https://so18.tci-thaijo.org/index.php/chorparitas/issue/feed
ช่อดอกปีบปริทัศน์
2025-04-12T00:00:00+07:00
Asst. Prof. Dr. Salinee Tippeng
salinee.t@rmutsv.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารช่อดอกปีบปริทัศน์ </strong><span style="font-weight: 400;">เป็นวารสารของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เริ่มจัดพิมพ์วารสารฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ. 2567 เป็นปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2568) </span><span style="font-weight: 400;">โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ ในลักษณะของ</span><span style="font-weight: 400;">บทความวิจัย (Research Article)</span><span style="font-weight: 400;"> </span><span style="font-weight: 400;">บทความวิชาการ (Academic Article) และบทความปริทรรศน์ (Review Article) </span><span style="font-weight: 400;">ในสาขา</span><span style="font-weight: 400;">ด้านศิลปศาสตร์ (Liberal Arts) มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities and Social Science) </span><span style="font-weight: 400;">และสาขาวิชาอื่น ๆ หรือสหวิทยาการด้านศิลปศาสตร์ อาทิ การท่องเที่ยว </span><span style="font-weight: 400;">การโรงเเรมและอุตสาหกรรมบริการ</span><span style="font-weight: 400;"> โลจิสติกส์ ภาษาและการสื่อสาร ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ วรรณคดีทั้งของไทยและต่างประเทศ ศิลปะและวัฒนธรรม ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ดนตรีไทย ดนตรีตะวันตก</span><span style="font-weight: 400;"> ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมศึกษา </span><span style="font-weight: 400;">จิตวิทยา</span><span style="font-weight: 400;"> </span><span style="font-weight: 400;">คหกรรมศาสตร์ </span><span style="font-weight: 400;">รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา พัฒนาสังคม </span><span style="font-weight: 400;"> สังคมวิทยา </span><span style="font-weight: 400;">ศึกษาศาสตร์ วิธีการสอน การจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล </span></p> <p><strong>กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ คือ </strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน </span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม </span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม </span></p> <p><span style="font-weight: 400;">เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ คือ </span></p> <p><span style="font-weight: 400;">https://so18.tci-thaijo.org/index.php/chorparitas</span></p>
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/chorparitas/article/view/723
แนวทางการพัฒนาธุรกิจที่พักอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครนายก
2024-10-09T11:25:41+07:00
อนุสรณ์ คําต้น
Anusorn@hotmail.com
อนิรุทธิ์ เจริญสุข
anirut_ja@rmutto.ac.th
<p>วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจที่พักในจังหวัดนครนายก 2) ศึกษา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของธุรกิจที่พักในจังหวัดนครนายก 3) วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาธุรกิจที่พักอย่างยั่งยืนในมิติด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม 4) เสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจที่พักในจังหวัดนครนายกให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากงานวิจัย บทความวิชาการ เอกสารที่เกี่ยวข้อง คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 26 คน ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนงานภาครัฐ สมาคม ผู้ประกอบการธุรกิจที่พัก นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และประชาชนที่เกี่ยวข้องกับที่พักในจังหวัดนครนายก ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) จังหวัดนครนายกมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติทำให้ธุรกิจที่พักเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะรีสอร์ท โฮมสเตย์ และที่พักเชิงนิเวศ 2) จุดแข็งของที่พักในนครนายก คือ ที่ตั้งใกล้กรุงเทพมหานคร แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลากหลาย และต้นทุนที่พักต่ำ จุดอ่อน คือ โครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอและการประชาสัมพันธ์ยังจำกัด โอกาสมาจากแนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและโครงการส่งเสริมจากรัฐบาลอุปสรรค คือ การแข่งขันจากจังหวัดใกล้เคียงและความเสี่ยงจากการจัดการทรัพยากรที่ไม่ยั่งยืน 3) แนวทางการพัฒนาธุรกิจที่พักในนครนายกอย่างยั่งยืนครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้พลังงานทดแทนและการจัดการทรัพยากร ด้านเศรษฐกิจเน้นการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และลดต้นทุน และด้านสังคม ส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่นและการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านความร่วมมือระหว่างชุมชนและผู้ประกอบการ 4) แนวทางการพัฒนาธุรกิจที่พักในนครนายกให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ควรนำแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มาใช้จัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น </p> <p> </p> <p>ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนให้กับนักท่องเที่ยว ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน เรียนรู้ระหว่างผู้ประกอบการ สร้างแรงจูงใจจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสร้างมาตรการวัดผลการพัฒนาที่ยั่งยืน</p>
