วารสารรามคำแหง ฉบับคณะศึกษาศาสตร์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU <p>วารสารรามคำแหง ฉบับคณะศึกษาศาสตร์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการยกระดับคุณภาพของผลงานวิจัยและผลงานวิชาการด้านศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> th-TH <p>ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว</p> journal.edu.ru@gmail.com (รองศาสตราจารย์ ดร.มานิกา วิเศษสาธร) journal.edu.ru@gmail.com (กองบรรณาธิการวารสารรามคำแหง ฉบับคณะศึกษาศาสตร์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ) Wed, 11 Sep 2024 13:33:36 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 อุปนิสัย “พอเพียง” เริ่มต้นสร้างตั้งแต่เด็กปฐมวัย https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/676 <p>การปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียงควรเริ่มต้นสร้างตั้งแต่เด็กปฐมวัย เพราะเป็นช่วงวัยแห่งพลังการเรียนรู้และ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเจริญเติบโตของชีวิต โดยปลูกฝังให้เด็กรู้จักความพอประมาณ ประหยัด ช่วยเหลือตนเอง มีเหตุผล มีวินัยในตนเองในการพัฒนาเด็กให้มีคุณลักษณะดังกล่าว ควรมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมสู่พฤติกรรมใหม่ ด้วยการให้ประสบการณ์หรือฝึกฝนจนเปลี่ยนแปลงเป็นพฤติกรรมที่ดีถาวรติดตัว เด็กใช้ชีวิตอยู่ในห้องเรียนอนุบาลเป็นส่วนใหญ่ครูจึงมีบทบาทสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมทั้ง&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โดยสอดแทรกอุปนิสัยความพอเพียงให้เด็กมีติดตัวไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่</p> เสกสรร มาตวังแสง Copyright (c) 2024 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/676 Wed, 11 Sep 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเชิงวิพากษ์กับการสอนภาษาอังกฤษ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/679 <p>การศึกษาเชิงวิพากษ์เกิดจากแนวความคิดของ Paulo Freire ถือเป็นการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีความตระหนักเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษ โดยพิจารณาบทบาทของภาษาอังกฤษในบริบททางการเมือง เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางสังคม ผู้เรียนที่ได้รับการศึกษาตามแนวทางนี้จะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและพฤติกรรมที่ทำให้ตนเองเสียผลประโยชน์ ส่วนผู้สอนนอกจากการสะท้อนความคิดจากการสอนแล้วยังสามารถประยุกต์การศึกษาเชิงวิพากษ์ในการสอนได้หลากหลายตามความเหมาะสมในแต่ละห้องเรียนดังนั้น ผู้สอนจึงควรที่จะทำทุกวิธีทางที่จะทำได้ในประเด็นที่เกี่ยวกับอำนาจและการเมือง</p> พัฒน์ วัฒนสินธุ์ Copyright (c) 2024 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/679 Wed, 11 Sep 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพชีวิตผู้เรียนระดับอุดมศึกษาหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/680 <p>บทความวิชาการนี้กล่าวถึงคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา (Quality of life for higher education student) หลังจากการระบาดโควิด 19 ซึ่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง “คุณภาพชีวิตผู้เรียนระดับอุดมศึกษาหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19” เป็นบทความวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับนักศึกษาหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาและสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ โดยให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกาย และคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ประกอบด้วย สุขภาพที่ดีของนักศึกษา (Healthy)&nbsp; ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษา (Adaptability) ความคิดในการสร้างสรรค์ (Mindset) และความมีอิสระในการเรียนสามารถบริหารตนเอง (Flexible learning approach)</p> ศรัณภัสร์ โพธิวรรณ, ทิพวรรณ เดชสงค์ Copyright (c) 2024 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/680 Wed, 11 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูป แอปพลิเคชัน Animaker https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/677 <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุ หนิง โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูปแอปพลิเคชัน Animaker และ (2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้วรรณคดีด้วยวิธีการข้างต้น การวิจัยใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวโดยวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 39 คน ที่ได้รับเลือกมาแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วรรณคดีเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูปแอปพลิเคชัน Animaker แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูปแอปพลิเคชัน Animaker มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> ชธิตา มะดำ, ซูไฮบ๊ะ เจ๊ะเงาะ, นพรัฐ เสน่ห์ Copyright (c) 2024 