การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมือง ของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
หลักพุทธธรรม, การกล่อมเกลาทางการเมือง, เยาวชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 2. เปรียบเทียบการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. นำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.977 ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การทดสอบค่าที (T-test) และค่าเอฟ (F-test) เพื่อทดสอบสมมติฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านรัฐบาล ด้านสื่อมวลชน ด้านกลุ่มเพื่อน ด้านครอบครัว ด้านสถาบันการศึกษา ทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3) การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่า ฉันทาคติ ด้วยการส่งเสริมให้เยาวชนมีความคิดเห็นที่เป็นกลาง และพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ โทสาคติ ด้วยการฝึกให้เยาวชนจัดการอารมณ์และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง โมหาคติ ด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นการตัดสินใจที่รอบคอบด้วยความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ภยาคติ ด้วยการส่งเสริมให้เยาวชนมีความกล้าและมีความรับผิดชอบ
References
จุฬีวรรณ เติมผล. (2559). เยาวชนกับการมีส่วนร่วมพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2552). ปฏิวัติ 2475. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ประชา เทศพานิช. (2562). แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทยเชิงพุทธบูรณาการ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระณัฐพงษ์ ณฏฺวํโส (สุดใจ). (2563). การกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนใน อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระทรงวุฒิ ชาตเมธี (รัตนะ). (2563). การกล่อมเกลาทางการเมืองที่มีผลต่อการเลือกตั้งในเขต อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาธีรติ ธมฺมโสภโณ (โศภิตธรรม). (2564). การอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัชรินทร์ ชาญศิลป์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิชัย ตันศิริ. (2539). วัฒนธรรมทางการเมืองและการปฏิรูป. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
ศักดิ์นรินทร์ ดินรัมย์. (2564). แนวทางการตัดสินใจทางการบริหารตามหลักอคติ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิริสุดา แสงทอง. (2564). ความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ : จุดยืนประชาธิปไตยใหม่แห่งอนาคต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(2), 286 - 297.
ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ และอนุวัต กระสังข์. (2561). การกล่อมเกลาทางการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมือง. วารสารสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 6(1), 13 - 27.
อภินันต์ จันตะนี. (2549). การใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับการวิจัยทางธุรกิจ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
