วารสารชัยมงคลปริทรรศน์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm <p style="font-weight: 400;"><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /></strong></p> <p><strong>เลขมาตรฐานสากล:</strong></p> <p>ISSN 3027-8848 (Online)</p> <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /></strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร:</strong></p> <p>วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงที่มีการประยุกต์พระพุทธศาสนากับศาสตร์ทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และการจัดการ</p> <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /><br />ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร:</strong></p> <p>วารสารรับตีพิมพ์บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือ</p> <p><strong>-บทความวิชาการ</strong> คือ บทความที่นำเสนอบทวิเคราะห์ วิจารณ์ รวมถึงการรวบรวมความรู้ ระบุถึงภูมิหลัง วัตถุประสงค์ และแนวทางการแก้ปัญหาที่บ่งชี้ถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ บทความจะต้องนำเสนอทฤษฎีที่มีอยู่หรือทฤษฎีใหม่ที่อ้างอิงความเห็นจากนักวิชาการที่มีความน่าเชื่อถือ มีความเป็นกลาง และมีส่วนช่วยในการพัฒนาความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และการจัดการ และหรือประยุกต์กับพระพุทธศาสนา จำนวนคำเฉลี่ยในบทความวิชาการต้องไม่เกิน 8,000 คำ</p> <p><strong>-บทความวิจัย</strong> คือ บทความที่นำเสนองานวิจัยที่แสดงถึงความคิดริเริ่มและเกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และการจัดการ และหรือประยุกต์กับพระพุทธศาสนา บทความวิจัยต้องมีเนื้อหาที่ชัดเจน กระชับ มีความแปลกใหม่ มีโครงสร้างที่ดี รวมถึงการอภิปรายผลงานวิจัยโดยสรุป จำนวนคำเฉลี่ยในบทความวิจัย ไม่เกิน 8,000 คำ</p> <p><strong>-บทวิจารณ์หนังสือ</strong> คือ การเขียนเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งโดยเจตนาจะแนะนำหนังสือเล่มนั้นให้ผู้อ่านรู้จัก โดยให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสืออย่างสมบูรณ์ รวมถึงประเภทของหนังสือ ให้ขอบเขตเนื้อหา คุณลักษณะพิเศษหรือข้อเด่นของหนังสือ เช่น ภาพประกอบ ดรรชนี มีการประเมินคุณค่า แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลว่ามีค่าควรอ่านหรือควรจัดหา เหมาะกับผู้อ่านกลุ่มใด มีการเปรียบเทียบกับหนังสือเล่มอื่นในประเภทเดียวกัน ผู้วิจารณ์ควรมีความรู้ในสาขาที่วิจารณ์ ควรระบุชื่อหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้วิจารณ์ เพื่อใช้พิจารณาความน่าเชื่อถือของบทวิจารณ์</p> <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /></strong></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ</strong></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</p> <p>ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /></strong></p> <p><strong>การพิจารณาและคัดเลือกบทความ:</strong></p> <p>บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จำนวนไม่น้อยกว่า 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double – Blind Peer Review)</p> <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /></strong></p> <p><strong>การใช้ภาษา:</strong></p> <p>วารสารเปิดรับบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมุ่งเน้นให้บทความมีการใช้ภาษาที่ให้ความหมายที่ชัดเจนและมีความกระชับรัดกุม</p> <p><strong><img src="https://so18.tci-thaijo.org/public/site/images/krisada/-2024-05-15-115655.png" alt="" width="30" height="18" /></strong></p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์:</strong></p> <p>วารสารมีนโยบายในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ หลังจาก accepted (ยอมรับการตีพิมพ์แล้วเท่านั้น เก็บเพียงครั้งเดียว) ทั้งนี้ทางวารสารจะดำเนินการออกใบเสร็จรับเงินกับทางมหาวิทยาลัยให้แก่ผู้ส่งบทความทุกบทความ โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมดังนี้</p> <p> -บทความวิชาการหรือบทวิจารณ์หนังสือ จำนวน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ</p> <p> -บทความวิจัย จำนวน 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ</p> <p>กรุณาชำระค่าธรรมเนียม