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/677 Wed, 11 Sep 2024 00:00:00 +0700 วิถีชีวิตนักมวย กรณีศึกษา: เพชรสุขุมวิท บอยบางนา https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/681 <p>กรณีศึกษา วิถีชีวิตของ เพชรสุขุมวิท บอยบางนา นักมวยอาชีพผู้มีประสบการณ์มากมายในวงการมวยไทยนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ (1) เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตและกิจวัตรประจำวันของ เพชรสุขุมวิท บอยบางนา และ (2) เพื่อสำรวจสิ่งท้าทายทางร่างกายและจิตใจ เพชรสุขุมวิท บอยบางนา เผชิญอยู่ในการดำรงชีวิตประจำวัน เพชรสุขุมวิท บอยบางนา ชกมวยไทยมาเป็นเวลา 15 ปี ขึ้นชกในเวทีมวย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เขาพักอาศัยอยู่ในค่ายมวย และกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเปิดที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศ “มหาวิทยาลัยรามคำแหง” เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกรณีศึกษา ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต หลังจากที่ได้วิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์ข้อมูลแล้ว ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจของเพชรสุขุมวิท บอยบางนาในการมาเป็นนักมวย มาจากเหตุผลส่วนตัว ครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม เพชรสุขุมวิท บอยบางนา จึงพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีความรับผิดชอบ รวมถึง การสร้างวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในฐานะนักมวย ซึ่งแม้จะเผชิญกับสิ่งท้าทายที่รุมเร้าเข้ามาอย่างมากมายและหลากหลาย แต่เพชรสุขุมวิท บอยบางนา ก็ยอมรับกับวิถีชีวิตในปัจจุบันของเขา</p> พงศ์ธร แสงวิภาค, ณัฐวุฒิ สิทธิชัย Copyright (c) 2024 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/681 Wed, 11 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกม รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/683 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกม (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกม รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจ่าการบุญ จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกม จำนวน 8 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัย จำนวน 10 ข้อ อัตนัย จำนวน 2 ข้อ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (<em>t</em> test) ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> วริศรา วงศ์หล่มแก้ว, สายฝน วิบูลรังสรรค์ Copyright (c) 2024 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/683 Wed, 11 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะการปั้น https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/684 <p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย <br>ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย เด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี <br>ระดับชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ด้วยการเลือก <br>1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะการปั้นเพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย คือ การปั้นดินน้ำมัน, การปั้นแป้งโด, การปั้นกระดาษหนังสือพิมพ์ และการปั้นขนม (2) แบบประเมินความสามารถในการใช้มือของเด็กปฐมวัย และการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลและตรวจวัดคะแนน<br>เพื่อนำไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปแล้วนำคะแนนที่ได้จากการประเมินทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรมไปวิเคราะห์ค่าสถิติ และแบ่งการวิเคราะห์ ดังนี้&nbsp; (1) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ (2) <em>t</em> test dependent</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะการปั้น ระดับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก<br>ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2 มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 39.01&nbsp; (<em>SD</em> = 5.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านความคล่องแคล่วในการใช้มือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.73 (<em>SD</em> = 1.20) ความยืดหยุ่นในการมือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.47 <br>(<em>SD</em> = 1.36) ความสามารถในการควบคุมการใช้มือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.80 (<em>SD</em> = 1.35) และการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา มีเฉลี่ยเท่ากับ 10.10 (<em>SD</em> = 1.27) ดังนั้น ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลเลย ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย หลังใช้กิจกรรมศิลปะการปั้น สูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</p> ปลายฟ้า วงษ์เดช, ฉัตรวิไล สุรินทร์ชมพู Copyright (c) 2024 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/article/view/684 Wed, 11 Sep 2024 00:00:00 +0700