นโยบายเร่งด่วนกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • ตากเพชร เลขาวิจิตร ช่อง 7HD / บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

คำสำคัญ:

นโยบายเร่งด่วน, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายเร่งด่วนกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักพุทธธรรม เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศนโยบายเร่งด่วน 5 ประการเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานที่เป็นหน่วยงานที่รับนโยบายไปปฏิบัติ จึงควรพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สนองต่อนโยบายเร่งด่วน โดยใช้หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บูรณาการกับหลักไตรสิกขา ดังนี้ 1. นโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ควรฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาบุคลากร ให้รู้และเข้าใจในระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล มุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน ให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำประชาชน
2. นโยบายแก้ปัญหาหนี้สิน ควรฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาบุคลากร ให้รู้และเข้าใจในระบบหนี้ การให้คำแนะนำและให้ความรู้กับประชาชน 3. นโยบายลดภาระค่าใช้จ่าย ควรฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาบุคลากร ให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการใช้การพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน ส่งเสริมให้ประชาชนใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดค่าใช้จ่าย 4. นโยบายผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ควรฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างรายได้และการส่งเสริมอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมระเบียบแบบแผนจารีตภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. นโยบายแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในรัฐธรรมนูญ ควรฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง มุ่งมั่น ส่งเสริมกล่อมเกลาประชาชนให้มีความเห็นที่สอดคล้องกัน

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

พะยอม วงศ์สารศรี. (2540). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการสถาบันราชภัฎสวนดุสิต.

พุทธทาสภิกขุ. (2529). เรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม. กรุงเทพฯ : จักรานุกุลการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐบาลไทย. (2566). คำแถลงนโยบาย ของคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา. วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566. สืบค้น 10 เมษายน 2567, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/ details/72078.

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2567). ภารกิจ อำนาจ หน้าที่. สืบค้น 10 เมษายน 2567, จากhttps://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER29/DRAWER037/GENERAL/DATA0000/00000002.PDF.

สำนักประชาสัมพันธ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2540). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อัจฉรา สังข์สุวรรณ. (2559). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: เทพรัตน์เพรส.

Beach, D.S. (1980). The Management of People at Work. New York: The Macmillan Publishing Co.

Edwin, F.B. (1971). Management: A Behavioral Approach. Boston: Allyn & bacon. United States: Allyn and Bacon Inc.

Gilley, J.W. et al., (2002). Principle of human resource development (2nd Ed.). Cambridge, MA: Persues Books

Megginson, L.C. (1969). A Behavioral Approach to Administration. Omewood: Richard D Lrwin.

Leonard, N. (1980). Corporate Human Resources Development: A Management Too. United State: McGraw-Hill.

_________. (1982). Designing training program: The critical events model. New York: Taylor & Fracis group.

Pace. RW. Smith. (1991). Human Resource Development. New Jersey: Prentlice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2025