วารสารชัยมงคลปริทรรศน์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm <p style="font-weight: 400;"><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /></strong></p> <p><strong>เลขมาตรฐานสากล:</strong></p> <p>ISSN 3027-8848 (Online)</p> <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /></strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร:</strong></p> <p>วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงที่มีการประยุกต์พระพุทธศาสนากับศาสตร์ทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และการจัดการ</p> <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /><br />ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร:</strong></p> <p>วารสารรับตีพิมพ์บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือ</p> <p><strong>-บทความวิชาการ</strong> คือ บทความที่นำเสนอบทวิเคราะห์ วิจารณ์ รวมถึงการรวบรวมความรู้ ระบุถึงภูมิหลัง วัตถุประสงค์ และแนวทางการแก้ปัญหาที่บ่งชี้ถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ บทความจะต้องนำเสนอทฤษฎีที่มีอยู่หรือทฤษฎีใหม่ที่อ้างอิงความเห็นจากนักวิชาการที่มีความน่าเชื่อถือ มีความเป็นกลาง และมีส่วนช่วยในการพัฒนาความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และการจัดการ และหรือประยุกต์กับพระพุทธศาสนา จำนวนคำเฉลี่ยในบทความวิชาการต้องไม่เกิน 8,000 คำ</p> <p><strong>-บทความวิจัย</strong> คือ บทความที่นำเสนองานวิจัยที่แสดงถึงความคิดริเริ่มและเกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และการจัดการ และหรือประยุกต์กับพระพุทธศาสนา บทความวิจัยต้องมีเนื้อหาที่ชัดเจน กระชับ มีความแปลกใหม่ มีโครงสร้างที่ดี รวมถึงการอภิปรายผลงานวิจัยโดยสรุป จำนวนคำเฉลี่ยในบทความวิจัย ไม่เกิน 8,000 คำ</p> <p><strong>-บทวิจารณ์หนังสือ</strong> คือ การเขียนเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งโดยเจตนาจะแนะนำหนังสือเล่มนั้นให้ผู้อ่านรู้จัก โดยให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสืออย่างสมบูรณ์ รวมถึงประเภทของหนังสือ ให้ขอบเขตเนื้อหา คุณลักษณะพิเศษหรือข้อเด่นของหนังสือ เช่น ภาพประกอบ ดรรชนี มีการประเมินคุณค่า แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลว่ามีค่าควรอ่านหรือควรจัดหา เหมาะกับผู้อ่านกลุ่มใด มีการเปรียบเทียบกับหนังสือเล่มอื่นในประเภทเดียวกัน ผู้วิจารณ์ควรมีความรู้ในสาขาที่วิจารณ์ ควรระบุชื่อหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้วิจารณ์ เพื่อใช้พิจารณาความน่าเชื่อถือของบทวิจารณ์</p> <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /></strong></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ</strong></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</p> <p>ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /></strong></p> <p><strong>การพิจารณาและคัดเลือกบทความ:</strong></p> <p>บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จำนวนไม่น้อยกว่า 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double – Blind Peer Review)</p> <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /></strong></p> <p><strong>การใช้ภาษา:</strong></p> <p>วารสารเปิดรับบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมุ่งเน้นให้บทความมีการใช้ภาษาที่ให้ความหมายที่ชัดเจนและมีความกระชับรัดกุม</p> <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /></strong></p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์:</strong></p> <p>วารสารมีนโยบายในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ หลังจาก accepted (ยอมรับการตีพิมพ์แล้วเท่านั้น เก็บเพียงครั้งเดียว) ทั้งนี้ทางวารสารจะดำเนินการออกใบเสร็จรับเงินกับทางมหาวิทยาลัยให้แก่ผู้ส่งบทความทุกบทความ โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมดังนี้</p> <p> -บทความวิชาการหรือบทวิจารณ์หนังสือ จำนวน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ</p> <p> -บทความวิจัย จำนวน 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ</p> <p>กรุณาชำระค่าธรรมเนียม หลังจากได้รับอีเมลให้ชำระเงินจากวารสารแล้วเท่านั้น วารสารจะไม่คืนค่าธรรมเนียมให้ทุกกรณี</p> <p> </p> <p> </p> มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี th-TH วารสารชัยมงคลปริทรรศน์ 3027-8848 การพัฒนาศักยภาพพระสังฆาธิการเพื่อการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/1282 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาศักยภาพ (2) เปรียบเทียบ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และ ข้อเสนอแนะที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพพระสังฆาธิการเพื่อการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีประชากร คือ พระสังฆาธิการในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร จำนวน 196 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพการพัฒนาศักยภาพพระสังฆาธิการเพื่อการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอทับคล้อ จังหวัด พิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.42, S.D.