีบทบาทในการพัฒนาด้านสุขภาวะของผู้มีภาวะพึ่งพิง ดังนี้ 1.1 จัดตั้งกองทุนผู้ป่วยผู้มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้สามารถดูแลครอบคลุมทั้งพื้นที่ 1.2 ประสานงานกับภาคท้องที่และท้องถิ่นในการออกตรวจเยี่ยมเวลากลางคืน และ 1.3 มีการติดกริ่งเตือนไว้<br>ที่บ้านผู้มีภาวะพึ่งพิงสำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้นำชุมชน และ 2) แนวทางการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงจากผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการของระบบการดูแลระยะยาวทั้งกระบวนการ ควรใช้แนวคิด“คนในชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน”</p>
วัชรี อรุณราช
สมพันธ์ เตชะอธิก
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์
2024-07-01
2024-07-01
20 1
31
45