การคงอยู่ของการแสดงมโนราห์ตัวอ่อนท้องถิ่น ภาคใต้ กรณีศึกษา คณะมโนราห์บุญหลง นิ่มดำ บ้านพนมวังก์ ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • สรวีย์ บัวนุ้ย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ดำรงศักดิ์ โยธา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เดโช แขน้ำแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เชษฐา มุหะหมัด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เจียร ชูหนู มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

มโนราห์ตัวอ่อน, การคงอยู่, คณะมโนราห์ บุญหลง นิ่มดำ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาการคงอยู่ของการแสดงมโนราห์ตัวอ่อนท้องถิ่น กรณีศึกษา คณะมโนราห์บุญหลง นิ่มดำ บ้านพนมวังก์ ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ทำการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) หัวหน้าและสมาชิกคณะมโนราห์บุญหลง นิ่มดำ จำนวน 10 คน และ 2) ผู้สนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์การแสดงมโนราห์ จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 14 คน มีเครื่องมือวิจัยในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดเก็บความรู้ให้เกิดการคงอยู่ องค์ความรู้ถูกสืบทอด และอยู่ในลักษณะของความทรงจำในตังของนายโรง และสมาชิกภายในคณะ ในการจัดเก็บความรู้ที่ทำให้เกิดการคงอยู่ของมโนราห์ตัวอ่อน ในส่วนใหญ่ได้รับมาจากการอธิบาย การสาธิต
และการปฏิบัติของครูบุญหลง นิ่มดำ เป็นคนที่คอยให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ และเยาวชนที่สนใจเกี่ยวกับมโนราห์ และ 2) ความรู้ที่ยังคงอยู่ของการแสดงมโนราห์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนท่ารำมโนราห์ เช่น 1) ท่าออกม่าน 2) ท่ารำสอด และ 3) ท่าเต้งตุ้ง และการเพิ่มบทกลอนต่าง ๆ เพื่อสร้างความสนุกสนาน และความเพลิดเพลินใน การแสดงมโนราห์ เช่น บทกาศครู บทครูสอน และ 3) การประยุกต์และใช้ในการแสดงมโนราห์เพื่อการรักษาความรู้ และการเพิ่มเติมความรู้ในการแสดงมโนราห์ คือ 1) การนำท่ารำมโนราห์ไปใช้ในการแสดงละครเวที 2) การนำจังหวะท่วงทำนองของมโนราห์ไปใช้ในการแต่งเพลงสมัยใหม่ และ 3) การนำท่ารำ และจังหวะท่วงทำนองของมโนราห์ไปใช้ในการออกแบบท่าเต้นสำหรับการแสดงแฟชั่นโชว์

References

กฤติยา ชูสงค์ และอักษราวดี ปัทมสันติวงศ์. (2564). ระบำดอกพะยอม: การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ดอกไม้ประจำจังหวัดพัทลุง ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. วารสารวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุนันทา, 13(1), 41-55.

จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการอนุรักษ์ และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา การแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน. วารสารนิติศาสตร์ และสังคมท้องถิ่น, 1(1), 135-169.

จินดา จันทร์สุวรรณ เเละคณะ. (2561). การวิเคราะห์กระบวนท่ารำในพิธีครอบเทริดมโนราห์. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ, 2(พิเศษ), 83-96.

จุฑามาศ อนุกูลวรรธกะ เเละคณะ. (2564). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(2), 23-40.

ไชยมนู กุนอก. (2562). การบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือ: ฐานรากนวัตกรรมท้องถิ่น. วารสารการเมืองการปกครอง, 9(3), 249-152.

ฐานข้อมูลถิ่นใต้. (2561). ประวัติความเป็นมา/แหล่งกำเนิด. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2566 จาก https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/2/bae72ee9

เดโช แสงจันทร์ เเละคณะ. (2562). วิเคราะห์ และประเมินคุณค่าเชิงสัญวิทยาในปรัชญาหลังนวยุคมองผ่านการแสดงมโนราห์โรงครูภาคใต้ประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 530-547.

วงษ์สิริ เรืองศรี. (2563). มโนราห์บนฐานการจัดการวัฒนธรรมร่วม: มโนราห์เติม เมืองตรัง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 4(2), 12-27.

วชิราภรณ์ ชนะศรี เเละคณะ. (2562). มโนราห์ตัวอ่อน: กรณีศึกษามโนราห์จำเรียง ชาญณรงค์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 15(2), 214-229.

วิระเดช ทองคำ และกมล เสวตสมบูรณ์. (2560). การบริหารจัดการด้วยระบบเครือญาติเพื่อสร้างความซื่อสัตย์ต่อคณะมโนราห์ในจังหวัดพัทลุง. อินทนิลทักษิณสาร, 12(2), 73-87.

ศิรัมภา จุลนวล. (2558). การศึกษาศิลปะการแสดงมโนราห์เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายในที่อยู่อาศัย. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 6(2), 120-132.

สมโภชน์ เกตุแก้ว เเละคณะ. (2559). กลวิธีการรำมโนราห์ทำบท. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 12(1), 174-196.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-08

How to Cite

บัวนุ้ย ส., โยธา ด., ดำรงวัฒนะ จ., แขน้ำแก้ว เ., มุหะหมัด เ., & ชูหนู เ. (2024). การคงอยู่ของการแสดงมโนราห์ตัวอ่อนท้องถิ่น ภาคใต้ กรณีศึกษา คณะมโนราห์บุญหลง นิ่มดำ บ้านพนมวังก์ ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 3(2), 39–50. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/182