การบริหารจัดการด้านเงินบริจาคของวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระครูธรรมธร (สฐาพร ปภสฺสโร) วัดมหานาม จังหวัดอ่างทอง
  • พระนรินทร์ โชติปาโล วัดมหานาม จังหวัดอ่างทอง

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, เงินบริจาค, พระพุทธศาสนาเถรวาท

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการทรัพย์สินของพระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ที่ใช้ในการบริหารจัดการล้วนเกิดขึ้นจากเงินบริจาคของพุทธศาสนนิกชนแทบทั้งสิ้น ซึ่งเงินบริจาคที่ได้รับมานั้นมักเกิดขึ้นจากความศรัทธาและความเชื่อที่ว่าการบริจาคทานเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งที่สามารถนำทางให้ตนพบกับความสุขได้ในภายภาคหน้า ประกอบกับการทำบุญโดยการบริจาคเงินสามารถทำได้โดยง่ายและบังเกิดความสะดวก เนื่องจากประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพราะฉะนั้น เมื่อทรัพย์สินประเภทเงินบริจาคหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบการจัดเก็บ การรักษาที่ดี เพื่อให้ได้ยอดจำนวนของเงินบริจาคที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงมีความจำเป็นที่องค์กรทางศาสนาจะต้องมีรูปแบบการบริหารจัดการระบบเงินบริจาคที่ดีและมีประสิทธิภาพมากเพียงพอ

References

กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2556). เอกสารประกอบการบรรยายหลักกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตราฐานที่ ก.ศป. รับรอง รุ่นที่ 4 เรื่องหลักกฎหมายว่าด้วยบุคคลและนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางปกครองและวิทยาลัยการยุติธรรมทางปกครอง.

จิตติ วราพุธ. (2551). การพัฒนาระบบสารสนเทศเงินบริจาคและกองทุนแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณดา จันทร์สม. (2555). การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์. (2552). พระสงฆ์กับทรัพย์สินส่วนตัว. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริจาคเงินของพุทธศาสนิกชนวัดปากน้ำในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระเกียรติพงษ์ มณีวรรณ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริจาคเงินทำบุญในวัดบ้านมอญ (ต้นโพธิ์แฝด) ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. (สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). กรณีธรรมกาย (ฉบับเพิ่มเติม-จัดลำดับใหม่). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ภิรมย์ จั่นถาวร. (2544). ยุทธศาสตร์การจัดการการเงินของวัด. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานิตย์ จุมปา. (2551). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์สิน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรืองฤทธิ์ ประสันรักษ์. (2539). รายรับ รายจ่ายของวัดในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วไลลัคน์ เวชนุเคราะห์. (2534). ระบบการเงินของสงฆ์. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์

ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วศิน อินทสระ. (2544). สิ่งที่ควรทำความเข้าใจกันใหม่เพื่อความถูกต้อง. กรุงเทพฯ: กรุงธนพัฒนา.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). คู่มือไวยาวัจกร. (พิมพ์ครั้งที่ ๘). กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อุทิศ จึงนิพนธ์สกุล. (2528). วิวัฒนาการเศรษฐกิจวัดไทย. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/24/2024