พุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการพัฒนาองค์กรของ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ แจ้งพงศ์พันธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธบูรณาการ, ประสิทธิผล, พัฒนาองค์กร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาองค์กร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาองค์กร และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการพัฒนาองค์กรของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้แก่ บุคลากรของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จำนวน 229 คน สัมภาษณ์ จำนวน 18 รูปหรือคน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม และสนทนากลุ่มเฉพาะ 10 รูปหรือคน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการพัฒนาองค์กร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยดังนี้ ด้านการพัฒนา รองลงมาคือ ด้านการผลิตหรือการบริการ ด้านการปรับเปลี่ยน ด้านความพึงพอใจ และด้านประสิทธิภาพ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาองค์กร พบว่า 1. ปัจจัยบริหารภายในองค์กรส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาองค์กรของ รฟฟท. ประกอบด้วย การบริหารจัดการ วัสดุอุปกรณ์ วิธีการทำงานหรือกระบวนการ บุคคล เครื่องจักรหรือเทคโนโลยี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 2. หลักพละ 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาองค์กรของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ประกอบด้วย สังคหพละ ปัญญาพละ อนวัชชพละ วิริยะพละ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3. รูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการพัฒนาองค์กรของ รฟฟท. พบว่า มีการนำหลักพละ 4 เข้ามาบูรณาการ ได้แก่ ปัญญาพละ กำลังความรู้ วิริยะพละ กำลังความเพียร อนวัชชพละ กำลังความสุจริต และสังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ และนำปัจจัยบริหารภายในองค์กรมาเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมประสิทธิผลการพัฒนาองค์กร ประกอบด้วย บุคคล เงิน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรหรือเทคโนโลยี วิธีการทำงานหรือกระบวนการ การบริหารจัดการ

References

คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2562). แจ้งมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 2/2562. เอกสารราชการด่วนที่สุด. ที่ กค 0805.4/2684. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ.

คณิตดา กรรณสูต. (2565). พุทธวิธีการบริหารจัดการองค์กรคุณภาพของบริษัทมหาชนจำกัด (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ณภัทร ปิณฑรัตน์. (2555). คุณลักษณะของผู้นำองค์กรตามหลักพละ 4 ในธุรกิจประกันภัย (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด. (มปท.). เรื่อง บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.). เอกสารเผยแพร่, มปท.

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด. (2567). เกี่ยวกับเรา, เกี่ยวกับโครงการ. สืบค้น 11 มกราคม 2657, จาก https://www.srtet.co.th/th/single-page/13.

ภูษิต วิเศษคามินทร์. (2563). ประสิทธิผลการนำนโยบายการแก้ปัญหาจราจรไปปฏิบัติของกองบังคับการตำรวจจราจร (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิวัฒน์ จ่าตา. (2564). การบริหารจัดการของรัฐในการส่งเสริมกัญชาเสรีเพื่อการแพทย์ทางเลือกของไทย (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2025