2025-04-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ช่อดอกปีบปริทัศน์
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/chorparitas/article/view/733
เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรดกอาหารหมูย่างเมืองตรัง เพื่อการเรียนรู้บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์
2024-10-15T10:51:46+07:00
ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์
tussanawalai.tun@gmail.com
ชฎาวรรณ ศิริจารุกุล
Chadawan@hotmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและความคิดเห็นต่อการสร้างเส้นทางท่องเที่ยว 2) ประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรดกอาหารหมูย่างตรัง และ 3) สร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรดกอาหารหมูย่างตรัง เป็นการวิจัยแบบผสม งานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน งานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมและความคิดเห็นต่อการสร้างเส้นทางท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก 2) ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรดกอาหารหมูย่างตรัง พบว่า มีศักยภาพการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว ศักยภาพการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว และศักยภาพการรองรับด้านการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก 3) การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรดกอาหารหมูย่างตรัง ได้นำสถานที่ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมมาเชื่อมโยงเป็นเส้นทางท่องเที่ยว “มนต์เสน่ห์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำนานหมูย่างเมืองตรัง” มีลักษณะการจัดเส้นทางแบบทางเดียว ประกอบด้วย ร้านอาหารเช้าแบบติ่มซำ ชุมชนท่าจีน ศาลเจ้าท่ามกงเยี่ย อาคารสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ชุมชนวิสาหกิจผ้าทอนาหมื่นศรี ชุมชนหมูย่างป่ายาง บ้านตระกูลคีรีรัตน์ โรงงานเตาย่างหมู โดยมีการประเมินความเหมาะสมของเส้นทางท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ระดับมาก</p>
2024-11-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ช่อดอกปีบปริทัศน์
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/chorparitas/article/view/779
ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านการท่องเที่ยวชุมชนโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
2024-11-20T08:09:55+07:00
สุธี เทพสุริวงค์
sutee@sk-cc.ac.th
กฤษณวรรณ เสวีพงศ์
--@hotmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพชุมชนด้านการท่องเที่ยวชุมชนโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านท่องเที่ยวโดยชุมชนโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การทบทวนวรรณกรรม การจัดเวทีระดมความคิดเห็น การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มผู้นำองค์กรท้องถิ่น สมาชิกองค์กรท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยการเขียนพรรณนาโวหาร ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาศักยภาพชุมชนด้านการท่องเที่ยวชุมชนโคกม่วง มี 3 ด้าน คือ 1.1) ด้านประวัติศาสตร์ ประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อที่น่าสนใจ 1.2) ด้านกลุ่มองค์กรในชุมชน มี 2 ประเภท คือ กลุ่มองค์กรที่มีเกณฑ์มาตรฐานรองรับ และองค์กรที่เตรียมความพร้อมรองรับการพัฒนา และ 1.3) ด้านแหล่งท่องเที่ยว ประกอบด้วย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิถีชีวิตในชุมชน และภูมิปัญญาอาหารเด่นของชุมชน 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านท่องเที่ยวชุมชน มีแนวทางการพัฒนา 3 ด้าน คือ 2.1) การพัฒนาศักยภาพด้านท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2.2) การพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 2.3) การยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในชุมชน เพราะศักยภาพที่สนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนและสร้างรายได้ความอยู่ดีกินดีให้แก่ชุมชนได้</p>
2025-04-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ช่อดอกปีบปริทัศน์
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/chorparitas/article/view/800
การพัฒนาผลิตภัณฑ์แกงคั่วเคย (ตุมิฮ) บนฐานภูมิปัญญา เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