= 0.43)</li> <li>บุคลากรที่มีเพศ พรรษา มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างไม่มีในสำคัญทางสถิติ จึงปฏิเสธ สมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาศักยภาพพระสังฆาธิการ เพื่อการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตรจังหวัดพิจิตรไม่แตกต่างกัน</li> <li>ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพพระสังฆาธิการเพื่อการปกครอง คณะสงฆ์ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ด้านการฝึกอบรม พระสงฆ์มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ด้าน ศีล สมาธิ ปัญญา และคุณงามความดีแก่เด็กเยาวชนด้านการศึกษา คณะสงฆ์มีการประเมินผลความรู้ ความสามารถของพระสังฆาธิการแต่ละตำแหน่งทุกปี ด้านการพัฒนาคณะสงฆ์ส่งเสริมและสนับสนุนให้พระภิกษุมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการอำนวยความสะดวกแก่บุคคลทั่วไปที่มาใช้บริการวัด</li> </ol> พระครูพิริยสาธุกิจ (เดือน ญาณวีโร) พระครูวิโชติสิกขกิจ (ณรงค์ กิตฺติธโร) พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ) Copyright (c) 2025 2025-06-30 2025-06-30 5 1 1 9 ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพระอุปัชฌาย์ ในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/1283 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพระอุปัชฌาย์ในอำเภอทับคล้อ&nbsp; จังหวัดพิจิตร&nbsp; ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ แจกแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ 212 รูป แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบ ค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1.ความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพระอุปัชฌาย์ในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.45 S.D.=1.781)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2.ผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระสงฆ์ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาแผนกธรรม และวุฒิการศึกษาแผนกบาลี ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพระอุปัชฌาย์ในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตรไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; 3.แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพระอุปัชฌาย์ในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร พบว่า ด้านคุณสมบัติ ในการอบรมให้ความรู้แก่พระอุปัชฌาย์ในเรื่องของคุณสมบัติของพระอุปัชฌาย์ ด้านการปกครอง หลักของอธิกรณ์สมถะเป็นเพียงเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาหรือความขัดแย้งในสังคมอย่างประสานกลมกลืนให้เกิดความสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น ด้านการให้ความสงเคราะห์ การสนับสนุนทางด้านการศึกษาแก่สัทธิวิหาริกโดยยึดเป้าหมายหลักไว้ 2 ประการคือ 1. เพื่อการบรรลุคุณธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนา 2. เพื่อให้สัทธิวิหาริกได้ช่วยกันรักษาและสืบสานอายุพระศาสนา ด้านการให้พยาบาล ในการอบรมให้ความรู้เพื่อเป็นแนวทางแก่พระอุปัชฌาย์</p> พระมหาอำพร อิทฺธิญาโณ พระครูอุทัยกิจจารักษ์ (สุรางค์ สุจิณฺโณ) นิกร ศรีราช Copyright (c) 2025 2025-06-30 2025-06-30 5 1 10 18 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/1284 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 3) เพื่อนำเสนอความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิง</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี พบว่า หลักฆราวาสธรรม 4 มี 3 ด้านที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับตามสมการดังนี้ 1) ด้านทมะ การฝึกฝน 2) ด้านสัจจะ ซื่อสัตย์ 3) ด้านจาคะ ความเสียสละ 3.นำเสนอความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม ควรมีการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในระบอบประชาธิปไตยควรยึดหลักฆราวาสธรรม 4 ได้แก่ ด้านสัจจะ ซื่อสัตย์ พบว่า ความซื่อสัตย์ที่ยึดความเสมอภาคและความรับผิดชอบ ด้านทมะ การฝึกฝน พบว่า การฝึกฝนคุณธรรมด้วยการมีส่วนร่วมทางการเมืองและเคารพกฎหมาย ด้านขันติ ความอดทน พบว่า ความอดทนต่อความหลากหลายเพื่อสร้างความยุติธรรม และด้านจาคะ ความเสียสละ พบว่า ความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติ และการทำงานเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับคนรุ่นหลัง</p> ธีรภัทร หยวกจุ้ย สมชาย ชูเมือง Copyright (c) 2025 2025-06-30 2025-06-30 5 1 19 30 การปลูกฝังคุณธรรมแก่เยาวชนไทย ผ่านการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยมี“7 กิจวัตรความดี”เป็นพื้นฐาน https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/1285 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา การปลูกฝังคุณธรรมแก่เยาวชนไทย ผ่านการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยมี“7 กิจวัตรความดี”เป็นพื้นฐาน จากการวิเคราะห์เอกสาร หนังสือ ตำราและ เว็ปไซค์ ผลการศึกษาพบว่า 1.โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 มีการขับเคลื่อนโดยองค์กรคณะสงฆ์ร่วมกับหน่วยงานราชการและชุมชนและเอกชนเป็นการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพทำให้ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่สำคัญ คือ ประชาชนหรือเยาวชนที่นำหลักธรรมทางพุทธศาสนาไปปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาศีล 5 ที่เกิดประโยชน์ทำให้สังคมน่าอยู่ไม่เกิดการคิดร้ายทำร้ายได้พูดจาที่ดีต่อกันทำให้ประชาชนอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข 2. 7 กิจวัตรความดีที่เป็นการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 นั้น เป็นการสร้างอุปนิสัยที่มีความรับผิดชอบและสร้างความดีด้วยตนเองเป็นการพึ่งตนเอง ไม่ทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาศีล 5 การสวดมนต์นั่งสมาธิการจัดเก็บห้องนอนห้องน้ำห้องครัวให้สะอาดเป็นระเบียบ การคิดดี พูดดี ทำดีและการทำกิจกรรมความสุขจริงหนออย่างน้อยทำความดีได้ 1 อย่างต่อวันทำให้เยาวชนมีความรับผิดชอบรู้จักหน้าที่ของตนเองและไม่ทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่นจึงทำให้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่เยาวชนแก่สังคมได้แก่ประเทศชาติได้</p> พระธีรวัชร์ มุตฺตจิตฺโต พระใบฎีกามงคล ปญฺญาทีโป Copyright (c) 2025 2025-06-30 2025-06-30 5 1 31 44 การพัฒนาทุนมนุษย์ทางพระพุทธศาสนา : โอกาสทางการศึกษาของสามเณร ในประเทศไทยในยุคดิจิทัล https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/1286 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา การพัฒนาทุนมนุษย์ทางพระพุทธศาสนา โอกาสทางการศึกษาของสามเณรในประเทศไทยในยุคดิจิทัล ผลจากการศึกษาพบว่า การบรรพชาเป็นสามเณรเป็นกระบวนการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางศาสนาให้พร้อมทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ เพื่อทำหน้าที่ศาสนทายาทที่ดี เป็นหลักพึ่งพิงของพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง จึงกล่าวได้ว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการบรรพชาเป็นสามเณร คล้ายกับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ คือเตรียมตัวเป็นศาสนทายาทในอนาคต และเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เป็นไปเพื่อบรรเทากิเลสให้เบาบาง ดำเนินชีวิตอย่างสงบ เพื่อไปสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามนัยทางพระพุทธศาสนาคือพระนิพพาน ส่วนการศึกษาที่เปิดโอกาสให้สามเณรได้ศึกษาเรียกว่าพระปริยัติธรรม โดยมุ่งเน้นวิชาการในด้านพุทธศาสนาเป็นหลัก ปัจจุบันแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 3 ส่วน คือ แผนกสามัญ แผนกธรรม และแผนกบาลี โดย 1.การศึกษาในแผนกสามัญศึกษา เป็นการเรียนในสาขาวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาเช่นเดียวกับโรงเรียนสามัญทั่วไป ปัจจุบันนี้ยังมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ ที่เปิดโอกาสให้เรียนทางพระพุทธศาสนาและวิชาการที่เป็นการศึกษาสามัญ 2.การศึกษาแผนกธรรม โดยมีการศึกษา 3 ระดับ คือ นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก 3.ส่วนการศึกษาแผนกบาลี เป็น การศึกษาพระปริยัติธรรมจากพระไตรปิฎก ซึ่งเขียนเป็นภาษาบาลี โดยแบ่งเป็น ประโยค 1-2 ถึง ประโยค ป.