อิทธิบาท 4 ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความสำเร็จขององค์การ

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ลภัส จิตต์ธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

หลักอิทธิบาท 4, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ความสำเร็จ

บทคัดย่อ

บทความวิชานี้มุ่งศึกษาอิทธิบาท 4 ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความสำเร็จขององค์การ เพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ นำไปสู่การพัฒนาผลงานขององค์การในภาพรวม สิ่งสำคัญในการพัฒนาคือทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การฝึกอบรมและการพัฒนาหรือการพัฒนาตนเอง การพัฒนาองค์การ และการพัฒนาอาชีพ นอกจากการพัฒนาทั้ง 3 ส่วน สามารถนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการทำงานอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และเป็นการยึดถือปฏิบัติและต่อยอดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนและนำมาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่องได้ตามบริบทของแต่ละองค์การที่แตกต่างกันออกไป เพราะหลักอิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย 4 ประการ คือ 1. ฉันทะ คือ ความรักงาน พอใจกับงานที่ทำอยู่ 2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน 3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน 4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ ทำให้การทำงานบรรลุตามเป้าหมายและผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล.(2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2548). พุทธปรัชญาแห่งศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2558).การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2560). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญทัน ดอกไธสง. (2566). AI การพัฒนาทุนมนุษย์ยุค New Normal. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปภาวดี มนตรีวัด. (2565). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปิ่น มุทุกันต์. (2514). แนวการสอนธรรมตามหลักสูตรนักธรรมตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คลังวิทยา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุธินี ฤกษ์ขำ. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักการและการประยุกต์ (พิมพ์ครั้ง 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

______. (2563). การจัดหาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในยุคพลิกผัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนิสา ช่อแก้ว. (2567). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ แนวคิด กระบวนการ เครื่องมือ และกรณีศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยุเคชั่น.

แสงอรุณ โปร่งธุระ. (2539). พุทธศาสน์. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเอกสารตำรา สำนักส่งเสริมวิชาการ สถาบันราชภัฏธนบุรี.

อาภรณ์ ภู่วิทยาพันธุ์. (2553). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.

Matthews, J. et al. (2008). Human Resource Development. London: Kogan Peage.

Mathis, R.L., & Jackson, J.H. (2004). Human Resource Development. Australia: Thomson, South-Western.

Werner, J.M. & DeSimone, R.L. (2009). Human Resource Development. Cengaga Learning, Australia: South-Western.

Yorks, L. (2005). Strategic Human Resource Development. Ohio: Thomson, South-Western.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2025