วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์ (Journal of Psychological Educational and Social Sciences Research) https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS <p><strong>ชื่อวารสาร (ภาษาไทย): วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์</strong></p> <p><strong>(ภาษาอังกฤษ): Journal of Psychological Educational and Social Sciences Research</strong></p> <p><strong>หน่วยงานวารสาร: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</strong></p> en-US psychological.buu@gmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์) psychological.buu@gmail.com (นางสาวมินทิรา เจริญยิ่ง) Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสามารถในการแข่งขันของโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/584 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบความสามารถในการแข่งขันของโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบความสามารถในการแข่งขันของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 370 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย การวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแข่งขันของโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มี 7 องค์ประกอบ 18 ตัวชี้วัด ด้านที่ 1 การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านการจัดทำกลยุทธ์ 2) ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ 3) การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ ด้านที่ 2 การบริหารความเสี่ยง มี 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การกำกับดูแลกิจการและวัฒนธรรมองค์กร และ 2) การจัดการความเสี่ยง ด้านที่ 3 การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ มี 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ความร่วมมือของเครือข่ายในการพัฒนางานวิชาการ 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารเครือข่าย และ 3) นโยบายและโครงสร้างการบริหารงานวิชาการของเครือข่าย ด้านที่ 4 การบริหารจัดการทุนมนุษย์ทางการศึกษา มี 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การพัฒนาความรู้ และ 2) การพัฒนาทักษะ ด้านที่ 5 คุณลักษณะของผู้เรียนที่มีคุณภาพสูง มี 3 ตัวชี้วัด ได้แก่</p> <p>1) ความสามารถในการคิดเชิงระบบ 2) ความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ และ 3) ความสามารถในการคาดการณ์ ด้านที่ 6 การบริหารเพื่อความเป็นเลิศของสถานศึกษา มี 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) เป็นผู้บริหารมืออาชีพ 2) ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถเต็มตามศักยภาพ และด้านที่ 7 สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) ด้านสมรรถนะเทคโนโลยี และ 3) ด้านการคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม</p> <p>2) ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบความสามารถในการแข่งขันของโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า มีค่าไคสแควร์ = 105.05 ค่า <em>p</em> = .052 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) = .98 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) = .971 และค่าประมาณความคลาดเคลื่อนของรากกำลังที่สองเฉลี่ย (RMSEA) = .020 โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์</p> Wisoot Detmaung Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/584 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนามาตรวัดความสุขในการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/620 <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรวัดความสุขในการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 2) เพื่อกำหนดคะแนนจุดตัดของมาตรวัดความสุขในการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และ 3) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ตัวอย่างการวิจัยเป็นพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมด้านปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง จำนวน 119 คน ซึ่งได้มาโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปแล้วทำการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยมาตรวัดความสุขในงานแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 30 ข้อ การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายทำการพัฒนามาตรวัดความสุขในงานโดยตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและใช้ผลการวัดกำหนดคะแนนจุดตัดโดยอาศัยคะแนนมาตรฐานแล้วรายงานผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติประกอบไปด้วย 1) ความตรงเชิงเนื้อหาวิเคราะห์จากดัชนีความสอดคล้อง 2) ค่าอำนาจจำแนก 3) ความเที่ยงตามสูตรสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค และ 4) ความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน สถิติที่ใช้ในการกำหนดคะแนนจุดตัดและรายงานผลการวัดความสุขในการทำงาน คือ 1) คะแนนมาตรฐาน Z-score และสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรวัดมีความตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ค่าความเที่ยงอยู่ในระดับสูงและโมเดลความสุขในการทำงานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (IOC = .60-1.00, r = .217-.837, = .859, = .791, df = 2, p = .673, CFI = 1.000, AGFI = .984, TLI = 1.073, RMSEA = .000) 2) คะแนนจุดตัดของมาตรวัดมีจุดตัด 3 จุด แบ่งระดับความสุขในการทำงานออกเป็น 4 ระดับ และ 3) ความสุขในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางกับระดับมาก</p> Thirayu Inplaeng, Soontaree Sukkanaphibal, Kanokwan Arunchaiporn, Nathanicha Thongaum, Nicharee Junthun, Suparat Aekkarat, Seksin Sinprasert Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/620 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ CARES เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/546 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ CARES ในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครู 