วารสารครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru <p>วารสารครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ เป็นวารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการที่ครอบคลุมสาขาวิชาทางการศึกษา ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเป็นบทความวิชาการและบทความวิจัย มีกำหนดการตีพิมพ์ราย 4 เดือน (จัดพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี)</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ </p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง</p> sirikanlaya.s@sskru.ac.th (ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.สิริกัลยา สุขขี) edujournal@sskru.ac.th (นางรัศมี ทองเกิด) Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การออกแบบพื้นที่และกิจกรรมนันทนาการเพื่อความหลากหลายทางเพศ : บทเรียนจากประเทศที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/912 <p>ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกได้ยกระดับประเด็นความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) สู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย โดยเฉพาะการใช้พื้นที่และกิจกรรมนันทนาการเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมความเสมอภาค ลดอคติ และสร้างสุขภาวะทางสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งแม้ประเทศไทยจะประกาศใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมในปี พ.ศ. 2568 อันเป็นหมุดหมายที่สำคัญด้านสิทธิมนุษยชน แต่การแปลงนโยบายดังกล่าวไปสู่การจัดการพื้นที่และกิจกรรมนันทนาการที่ตอบสนองต่ออัตลักษณ์ที่หลากหลายในบริบทไทยยังคงมีข้อจำกัด ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทของพื้นที่และกิจกรรมนันทนาการภายใต้บริบทกฎหมายสมรสเท่าเทียม สังเคราะห์บทเรียนจากต่างประเทศที่ ประสบความสำเร็จ วิเคราะห์สถานการณ์ของประเทศไทยทั้งในแง่ของความพร้อมและข้อจำกัด และเสนอแนวทาง เชิงปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารและกรณีศึกษาเปรียบเทียบจากประเทศที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่และกิจกรรมนันทนาการสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกทางสังคมที่ทรงพลัง ในการขับเคลื่อนความเท่าเทียมได้ หากได้รับการออกแบบและพัฒนาบนฐานของสิทธิ ความปลอดภัย และการมีส่วนร่วมของชุมชน LGBTQ+ อย่างแท้จริง อีกทั้งพบว่าประเทศไทยมีข้อจำกัดทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณ บุคลากร และทัศนคติทางวัฒนธรรมที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างรอบด้าน โดยผู้เขียนได้เสนอแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ 5 ประการ ได้แก่ 1) การพัฒนาพื้นที่นันทนาการที่เป็นมิตรต่อทุกเพศ 2) การส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างการยอมรับในระดับชุมชน 3) การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วน 4) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มการเข้าถึง และ 5) การบูรณาการกับการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งนี้ การดำเนินงานควรถูกร้อยเรียงเข้ากับแผนแม่บทสิทธิมนุษยชน ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสร้างระบบนันทนาการที่ตอบสนองต่อความหลากหลาย และเป็นรากฐานของสังคมไทยที่เคารพศักดิ์ศรีของทุกอัตลักษณ์อย่างแท้จริง</p> เตชภณ ทองเติม Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/912 Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความใฝ่เรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/932 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3. ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความใฝ่เรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา ปีการศึกษา 2567 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความใฝ่เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบรายคู่</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ในระดับดี มากที่สุดจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 รองลงมาเป็นระดับพอใช้ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 34.29 และระดับดีมาก จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.71 ตามลำดับ และนักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> วรินธร แก้วอุดม, ยุภาดี ปณะราช Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/932 Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700 ทักษะทางวิชาชีพที่มีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของ ฝ่ายการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/987 <p>งานศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะทางวิชาชีพที่มีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของบุคลากรฝ่ายการเงินในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาชีพของบุคลากรฝ่ายการเงิน วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเพื่อพัฒนาคุณภาพในการรายงานทางการเงินของบุคคลากรฝ่ายการเงิน วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยเก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรฝ่ายการเงินและบัญชี ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด จำนวน 71 คน และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ทักษะด้านปัญญามีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของฝ่ายการเงิน ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ไม่มีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของฝ่ายการเงิน ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทักษะด้านการจัดการบุคคลมีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของฝ่ายการเงินในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และทักษะด้านการจัดการองค์กร