การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรคีรีวง (ผ้ามัดย้อมจากเปลือกมังคุด)

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ แสงอรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ณัฐกานต์ จํารัสกาญจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ศักดิ์ดา หารเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, บ้านสมุนไพรคีรีวง, ผ้ามัดย้อม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการเกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และเพื่อศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 7 คน โดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์ประกอบด้วย แบบบันทึกการสังเกต แบบสัมภาษณ์ และเครื่องบันทึกเสียง ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการเกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (ผ้ามัดย้อมจากเปลือกมังคุด) พบว่ามี 4 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นก่อตัวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (ผ้ามัดย้อมจากเปลือกมังคุด) 1.2) ขั้นตอนการรวมตัวกันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (ผ้ามัดย้อมจากเปลือกมังคุด) 1.3) ขั้นการผลิตสินค้าภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (ผ้ามัดย้อมจากเปลือกมังคุด) และ 1.4) ด้านขั้นตอนการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (ผ้ามัดย้อมจากเปลือกมังคุด) 2) สภาพปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (ผ้ามัดย้อมจากเปลือกมังคุด) ดังนี้ 2.1) ปัญหาการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (ผ้ามัดย้อมจากเปลือกมังคุด) 2.2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (ผ้ามัดย้อมจากเปลือกมังคุด) 2.3) ปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (ผ้ามัดย้อมจากเปลือกมังคุด) และ 2.4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (ผ้ามัดย้อมจากเปลือกมังคุด)  3) การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ 3.1) ความพอประมาณ 3.2) ความมีเหตุผล 3.3) การมีภูมิคุ้มกัน 3.4) การมีความรู้ และ 3.5) การมีคุณธรรม

References

จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์. (2561). อิทธิพลของระบบการจัดการ กลยุทธ์การตลาด และการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนสินค้าหัตถกรรมในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 5(2), 33-50.

จาตุรงค์ พลเดช. (2547). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกับกรมส่งเสริมการเกษตร. วารสารส่งเสริมการเกษตร, 36(1), 14-16.

จุลศักดิ์ ชาญณรงค์. (2546). ธุรกิจชุมชน: ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่. วารสารสุทธิปริทัศน์, 17(1), 80-86.

ทวี วัชระเกียรติศักดิ์. (2554). การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยการพัฒนากลุ่มอาชีพในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 5(1), 43-54.

ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2542). การไม่ยอมรับกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อการผลิตของประชาชนในพื้นที่ดำเนินการของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 3(2), 112-131.

บุญโชติ เกตุแก้ว. (2556). คุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรฝ่ายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(2), 93-105.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-08

How to Cite

แสงอรุณ ศ. ., จํารัสกาญจน์ ณ. ., ดำรงวัฒนะ จ. ., & หารเทศ ศ. . (2024). การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรคีรีวง (ผ้ามัดย้อมจากเปลือกมังคุด). Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 2(2), 43–51. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/127