การตายตามหลักมรณสติในพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระครูใบฎีกานพรัตน์ อนาวิโล นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การตาย, มรณสติ, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การตายตามหลักมรณสติในพระพุทธศาสนา โดยการพิจารณามรณสติเป็นวิธีพิจารณาให้เห็นความจริงในชีวิตทั้ง 5 ประการนี้ คือ ความแก่ ความเจ็บ ความชรา ความตายความพลัดพราก และมีกรรมเป็นเครื่องกำหนดชีวิตของคน และสัตว์ ย่อมมีกับทุกชีวิต การปฏิบัติมรณสติเป็นประโยชน์ในการพัฒนาจิต คือการไม่หลงตาย คนทั่วไปเมื่อนาทีสุดท้ายของชีวิตมาถึง มักสูญเสียการควบคุมตัวเอง เมื่อสูญเสียการควบคุมตัวเองก็จึงดับจิตไปโดยขาดสติหรือโดยภาวะจิตที่เศร้าหมอง ทุรนทุราย เป็นทุกข์ มีห่วงกังวลปนไปกับจิตดวงสุดท้าย จิตที่ดับไปโดยขาดสตินั้นไม่อาจรับประกันภพใหม่ได้ว่า จะไปบังเกิดในสุคติภพ การเผชิญความตายตามหลักมรณสตินั้นถือว่าได้เตรียมตัวก่อนตาย คือ เอาสติน้อมระลึกถึงความตายอันมีแก่ตนและคนอื่น ให้ตั้งมั่นอยู่กับคุณความดี ให้ดำรงชีวิตด้วยสติปัญญา ซึ่งเป็นจิตใจที่มีพลังดับความเร่าร้อนหวาดกลัวนานาประการได้ จิตใจที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสฝ่ายต่ำ ย่อมเป็นจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์หลุดพ้นจากบ่วงหมู่มาร สามารถดับกิเลสได้ มีสติรู้เท่าทัน ไม่หวาดหวั่นต่อความตายอย่างสงบ ทำให้มีความสุขในชีวิตประจำวันได้

References

คณะกรรมการแผนกตำรามหามกุฎราชวิทยาลัย. (2541).พระธัมมปทัฏฐกถา แปลภาค 1.พิมพ์ครั้งที่ 17.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

________. (2537). พระธัมมปทัฏฐกถา แปลภาค 4. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

จิตติ ติงศภัทิย์. (2530). กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระธรรมธีรราชมหามุนี. (2539).อุดมวิชา.พิมพ์ครั้งที่๔.กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2511). มหามกุฏราชานุสสรณีย์. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏ ราชวิทยาลัย, 2511.

พุทธทาส ภิกขุ. (2549). พจนานุกรมพุทธทาสพร้อมคาอธิบายขยายศัพท์. เนื่องในมงคลกาล 100 ปีพุทธทาส พุทธศักราช 2449-2549.กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระสัทธัมมโชติกะธัมมาจริยะ. (2534).ปรมัตถโชติกะปริเฉทที่ 5.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ.

ภาณุ วังโส. (2549).การตายเอ๋ยเราเคยรู้จักเจ้ามาก่อน.กรุงเทพมหานคร: บริษัท โหลทองมาสเตอร์พริ้น จำกัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย.(2540). วิสุทธิมรรคแปลภาค2ตอน1, พิมพ์ครั้งที่8.กรุงเทพมหานคร:มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546).พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นานมีบุคส์ พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/15/2024