กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด
คำสำคัญ:
กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน, สหกรณ์การเกษตร, กลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกาจังหวัดนครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชนของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด และ 2) ศึกษาสภาพปัญหา และการบริหารจัดการของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวน 3 คนและ 2) กลุ่มผู้ส่งเสริม และสนับสนุนการบริหารจัดการกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัดมีจำนวน 3 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ และสนับสนุนกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด โดยวิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชนมีพัฒนาการการเกิดกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด 4 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นก่อตัวของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด 1.2) ขั้นตอนการรวมตัวกันของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด 1.3) ขั้นการผลิตสินค้าภายในกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด และ 1.4) ด้านขั้นตอนการบริหารจัดการกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด 2) สภาพปัญหาของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด คือ ปัญหาการผลิตสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด ปัญหาบรรจุภัณฑ์กลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด ปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด และ ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด ส่วนหลักการบริหารจัดการของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด ได้แก่ 1) ความพอประมาณกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด 2) ความมีเหตุผลกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด 3) การมีภูมิคุ้มกันกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด 4) การมีความรู้กลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด 5) การมีคุณธรรมกลุ่มสหกรณ์การเกษตรลานสกา จำกัด
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2551). ข้อควรรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด.
กานต์ กัลป์ตินันท์. (2550). การปรับตัวเข้าสู่ระบบตลาดในธุรกิจชุมชนบ้านบุ่งหวาย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ชฎาพร ไชยศรี. (2552). กลยุทธ์การพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน แม่บ้านเกษตรกรบ้านผาฆ้อง ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ และการประเมินผล. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ณัฐพนธ์ สกุลพงษ์. (2565). รูปแบบการดำเนินงานของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร และพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัยเแม่โจ้.
ธนาวุฒิ พิมพ์กิ และจันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์. (2557). การประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 10(1), 1-22.
ประสิทธิ์ เผยกลิ่น . (2557). รูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. เทคโนโลยีสุรนารี, 8(1), 1-22.
พีรวิชญ์ จิตร์เพ็ชร์. (2564). การบริหารจัดการธุรกิจวิสาหกิจชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(1), 39-49.
ลำยอง ปลั่งกลาง. (2550). การศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.). (2565). รายงานสถานการณ์ MSME รายเดือน. เรียกใช้เมื่อ 12 มีนาคม 2566 จาก https://www.sme.go.th/knowledge/รายงานสถานการณ์MSMEรายเดือน.
สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชน จัดการความรู้ และการสื่อสาร. (2562). ตำบลท่าดี บูรณาการงานผ่านฐานทุนธรรมชาติ. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤษภาคม 2566 จาก https://web.codi.or.th/20190810-7086/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.