นวัตกรรมเชิงพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ผู้แต่ง

  • อัญชลี แสงชาญชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นวัตกรรมเชิงพุทธ, บูรณาการ, การปฏิบัติงานอย่างมีความสุข, พยาบาล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานอย่างมีความสุข 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีความสุข และ 3. เพื่อนำเสนอนวัตกรรมเชิงพุทธบูรณาการกับการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจโดยเก็บข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 227 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 53 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นในภาพรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.917 และการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์ผลการวิจัยนำมาสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 11 รูปหรือคน เพื่อยืนยันผลการศึกษา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation=3.81) โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ การยอมรับในตนเอง การมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ด้านการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต การพัฒนาตนเอง การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม และความเป็นตัวของตัวเอง 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พบว่า ปัจจัยการบริหารจัดการส่งผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลมงกุฎเกล้า 3 ด้านคือ เงินทุน บุคคล การบริหารจัดการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และหลักพรหมวิหาร 4 ส่งผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลมงกุฎเกล้าทั้ง 4 ด้านคือ อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง) มุทิตา (ความยินดี) เมตตา (ความรัก) กรุณา (ความสงสาร) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 3. นวัตกรรมเชิงพุทธบูรณาการกับการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขของพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พบว่า การปฏิบัติงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย ความเป็นตัวของตัวเอง การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาตนเอง การมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต และการยอมรับตนเอง โดยการนำหลักธรรม คือ หลักพรหมวิหาร 4 เข้ามาปฏิบัติเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย เมตตา (ความรัก) กรุณา (ความสงสาร) มุทิตา (ความยินดี) อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง) และการนำหลักการ คือ ปัจจัยการบริหารจัดการมาเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขคือ บุคคล เงินทุน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ

References

กฤษดา แสวงดี และคณะ. (2562). แผนปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.

กองการพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. (2567). แผนกพยาบาลต่าง ๆ. สืบค้น 9 มีนาคม 2567, จาก https://nurse.pmk.ac.th/index.php/departments.

ณิรดา พราหมณ์ชู. (2563). ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช. The Journal of Boromarjonani College of Nursing Suphanburi, 3(1), 81-98.

ธีระพล บุญตาระวะ. (2564). การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธัชมน วรรณพิณ และวาสินี วิเศษฤทธิ์. (2555). ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยภายใต้กำกับของรัฐ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล, 18(1), 9-23.

นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดนนทบุรี. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นันทพร ทองเชื้อ, มิตภาณี พุ่มกล่อม และพงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน. (2565). การบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 90-102.

ปิยะธิดา ปัญญา และไพศาล วรคำ. (2560). ความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บริษัท สหมิกธรรม จำกัด.

พระนิพนธ์ ฐานวโร (คำภาสี). (2565). พรหมวิหาร 4 ในฐานะการเจริญภาวนาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. วารสารวิจยวิชาการม 5(3), 15-22.

พัชรินทร์ เขตประทุม และคณะ. (2563). ความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวของพยาบาลในโรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง. พยาบาลสาร, 47(7), 408-418.

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. (2567). ข้อมูลทั่วไป. สืบค้น 9 มีนาคม 2567, จาก : https://www.pmk.ac.th/.

Hfocus. (2024). ชลน่านชี้วิกฤติพยาบาลไทยขาดแคลนสูง 51,420 คน เร่งผลิต 2 ปีครึ่ง. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.hfocus.org/content/2024/02/29813.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Sakid. (2023). Work Life Balance คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับการทำงานยุคใหม่. สืบค้น 20 มกราคม 2567, จาก https://www.sakid.app/blog/work-life-balance/

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2025