แนวทางการส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์การแกะสลักไม้เทพทาโร กรณีศึกษา ครอบครัวนายจรูญ แก้วละเอียด ชุมชนบ้านนาเหมร หมู่ที่ 5 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
แนวทางการส่งเสริม, ผลิตภัณฑ์, การแกะสลัก, ไม้เทพทาโรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิธีการทำผลิตภัณฑ์การแกะสลักไม้เทพทาโร 2) สภาพปัญหาการทำผลิตภัณฑ์การแกะสลักไม้เทพทาโร และ 3) แนวทางการส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์การแกะสลักไม้เทพทาโร กรณีศึกษา ครอบครัวนายจรูญ แก้วละเอียด ชุมชนบ้านนาเหมร หมู่ที่ 5 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม โดยเลือกแบบเจาะจง ทั้งนี้ ผู้วิจัยให้ข้อมูลสำคัญหลัก จำนวน 2 คน โดยพิจารณาจากการเป็นผู้ที่แกะสลักผลิตภัณฑ์มาไม่น้อยกว่า 15 ปี และผู้ให้ข้อมูลรอง จำนวน 3 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสรุปภาพรวม ผลการวิจัย พบว่า 1) วิธีการทำผลิตภัณฑ์การแกะสลักไม้เทพทาโร พบว่า การทำผลิตภัณฑ์การแกะสลักไม้เทพทาโร เป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดตรัง โดยชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันโดยนำราก และตอของไม้เทพทาโรมาแกะสลักเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ สร้างรายได้ให้กับชุมชน และยังเป็นสินค้า OTOP 2) สภาพปัญหาการทำผลิตภัณฑ์การแกะสลักไม้เทพทาโร พบว่า 2.1) การเตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ออกแบบลวดลาย ต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญในการดัดแปลงเครื่องมือแกะสลักเป็นการเฉพาะ 2.2) เก็บรายละเอียดของลวดลายขัดกระดาษทราย และทาดินสอพองทาน้ำมันเคลือบเนื้อไม้ และทิ้งไว้ให้แห้งสนิท และ 2.3) ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ต้องปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย ตรงใจลูกค้า เนื่องจาก
มีการแข่งขันสูง และ 3) แนวทางการส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์การแกะสลักไม้เทพทาโร พบว่า มีวิธีเพื่อส่งเสริม
การทำผลิตภัณฑ์การแกะสลักไม้เทพทาโร โดยการอนุรักษ์และการสืบทอดภูมิปัญญา จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือการแกะสลักไม้เทพทาโร เพื่อถ่ายทอดทักษะและเทคนิคให้แก่ช่างฝีมือรุ่นใหม่
References
กำจร ตติยกวี. (2558). งานวิจัยกับการพัฒนาประเทศ. วารสารการพัฒนาชุมชน และคุณภาพชีวิต, 3(1), 1-4.
กิจทวีสิน วิชัยดิษฐ และคณะ. (2562). รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนในชุมชน. ใน รายงานการวิจัย. ศูนย์การศึกษาตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี.
ครูบ้านนอกดอล. (2563). วัสดุ, อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลักไม้. เรียกใช้เมื่อ 26 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.prc.ac.th
เคอตี้ ตู้ และคณะ. (2562). แนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม: ไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 22(1), 139-151.
ชัยนาท ผาสอน และวินิต ชินสุวรรณ. (2563). การพัฒนาอุตสาหกรรมเสื่อกกบ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. ข่อนแก่น: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณธกร อุไรรัตน์. (2560). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวเจ๊กเชย เสาไห้ จ.สระบุรี. วารสารวิจิตรศิลป์, 8(1), 165-202.
วังเทพทาโร. (2563). วังเทพทาโร. เรียกใช้เมื่อ 15 สิงหาคม 2565 จาก https://ww2.trang.go.th/travel/ detail/6/data.html
สมเกียรติ กลั่นกลิ่น และคณะ. (2552). เทพทาโร. ใน รายงานการวิจัย. สำนักวิจัย และพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้.
สมฤดี จันดี และคณะ. (2561). การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนจากไม้เทพทาโร กรณี ศึกษาวังเทพทาโร ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. ใน รายงานการวิจัย. สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น.
สุวรรณ ตั้งมิตรเจริญ. (2563). แนวทางการส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจในประเทศไทย. ใน เอกสารประกอบการประเมินตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมการปลูกป่า. กรมป่าไม้.
อรุณลักษณ์ ทุมมากรณ์ และคณะ. (2549). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม้แกะสลักโซฟามังกรบ้านคลองเตย ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. สักทองวารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 81-96.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.