หลังจากได้รับอีเมลให้ชำระเงินจากวารสารแล้วเท่านั้น วารสารจะไม่คืนค่าธรรมเนียมให้ทุกกรณี</p> <p> </p> <p> </p> th-TH ratchaburi.bu@mcu.ac.th (พระราชวชิรานุสิฐ) ratchaburi.bu@mcu.ac.th (ภัคสิริ แอนิหน) Tue, 24 Dec 2024 21:54:33 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การศึกษาจริยธรรมเชิงพุทธ ของผู้นำท้องถิ่น กรณีศึกษา การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/848 <p>บทความวิชาการนี้ มุ่งศึกษา การศึกษาจริยธรรมเชิงพุทธ ของผู้นำท้องถิ่น กรณีศึกษา การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ผลจากการศึกษาพบว่า&nbsp; ผู้นำท้องถิ่น หลังจาการได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องบริหารท้องถิ่นให้เป็นไปโดยความเรียบร้อยดีมีประสิทธิภาพสูง รับผิดชอบความซื่อสัตย์สุจริตมีเหตุผล สร้างความสามัคคี เมตตา กรุณา และมีความยุติธรรมรวมถึงความขยันที่จะสอดส่องดูแลประโยชน์ของชุมชนมากกว่าประโยชน์ส่วนตนตามหลักพุทธศาสนา จำเป็นต้องรู้กฎหมาย ขอบเขตของการบริหาร รู้ระบบการปกครองที่ชัดเจน และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ คุณธรรมจริยธรรม และมีลักษณะของธรรมาภิบาลคือหลักกฎหมายที่เป็นในระดับสากลและหลักธรรมที่นำมาใช้ในการปกครองท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วยความเมตตาคือปรารถนาให้ผู้อยู่ในชุมชนได้รับความสุขมีประโยชน์ด้วยทั่วหน้ากันคือได้รับผลประโยชน์ที่เท่าเทียม</p> <p>&nbsp;</p> พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) , เติมศักดิ์ ทองอินทร์, วัชรินทร์ ชาญศิลป์, สุมาลี บุญเรือง, อนุภูมิ โซวเกษม Copyright (c) 2024 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/848 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 วัฒนธรรมทางการเมืองกับความคาดหวังด้านเศรษฐกิจของประชาชนไทยในปี 2566 - 2567 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/851 <p>บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นศึกษา วัฒนธรรมทางการเมืองกับความคาดหวังด้านเศรษฐกิจของประชาชนไทยในปี 2566 – 2567 ผลการศึกษาพบว่า 1.วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นวัฒนธรรมการเมืองไทยเป็นแบบปลูกฝังให้เกิดมีความเป็นประชาธิปไตยแต่สิ่งตรงข้ามที่ได้รับคือมีความกดขี่กันพอสมควรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของนโยบายสาธารณะซึ่งประชาชนไม่มีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็นต้องเป็นผู้แทนราษฎรในการที่จะเป็นกระบอกเสียงให้แก่ประชาชนมีความยึดมั่นในความคิดเดิมคือไม่สามารถออกความคิดเห็นได้ 2.ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อภาครัฐ คือการเข้ามาเยียวยาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจซึ่งมีความย่ำแย่โดยภาพรวมอาจจะไม่เห็นภาพชัดแต่ถ้ามองถึงสภาพปัญหาในปัจจุบันนี้ข้าวของมีสภาพที่แพงมากเกินกว่าแรงงานขั้นต่ำ ความหวังที่เกี่ยวกับการเมืองที่ต้องการยกระดับสภาพเศรษฐกิจให้แก้ปัญหาวิกฤตปากท้องของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของปัจจัย 4 ที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน</p> พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) , พระครูวิโรจน์กาญจนเขต (นัทกฤต ทีปงฺกโร), บัณฑิต ป้านสวาท, ศรอนงค์ รัตนภรณ์, วิศิษย์ ศรีราชา Copyright (c) 2024 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/851 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเชิงพุทธเพื่อขับเคลื่อนองค์กร https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/852 <p>บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นศึกษา การจัดการเชิงพุทธเพื่อขับเคลื่อนองค์กร โดยการค้นคว้าจากตำรา หนังสือ เว็ปไซค์และการสังเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การบริหารจัดการที่เป็นทฤษฎีตะวันตกนั้นมีแม่แบบที่ชัดเจนเป็นทฤษฎีที่มีผลในระบอบที่ชัดเจนโดยแบ่งเป็นขั้นตอนแต่ละข้อๆไม่ว่าจะเป็นวงจรเดมมิ่งที่กล่าวถึงวงจรของการทำงานเรียงไปแต่ละข้อทั้งการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบและการปฏิบัติ เหล่านี้เป็นหลักที่นำมาบูรณาการกับหลักพุทธได้เป็นอย่างดี การบริหารเชิงพุทธแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ในส่วนของผู้นำซึ่งประกอบด้วยทุติยปาปณิกธรรม 1.