ธ.9</p> พระธนญชัย กนฺตปญฺโญ Copyright (c) 2025 2025-06-30 2025-06-30 5 1 45 54 พระพุทธศาสนานิกายมหายานในแถบเอเชีย https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/1287 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;พระพุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นพระพุทธศาสนานิกายหนึ่ง ที่ได้รับการนับถืออย่างมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออกโดยถือกำเนิดขึ้นในประเทศอินเดียราว พุทธศตวรรษที่ 5-7 ก่อกำเนิดขึ้นจากการรวมหลักอภิปรัชญาของนิกายย่อย 18 นิกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติที่มีการแพร่หลาย คือ อินเดีย เนปาล ภูฏาน เป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาสายมหายานมีวิธีการปฏิบัติและทัศนคติที่แตกต่างจากคณะสงฆ์เถรวาทมีจุดกำเนิดจากประเทศอินเดียหลังสมัยพุทธกาลได้มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแถบเอเชียในหลาย ๆ ประเทศไม่ว่าจะเป็นเนปาล ทิเบต ภูฏาน ซึ่งสามารถได้ว่าการศึกษาพระพุทธศาสนาในมหายานมีการบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์และมีวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปในหลาย ๆ ฝ่ายและมีการบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าหรือเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อปลดเปลื้องตนออกจากทุกข์</p> พระใบฎีกามงคล ปญฺญาทีโป พระธีรวัชร์ มุตฺตจิตฺโต Copyright (c) 2025 2025-06-30 2025-06-30 5 1 55 68 พระสงฆ์กับการส่งเสริมศรัทธาแก่ประชาชนในยุคดิจิทัล https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/1288 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา พระสงฆ์กับการส่งเสริมศรัทธาแก่ประชาชนในยุคดิจิทัล โดยศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย เว็ปไซต์ และการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1.ศรัทธา คือ ความเชื่อในพระรัตรตรัยประกอบด้วย พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อันเป็นส่วนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็นความเชื่อที่ใช้หลักเหตุและผลในการอธิบายความเชื่อไม่ให้หลงงมงาย โดยใช้ปัญญาในการพิจารณาอยู่เสมอ 2.ในยุคดิจิทัลการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยพระสงฆ์จึงจำเป็นจะต้องปรับตัวและสร้างศรัทธาให้แก่ประชาชนด้วยการนำหลักคำสอนทางพุทธศาสนามาอธิบายและชี้นำประชาชนให้เข้าใจในหลักการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องถูกหลักที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้จึงจะสามารถสร้างศรัทธาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ประชาชนในยุคปัจจุบันได้ 3.พระสงฆ์กับการส่งเสริมศรัทธาแก่ประชาชนในยุคดิจิทัล จึงจำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมทั้งฝ่ายวัดบ้านและโรงเรียน คือ มีการที่จะคิดพัฒนาช่วยเหลืออาศัยซึ่งกันและกัน ประชาชนเป็นผู้ที่จะช่วยสนับสนุนในเรื่องของอาหารในเรื่องของปัจจัย 4 ถวายพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นผู้ชี้นำทางที่ดีทางหลักคำสอนพุทธศาสนา จึงจำเป็นจะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน</p> พระปิยะ ฐิตปญฺโญ Copyright (c) 2025 2025-06-30 2025-06-30 5 1 69 80 อิทธิบาท 4 กับการพัฒนาอาชีพเกษตรกรชุมชน https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/1339 <p>บทความเรื่อง “อิทธิบาท 4 กับการพัฒนาอาชีพเกษตรกรชุมชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา คือ อิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีแนวทางการทำงานที่มีประสิทธิภาพและนำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมที่ช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจ ความเพียรพยายาม ความตั้งใจจริง และการไตร่ตรองปรับปรุง ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ</p> <p>ฉันทะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและความรักในอาชีพ ทำให้เกษตรกรมีความภาคภูมิใจและเต็มใจในการพัฒนาตนเอง ส่วนวิริยะช่วยเสริมความอดทน มุ่งมั่น แม้ต้องเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ภัยธรรมชาติหรือความผันผวนของราคาผลผลิต ขณะที่จิตตะส่งเสริมให้เกษตรกรมีความใส่ใจในทุกขั้นตอนของการทำงานตั้งแต่การวางแผน การดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยวและจัดจำหน่ายผลผลิต สุดท้าย วิมังสาช่วยให้เกษตรกรรู้จักการประเมินผล วิเคราะห์ข้อผิดพลาดและปรับปรุงวิธีการทำเกษตรอย่างเหมาะสม</p> <p>การน้อมนำหลักธรรม อิทธิบาท 4 มาเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาอาชีพของเกษตรกรชุมชน โดยเชื่อมโยงหลักธรรมกับแนวทางการปฏิบัติทางอาชีพ เพื่อสร้างควาเข้มแข็งทั้งด้านจิตใจ วิถีชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน อีกทั้งต้องใฝ่รู้ ใฝ่พัฒนา โดยเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้เกษตกรมีความรู้ ทักษะ และแนวคิดในการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน</p> พนมพร เมฆพัฒน์ พระครูวิรุฬห์ธรรมกิตต์ (ทวีศักดิ์ ธมฺมกิตฺติโก) จักรพันธ์ นะวะแก้ว Copyright (c) 2025 2025-06-30 2025-06-30 5 1 81 91