2) ศึกษาคุณลักษณะความเป็นครูของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ CARES และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตสาขาการศึกษาปฐมวัยหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ CARES กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และนิสิตชั้นปีที่ 4 (หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี) ที่กำลังศึกษาในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 17 คน นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจ และจะออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เหมาะสมต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูเพื่อพัฒนาเด็กด้วยความรักและเคารพความเป็นมนุษย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ CARES 2) สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ CARES 3) แบบประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้ CARES 4) แบบประเมินคุณลักษณะความเป็นครู และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการทำกิจกรรมการเรียนรู้ CARES วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ ดังนี้:</p> <p>ผลการสร้างแบบวัดเพื่อคุณลักษณะความเป็นครูที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ CARES มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ (<em>M</em> = 4.52, <em>SD </em>= .13)</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. กิจกรรมการเรียนรู้ CARES เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นปฏิบัติการ 3) ขั้นนำเสนอและแลกเปลี่ยน และ 4) ขั้นสรุปและประเมินผล</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. นิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ CARES เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครู มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 3.68, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .41)</span></p> <p>3. นิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ CARES เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครู มีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ CARES โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<em>M</em>= 4.41, <em>SD </em>= .10)</p> Thanabhorn Intasin Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/546 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานเรื่อง ความน่าจะเป็น ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/554 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานในระดับมัธยมศึกษาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานในระดับมัธยมศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ได้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานในระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่มีความสอดคล้องและ</span><span style="font-size: 0.875rem;">ความเหมาะสม ทั้ง 6 องค์ประกอบหลัก ซึ่งได้แก่ 1) ทบทวนความรู้เดิม 2) กำหนดวัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา</span><span style="font-size: 0.875rem;">ที่ใช้สอน 4) ขั้นตอนการสอนซึ่งประกอบด้วย ขั้นคลายสมอง ขั้นเชื่อมโยงประสบการณ์ ขั้นเรียนรู้เนื้อหา </span><span style="font-size: 0.875rem;">ขั้นนำพาปฏิบัติ และขั้นความรู้คงอยู่ 5) การประเมินผล และ 6) ผลของการนำไปใช้</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานระดับมัธยมศึกษา พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานระดับมัธยมศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> Siriraporn Bunyo Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/554 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสังเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/534 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์คุณลักษณะเบื้องต้นของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และเพื่อสรุปองค์ความรู้จากงานวิจัยดังกล่าว โดยรวบรวมงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index: TCI) ใช้คำค้นว่า “การเรียนรู้” และ “ศตวรรษที่ 21” คัดเลือกบทความวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 58 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบตรวจรายการ ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) การวิเคราะห์และสังเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 พบว่า ด้านข้อมูลผู้วิจัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 28 คน (ร้อยละ 48.3) สาขาการวิจัยอยู่ในสาขาหลักสูตรและการสอน/การนิเทศ/นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ จำนวน 11 เรื่อง (ร้อยละ 19) งานวิจัยเป็นของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา จำนวน 35 เรื่อง (ร้อยละ 60.3) ด้านเนื้อหาสาระ พบว่า ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์วิจัยเพื่อการพัฒนา มีจำนวน 32 เรื่อง (ร้อยละ 55.2) ด้านวิธีวิทยาการวิจัย พบว่า แบบแผนการวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงทดลอง จำนวน 48 เรื่อง (ร้อยละ 82.8) ด้านนวัตกรรม/รูปแบบ วิธีการจัดการเรียนรู้ พบว่า โดยส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประเภทรูปแบบการเรียนรู้จำนวน 24 เรื่อง (ร้อยละ 41.4)</p> <p>2) ผลสรุปองค์ความรู้จากงานวิจัย พบว่า การจัดการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ส่วนใหญ่ คือ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน การใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การเรียนรู้แบบร่วมมือ และการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อหรือนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยทักษะที่พัฒนา ได้แก่ การคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การทำงานเป็นทีมและการสื่อสาร และความยืดหยุ่นและการปรับตัว</p> Anchalee Srikolchan, Rattasapa Chureemas Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/JPESS/article/view/534 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700