จักขุมา มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 2. วิธูโร คือจัดการธุระได้ดีมีประสิทธิภาพสูง3.นิสสยสัมปันโน คือมีลักษณะมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีสามารถใช้วาจาที่โน้มน้าวให้ผู้อื่นทำงานได้ ในส่วนที่ 2 คือคุณธรรมสำหรับบุคลากรในองค์กร ได้แก่ สุจริต 3 ได้แก่ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ที่สามารถนำมาบูรณาการกับทฤษฎีตะวันตกได้เป็นไปตามข้อบทกฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรรวมถึงการทำให้ถูกจริยธรรมในความเป็นคนและทำให้การทำงานราบรื่นไม่เกิดการพิพาทแสดงทัศนคติที่ออกมาในเชิงบวกกับผู้ร่วมงานหรือองค์กร</p> พระปิยะ ฐิตปญฺโญ, พระธนญชัย กนฺตปญฺโญ Copyright (c) 2024 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/852 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการด้านเงินบริจาคของวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/879 <p>การบริหารจัดการทรัพย์สินของพระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ที่ใช้ในการบริหารจัดการล้วนเกิดขึ้นจากเงินบริจาคของพุทธศาสนนิกชนแทบทั้งสิ้น ซึ่งเงินบริจาคที่ได้รับมานั้นมักเกิดขึ้นจากความศรัทธาและความเชื่อที่ว่าการบริจาคทานเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งที่สามารถนำทางให้ตนพบกับความสุขได้ในภายภาคหน้า ประกอบกับการทำบุญโดยการบริจาคเงินสามารถทำได้โดยง่ายและบังเกิดความสะดวก เนื่องจากประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพราะฉะนั้น เมื่อทรัพย์สินประเภทเงินบริจาคหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบการจัดเก็บ การรักษาที่ดี เพื่อให้ได้ยอดจำนวนของเงินบริจาคที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงมีความจำเป็นที่องค์กรทางศาสนาจะต้องมีรูปแบบการบริหารจัดการระบบเงินบริจาคที่ดีและมีประสิทธิภาพมากเพียงพอ</p> พระครูธรรมธร (สฐาพร ปภสฺสโร), พระนรินทร์ โชติปาโล Copyright (c) 2024 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/879 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทุนมนุษย์ทางพระพุทธศาสนา : โอกาสทางการศึกษา ของสามเณรในประเทศไทยในยุคดิจิทัล https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/880 <p>บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา การพัฒนาทุนมนุษย์ทางพระพุทธศาสนา โอกาสทางการศึกษาของสามเณรในประเทศไทยในยุคดิจิทัล ผลจากการศึกษาพบว่า การบรรพชาเป็นสามเณรเป็นกระบวนการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางศาสนาให้พร้อมทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ เพื่อทำหน้าที่ศาสนทายาทที่ดี เป็นหลักพึ่งพิงของพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง จึงกล่าวได้ว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการบรรพชาเป็นสามเณร คล้ายกับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ คือเตรียมตัวเป็นศาสนทายาทในอนาคต และเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เป็นไปเพื่อบรรเทากิเลสให้เบาบาง ดำเนินชีวิตอย่างสงบ เพื่อไปสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามนัยทางพระพุทธศาสนาคือพระนิพพาน ส่วนการศึกษาที่เปิดโอกาสให้สามเณรได้ศึกษาเรียกว่าพระปริยัติธรรม โดยมุ่งเน้นวิชาการในด้านพุทธศาสนาเป็นหลัก ปัจจุบันแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 3 ส่วน คือ แผนกสามัญ แผนกธรรม และเผนกบาลี โดย 1.การศึกษาในแผนกสามัญศึกษา เป็นการเรียนในสาขาวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาเช่นเดียวกับโรงเรียนสามัญทั่วไป ปัจจุบันนี้ยังมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ ที่เปิดโอกาสให้เรียนทางพระพุทธศาสนาและวิชาการที่เป็นการศึกษาสามัญ 2.การศึกษาแผนกธรรม โดยมีการศึกษา 3 ระดับ คือ นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก 3.ส่วนการศึกษาแผนกบาลี เป็น การศึกษาพระปริยัติธรรมจากพระไตรปิฎก ซึ่งเขียนเป็นภาษาบาลี โดยแบ่งเป็น ประโยค 1-2 ถึง ประโยค ป.ธ.9</p> พระธนญชัย กนฺตปญฺโญ Copyright (c) 2024 https://so18.tci-thaijo.org/index.php/j_cm/article/view/880 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700