2024-12-02T15:02:50+07:00
กฤษณวรรณ เสวีพงศ์
krisanawan@sk-cc.ac.th
สุธี เทพสุริวงค์
--@hotmail.com
<p> This research article studies the participatory development of Kaeng Kua Khoey (Tumih) products based on wisdom to strengthen the creative economy in Thepha District, Songkhla Province. The objective is to study the wisdom of making Kaeng Kua Khoey (curry paste). To study consumer opinions on Kaeng Kua Khoey products. and to develop curry products. This research is participatory action research. Study from a sample group philosophers from the wisdom , the community, cooperative groups In the area of Thepha District, Songkhla Province, community enterprise groups and consumers. The research methodology comprises group discussions, in-depth interviews, observations, and consumer opinion assessments. The research results that The wisdom of making Kaeng Kua Khoey (curry paste). The ingredients and cooking methods are different according to the identity of each area. And the results of the test of acceptance and liking of the 7 Recipes of Kaeng Kua Khoey kheaw (Tumih) curry products found that the testers accepted the 2nd Recipe product in all characteristics. with a moderate acceptance value The tester has a preference. and interested in purchasing the product.</p> <p> </p>
2025-04-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ช่อดอกปีบปริทัศน์
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/chorparitas/article/view/769
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2024-11-08T16:09:48+07:00
รวิวรรณ พวงสอน
rawiwan.p@rmutsv.ac.th
กาญจนพัฐ กลับทับลัง
--@hotmail.com
<p>วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการจัดคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจ ร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 2) ประเมินความพึงพอใจในการให้บริการของผู้ประกอบการที่มีต่อลูกค้าที่มาใช้บริการร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา ที่ส่งผลต่อการจัดคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา และ 3) เสนอแนวทางการจัดคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการวิจัยแบบผสม โดยงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการร้านกาแฟสดในจังหวัดสงขลา จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน งานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์กับผู้ประกอบการหรือผู้จัดการร้านกาแฟสดจำนวน 127 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ มีคุณภาพการจัดการด้านปัจจัยการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านปัจจัยการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจได้ 2) ความพึงพอใจในการให้บริการ อยู่ในระดับมาก โดยลูกค้ามีความพึงพอใจต่อการที่ผู้ประกอบการร้านมีนโยบายให้ลูกค้างดสูบบุหรี่ หรือการกระทำอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคทางอากาศ ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านระบบ e-payment หรือ หากชำระด้วยเงินสดมีถาดรับเงินหรือสวมถุงมือ กำหนดให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าให้ถูกต้องตลอดเวลาสำหรับผู้ปฏิบัติงาน พื้นที่ให้บริการต้องเป็นลักษณะโล่งและระบายอากาศ มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลไม่ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น และ 3) สำหรับแนวทางการปฏิบัติสำหรับธุรกิจร้านกาแฟสด หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ มาตรการคัดกรองอาการป่วย มาตรการในการป้องกันโรค และมาตรการการทำความสะอาด</p>
2025-04-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ช่อดอกปีบปริทัศน์
https://so18.tci-thaijo.org/index.php/chorparitas/article/view/768
การพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน
2024-12-10T12:38:22+07:00
ชุดา วิมุกตายน
chuda.wimuk@gmail.com
<p>ประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ปัจจุบันการท่องเที่ยวแบบเดิมที่มุ่งเน้นปริมาณโดยไม่คำนึงถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีอยู่ ก่อให้เกิดปัญหาสังคม ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของคนในชุมชน สวนกระแสการท่องเที่ยวโลกที่ก้าวไปสู่การท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่าและยั่งยืน บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่าหากรัฐต้องการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนก็ต้องสร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ กับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิต ความสุขของคนในชุมชน นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน</p>
2025-04-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 ช่อดอกปีบปริทัศน์