“นางแอ่นกินรัง”: แนวทางการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงนกนางแอ่น กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้บ้านรังนกไทย ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
นางแอ่นกินรัง, การส่งเสริม, ศูนย์การเรียนรู้, จังหวัดนครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิธีการเลี้ยงนกนางแอ่นกินรัง 2) สภาพปัญหาในการเลี้ยงนกนางแอ่นกินรัง 3) แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงนกนางแอ่นกินรัง กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้บ้านรังนกไทย ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกผู้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จากผู้มีอาชีพผลิตรังนกโดยตรง 8 คน ดังนี้ 1) กลุ่มผู้ผลิตรังนก 2 คน 2) กลุ่มผู้ช่วยทำความสะอาดรังนก 2 คน 3) กลุ่มผู้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ 2 คน 4) กลุ่มส่งเสริมสิ่งแวดล้อม 1 คน 5) กลุ่มฝ่ายบริหารส่วนท้องถิ่น 1 คน แบบสัมภาษณ์เป็นลักษณะคำถามปลายเปิดเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก มีขั้นตอน 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ 2) ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงนกนางแอ่นกินรัง 3) ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการเลี้ยงนกนางแอ่นกินรัง 4) ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงนกนางแอ่นกินรัง และ 5) ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ ผลการวิจัย พบว่า 1) วิธีการเลี้ยงนกนางแอ่นกินรัง พบว่า 1.1) เตรียมสร้างบ้านเพื่อการอยู่อาศัยของนก 1.2) เตรียมเครื่องเสียงเรียกนก 1.3) เตรียมผู้เลือก 1 คน เพื่อเก็บรังนก และ 1.4) คัดแยกคุณภาพรังนกเพื่อเตรียมจำหน่าย 2) สภาพปัญหาในการเลี้ยงนกนางแอ่นกินรัง พบว่า 2.1) ผู้เลี้ยงต้องเฝ้าระวังนกนางแอ่นจาก งู นกเหยี่ยว เป็นต้น 2.2) ต้องรักษาสภาพแวดล้อมของบ้านให้เหมาะสมต่อการทำรังนกนางแอ่น และ 2.3) มีการแข่งขันสูง 3) แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงนกนางแอ่นกินรัง พบว่า 3.1) มีแนวทางการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 3.2) มีแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้การทำรังนก และ 3.3) แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงนกนางแอ่นกินรังในชุมชน
References
กนกวรรณ ชาติสุวรรณ. (2553). การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในชุมชนจากการอาศัยของนกนางแอ่นกินรัง (Edible-nest Swiftlet). ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกษม จันทร์ดำ. (2559). รังนกแอ่น: เหมืองทองกลุ่มชาติพันธุ์เอเชียอาคเนย์. เรียกใช้เมื่อ 23 เมษายน 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/111999#google_vignette
นพรัตน์ เชยคนชม. (2561). แผนธุรกิจรังนกออนไลน์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภัทราพร สุวรรณภูมิ และคณะ. (2561). รังนกนางแอ่น: ภูมิปัญญาในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มรังนกเพื่อส่งเสริมการตลาดกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้าน เกษตรบ้านเพ็งอาดหมู่ที่ 11 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 1(3), 20-32.
ศรันย์ สมันตรัฐ และคณะ. (2552). การเลี้ยงนกนางแอ่นกินรัง: จากมุมภูมิทัศน์วัฒนธรรมสะท้อนคิด. หน้าจั่ว: วารสารวิชาการคณะสถาปัตกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 24(2010), 167-181.
สันติ สุขสอาด เเละณัฐชยา ผดุงศิลป์. (2559). การผลิตและการตลาดของรังนกนางแอ่นกินรังในจังหวัดจันทบุรี. วารสารการจัดการป่าไม้, 10(20), 1-13.
องอาจ ตัณฑวณิช. (2563). สร้างบ้านเพื่อให้นกนางแอ่นอาศัย ธุรกิจน่าลงทุน ให้ผลตอบแทนสูง. เรียกใช้เมื่อ 23 เมษายน 2567 จาก https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_23223
อนันต์ อภิชัยนันท์. (2562). ปัญหาและแนวทางการควบคุมเหตุรำคาญที่เกิดจากการประกอบกิจการรังนกบ้าน ศึกษากรณีการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Innovation for Sustainable Social Development

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.