ปัญหาและวิธีการจัดการเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
ปัญหา, เศรษฐกิจ, ชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
จากปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้เรื่องที่ประชาชนมีความกังวลมากที่สุด 3 อันดับแรก พบว่า เป็นปัญหาภาระค่าครองชีพสูง รายได้ไม่เพียงพอ และปัญหายาเสพติด สอดคล้องกับผลสำรวจความต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐให้ช่วยเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวเช่นเดียวกันที่ผ่านมาการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนใต้มีหลายโครงการและยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจัดทำเครื่องชี้วัดดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นประจำทุกไตรมาสจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายที่จะใช้แก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม และสามารถใช้ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับคนที่ตกงานทั้งคนในพื้นที่และคนที่เดินทางกลับถิ่นฐาน ให้ความสำคัญกับปัญหาสินค้าเกษตรเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ร้านอาหารหรือกิจการโรงแรมที่พักต่างๆ มีผู้ใช้บริการจำนวนไม่มากส่งผลให้ความต้องการผลผลิตสินค้าเกษตรยังไม่มากพอที่จะทำให้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้นในระดับที่คาดหวังได้จึงได้มีความพยายามแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งได้ประสานกับกระทรวงพาณิชย์ร่วมกันหาตลาดรองรับสินค้าเหล่านี้เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรด้วย สำหรับในปี 2566 การเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิต การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจน ซึ่งการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่น และการสอบถามปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของประชาชนให้ตรงจุดและต่อยอดมากยิ่งขึ้นให้เกิดเป็นกิจกรรมพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม
References
ชลิตา บัณฑุวงศ์. (2560). “เศรษฐกิจและการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้:การสำรวจเชิงวิพากษ์.”ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อนุวัต สงสม. (2552). “เศรษฐกิจของภาคครัวเรือนจังหวัดปัตตานีภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้.”วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
ณัทกาญจน์ เอกอุรุ และคณะ. (2556). “ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับสภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้.”ฝ่านโยบายข้ามชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
โซร์ฟีนา เด่นสุมิตร. (2556). “ผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงที่มีต่อการผลิตยางแผ่นดิบ: กรณีศึกษาของจังหวัดยะลาประเทศไทย.”สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
เกื้อ ฤทธิบูรณ์. (2555). “แนวทางการพัฒนาการจัดการประมงชายฝั่งโดยองค์กรท้องถิ่นจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส.”ปัญหาชายแดนใต้มองผ่านงานวิจัยของ ม.อ. หนังสือชุดความรู้ ม.อ. เล่มที่ 2/2555. สำนักวิจัยและพัฒนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อารี จำปากลาย และ รศรินทร์ เกรย์. (2550). “การเปลี่ยนแปลงทาง ประชากร ครอบครัวและสถานะทางเศรษฐกิจสังคมของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้.” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
วิทวัส ช้างศร. (2553). การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ หลังเหตุความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 –พ.ศ. 2554 ศึกษากรณี หมู่ 4 ตำบลลำพระยา อำเภอเมืองจังหวัดยะลา. สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และคณะ. (2555). “รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการสถานะและการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกในเขตอำเภอเมืองจังหวัดปัตตานียะลา และนราธิวาส.” ชุดโครงการวิจัย “มาเลเซีย: นัยที่สำคัญต่อไทย.” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
ฮามีดะห์ มาสาระกามา. (2555). “สถานภาพและการปรับตัวของสตรีมุสลิมหม้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา: สตรีมุสลิมหม้ายในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา”ชุดโครงการวิจัย “มาเลเซีย: นัยที่สำคัญต่อไทย.” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี และคณะ. (2555). “เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในท่ามกลาง 8 ปีของความรุนแรง.”สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้. http://www.deepsouthwatch.org/node/2871.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ. (2555). “การศึกษานโยบาย มาตรการ และแนวทางการแก้ปัญหาความไม่สงบ และการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้.”ปัญหาชายแดนใต้มองผ่านงานวิจัยของ ม.อ. หนังสือชุดความรู้ ม.อ. เล่มที่ 2/2555. สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สันติ สมาเฮาะ และคณะ. ม.ป.ป. “การเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ระบบการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย และศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการค้าปลากระพงเบื้องต้นด้วยกระบวนการกลุ่ม กรณีการค้าปลากระพงตำบลหนองแรด อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี.” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค.
จุรีรัตน์ บัวแก้ว และคณะ. (2549). “การจัดฐานข้อมูลและข้อเสนอยุทธศาสตร์เบื้องต้นในการพัฒนากลุ่มผลิตผ้าคลุมผมสตรีและกลุ่มกปิเยาะห์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้:รายงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์.” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) สำนักงานภาค.
พรพันธุ์ เขมคุณาศัย. (2555). “รายงานวิจัยความสัมพันธ์ของคนชายแดนผ่านเครือข่ายการค้าข้าวข้ามรัฐ: ชุมชนนูโร๊ะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส.” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
พจนุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชันส์; 2546.
Kris Piroj. (2019). เศรษฐกิจ คืออะไร? ความหมายของเศรษฐกิจสืบค้น 13 เมษายน 2567, จาก https://greedisgoods.com
Bundhuwong, Chalita. (2013). “Economic Life of Malay Muslims in SouthernmostThailand amidst Ecological Changes and Unrest.” PhD Dissertation inAnthropology. University of Hawaii at Manoa.