ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
หลักฆราวาสธรรม, ความเป็นพลเมือง, ประชาธิปไตยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 3) เพื่อนำเสนอความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิง
ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี พบว่า หลักฆราวาสธรรม 4 มี 3 ด้านที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับตามสมการดังนี้ 1) ด้านทมะ การฝึกฝน 2) ด้านสัจจะ ซื่อสัตย์ 3) ด้านจาคะ ความเสียสละ 3.นำเสนอความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม ควรมีการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในระบอบประชาธิปไตยควรยึดหลักฆราวาสธรรม 4 ได้แก่ ด้านสัจจะ ซื่อสัตย์ พบว่า ความซื่อสัตย์ที่ยึดความเสมอภาคและความรับผิดชอบ ด้านทมะ การฝึกฝน พบว่า การฝึกฝนคุณธรรมด้วยการมีส่วนร่วมทางการเมืองและเคารพกฎหมาย ด้านขันติ ความอดทน พบว่า ความอดทนต่อความหลากหลายเพื่อสร้างความยุติธรรม และด้านจาคะ ความเสียสละ พบว่า ความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติ และการทำงานเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับคนรุ่นหลัง
References
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic education). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
พระชาณรงค์ โชติธมฺโม (ประเสริฐศรี). (2566). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). หลักฆราวาสธรรม 4 ประการ. สืบค้น 24 พฤษภาคม 2568, จาก https://pws.npru.ac.th/praepat/system/20220706084951_e17e64bb2221675c17edf8d8ef87a757.pdf.
พระครูบรรพตภาวนาวิธาน (มนินท์ จนฺทโก). (2566). การพัฒนาพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนา ของประชาชนอำเภอเมืองนครนายก (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานิพนธ์ วีรพโล (ทบแก้ว). (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดระยอง (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สมชาย แสงดาว. (2566). การส่งเสริมจริยธรรมตามหลักฆราวาสธรรมของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3 (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Almond, G. A., & Verba, S. (1963). The civic culture: Political attitudes and democracy in five nations. Princeton University Press.
Marshall, T. H. (1950). Citizenship and social class. Cambridge University Press.