ไม่มีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของฝ่ายการเงิน ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสรุปแล้วปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน คือ ทักษะด้านปัญญา และทักษะด้านการจัดการบุคคล</p> จิดาภา ทับทิม Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/987 Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาโซเชียลคอมเมิร์ซเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับวิสาหกิจชุมชน บ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/911 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการในปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการใช้งานโซเชียลคอมเมิร์ซสำหรับวิสาหกิจชุมชน และเพื่อศึกษาแนวทางในการปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาดออนไลน์ในโซเชียลคอมเมิร์ซสำหรับวิสาหกิจชุมชนได้อย่างเหมาะสม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากสมาชิกวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมืองฯฯ จังหวัดนนทบุรี โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ทำการวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย โดยนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย และแสดงข้อมูลทางสถิติวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลในเดือนกันยายน 2567</p> <p>ผลการวิจัยเรื่องการพัฒนาโซเชียลคอมเมิร์ซเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี มีดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ ประกอบไปด้วย กรรมการบริหารวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี จำนวน 6 คน และสมาชิกวิสาหกิจชุมชน บ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี จำนวน 4 คน รวม 10 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 10 คน ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 7 ปี 2) รูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ พบว่า ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่หลากหลายจากผลการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 รูปแบบการตลาดแบบเดิม พบว่า ไลน์กลุ่มถือได้รับความนิยมในการทำการตลาดแบบเดิม และติดต่อสื่อสารกับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ มากที่สุด ร้อยละ 80 ส่วนที่ 2 ความต้องการพัฒนาการตลาดแบบใหม่ พบว่า ติกตอก ได้รับความนิยมมากที่สุด ร้อยละ 80 ส่วนที่ 3 สื่อมัลติมีเดียที่ต้องการนำเสนอตลาดเนื้อหา พบว่า สื่อมัลติมีเดียที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ สื่อภาพ ร้อยละ 80 ส่วนที่ 4 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่ต้องการนำเสนอทุนทางวัฒนธรรม พบว่า ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่ต้องการนำเสนอทุนทางวัฒนธรรมมากที่สุด คือ แหนมหมู ร้อยละ 70 3) การปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ ได้แก่ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ยูทูบ และ ติกตอก 4) การปรับกลยุทธ์การตลาดออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชน โดยกำหนดแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ในแต่ละทางเลือกโดยใช้การวิเคราะห์ TOWS Matrix ออกมาเป็น 2 กลยุทธ์ ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 กลยุทธ์ภาพลักษณ์ตราผลิตภัณฑ์เพื่อประชาสัมพันธ์ และการโฆษณาในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ และกลยุทธ์ที่ 2 กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ลูกค้าใน สื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจชุมชนยุคดิจิทัล</p> นุจรี บุรีรัตน์, นฤศร มังกรศิลา Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/911 Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาเกี่ยวกับการออกแบบ เพื่อธุรกิจในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/969 <p>การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อธุรกิจในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นงานวิจัยเชิงเปรียบเทียบที่มีลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (R&amp;D) โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงระบบจากการรวบรวมข้อมูลหลักสูตรจริง เพื่อนำผลการเปรียบเทียบไปสังเคราะห์เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงเปรียบเทียบจากหลักสูตรที่เลือกมาอย่างมีหลักเกณฑ์ ครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร รูปแบบโครงสร้างหลักสูตร ข้อมูลรายวิชา การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลหลักสูตร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ในแต่ละด้านมีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์เฉพาะของแต่ละหลักสูตร โดยด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความแตกต่างตามเป้าหมายของสถาบัน มุ่งเน้นการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาผู้ประกอบการ และการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจ ด้านโครงสร้างหลักสูตรแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของแผนการเรียน เช่น แผน ก แบบ ก2 และแผน ข ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาทางวิชาการ ด้านรายวิชาและการเรียนการสอนมีการจัดกลุ่มวิชาตามความจำเป็นของตลาดแรงงาน และมีการใช้วิธีการเรียนการสอนหลากหลายที่สอดคล้องกับแต่ละสาขาวิชา ด้านการประเมินผลหลักสูตรมีความคล้ายคลึงกัน โดยมุ่งเน้นการประเมินจากประสบการณ์จริงและการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรในอนาคตอย่างมีทิศทาง</p> ยลรวี ฉัตรศิริเวช Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/969 Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700