แนวทางส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้านผลิตเครื่องแกงชุมชน บ้านฝ่ายท่านาเขลียง หมู่ที่ 11 ตำบลนาแว อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พัชรีภรณ์ เกลี้ยงเกลา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • อุดมศักดิ์ เดโชชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เดโช แขน้ำแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • นรากร ทองแท้ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การบริหารจัดการ, วิสาหกิจชุมชน, กลุ่มผลิตเครื่องแกง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้านผลิตเครื่องแกง 2) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้านผลิตเครื่องแกง และ 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้านผลิตเครื่องแกงชุมชนบ้านฝ่ายท่านาเขลียง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม โดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านผลิตเครื่องแกง จำนวน 6 คน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสรุปภาพรวม ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้านผลิตเครื่องแกงชุมชนบ้านฝ่ายท่านาเขลียง พบว่า 1.1) ด้านการบริหารองค์กร ประชุมเพื่อกำหนดหน้าที่ วางแผนในการทำงาน 1.2) ด้านการบริหารคน คัดเลือกสมาชิกให้เหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย 1.3) ด้านการบริหารเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม และวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และ 1.4) ด้านการบริหารงบประมาณ มีการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย สรุปผลกำไรขาดทุน 2) สภาพปัญหาการบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้านผลิตเครื่องแกงชุมชนบ้านฝ่ายท่านาเขลียง พบว่า 2.1) ด้านสภาพปัญหาในด้านการบริหารองค์กร สมาชิกในกลุ่มมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน 2.2) สภาพปัญหาด้านการบริหารคน 2.3) สภาพปัญหาด้านเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ มีเครื่องมือเก่าที่ไม่ทันสมัย และ 2.4) สภาพปัญหาในด้านการบริหารการเงิน งบประมาณภายในกลุ่มเองไม่มีเงินทุนที่จะมาใช้หมุนเวียนในกลุ่ม และ 3) แนวทางส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้านผลิตเครื่องแกงชุมชนบ้านฝ่ายท่านาเขลียง พบว่า 3.1) แนวทางส่งเสริมด้านการพัฒนากลุ่ม 3.2) แนวทางส่งเสริมด้านหน่วยงานสนับสนุน 3.3) แนวทางส่งเสริมด้านการตลาด 3.4) แนวทางส่งเสริมด้านวัตถุดิบ 3.5) แนวทางส่งเสริมด้านการสืบทอด และ 3.6) แนวทางส่งเสริมด้านบรรจุภัณฑ์

References

พจนา พรหมเพศ. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงบ้านบ่อทราย ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พิไลรัตน์ ต๊ะมา เเละณัฐิยา ตันตรานนท์. (2564). การพัฒนาบุคลากรสู่มาตรฐานทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสำนักงานศึกษาธิการภาค 15. สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 26(1), 280-290.

ภมรรัตน์ สุธรรม. (2546). พลวัตชุมชนกับการพึ่งตนเองในภาคตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิถีทัศน์.

มณเทียร โรหิตเสถียร. (2549). การดำเนินการของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้าในจังหวัดเชียงใหม่.

ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมธุรกิจสำหรับผู้บริหาร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ. (2559). เครื่องแกงไทย แก้โรค สุดยอดความอร่อย. เรียกใช้เมื่อ

ตุลาคม 2561 จาก https://goodlifeupdate.com/healthy-body/170686.html

วราพร แต้มเรืองอิฐ. (2565). การตัดสินใจของผู้บริหารกับการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศักดิ์ชาย เพ็ชรศรีทอง. (2563). กล้วยฉาบบ้านหน้าเขา: แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบ

เพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน กรณีศึกษา เกษตรกรรายย่อย บ้านหน้าเขา หมู่ที่ 3 ตำบลหน้าเขา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สิริมนต์ นฤมลศิริ. (2563). องค์การ และการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุนันทา เลาหนันท์. (2551). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร: รุ่งวัฒนา.

สุพัตรา ทองแก้ว. (2552). สร้างรายได้จากถิ่นฐาน ความสุขที่เรียบง่ายห่างไกลสารเคมี. เรียกใช้เมื่อ 30 ตุลาคม 2561 จาก https://wwweeforth

อนิวัช แก้วจำนง. (2550). หลักการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

อมรา พงศาพิชญ์. (2547). มนุษย์กับวัฒนธรรมในสังคม และวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาณัติ ลีมัคเดช. (2546). เรียนรู้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภาคทฤษฎี และปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: เอ.อาร์ บิซิเนสเพรส.

อุไร รับพร. (2552). สภาพปัญหา และแนวทางแก้ปัญหา การบริหารงบประมาณเงินอุดหนุน ปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-08

How to Cite

เกลี้ยงเกลา พ., ดำรงวัฒนะ จ., เดโชชัย อ., แขน้ำแก้ว เ., & ทองแท้ น. (2024). แนวทางส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้านผลิตเครื่องแกงชุมชน บ้านฝ่ายท่านาเขลียง หมู่ที่ 11 ตำบลนาแว อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 3(1), 36–48. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/173