นโยบาย Work-Life (ไร้) Balance และการบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อส่งเสริมการทำงานอย่างมีความสุขของพยาบาลวิชาชีพ
คำสำคัญ:
สมดุลงานและชีวิต, พยาบาลวิชาชีพ, พรหมวิหาร 4, ข้อเสนอเชิงนโยบายบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับนโยบาย Work-Life Balance ของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผลสำรวจปี 2567 พบว่า อาชีพพยาบาล ติด 1 ใน 10 “อาชีพในฝัน” ของเด็ก Gen Z โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพต้องตอบโจทย์ “ชีวิตในฝัน” ทั้งเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และความสมดุลงานกับชีวิต ซึ่งอาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบาย Work-Life Balance ได้จริง เพราะสิ่งที่เป็นจริงคือ “Work-Life (ไร้) Balance” ทั้งนี้เด็ก Gen Z จะตัดสินใจลาออกจากอาชีพหากการทำงานรบกวนคุณภาพชีวิต ส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ ผู้เขียนจึงได้รวบรวมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากนักวิชาการ รวมทั้งนำเสนอความคิดเห็นของผู้เขียนในมุมมองด้านรัฐประศาสนศาสตร์โดยประยุกต์ใช้นโยบาย “Work-Life Integration” หรือ “Mindfulness-Wisdom Balance” ซึ่งบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมหรือหลักพรหมวิหาร 4 คือหลักธรรมประจำใจในการพัฒนาจิตใจตนเองให้สามารถรักษาสมดุลงานและชีวิตอย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ ได้แก่ 1. เมตตา (ความรัก) คือ ความปรารถนาดีต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข 2. กรุณา (ความสงสาร) คืออยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ 3. มุทิตา (ความยินดี) เมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีความสุขประสบความสำเร็จ 4. อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) คือการวางจิต วางตน ตามความเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่ส่งผลให้เกิดความสุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ ดำเนินชีวิตอย่างสมดุล มีคุณค่า มีความสงบ มีความสุขทุกวัน และประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
References
ขนิญร์นัสท์ อินทุลักษณ์ และ อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2557). การสร้างสมดุลชีวิตกับงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 382–389.
ฐานิดา ทิพวาที และคณะ. (2560). ปัจจัยทำนายสมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรณีศึกษาในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารพยาบาลทหารบก, 18 (Supplement 1), 198-206.
ธีรพร สถิรอังกูร และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสาริชาการสาธารณสุข, 30(2), 320-333.
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก และคณะ. (2564). อิทธิพลของสมดุลชีวิตกับการทำงานและความพึงพอใจในงานต่อคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(2), 344-352.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
พัชรินทร์ เขตประทุม และคณะ. (2563). ความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวของพยาบาลในโรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง. พยาบาลสาร, 47(7), 408-418.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2567). 10 อาชีพเด่น อาชีพในฝันของเด็กรุ่นใหม่ และสถานภาพของเด็ก Gen Z ปี 2567. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.utcc.ac.th/
ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.
เรวดี ศิริภาพ. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะเชิงพุทธะบูรณาการของพนักงานบริษัท (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สภาการพยาบาล. (2560). นโยบายชั่วโมงการทำงานของพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. สืบค้น 18 เมษายน 2567, จาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/H002.pdf
สภาการพยาบาล. (2564). ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง แถลงการณ์สภาการพยาบาลในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/TNMC_Covid-19%20270764.pdf
หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ. (2566). การทำงานคือการปฏิบัติธรรม. สืบค้น 30 ธันวามคม 2566, จาก https://www.youtube.com/watch?v=qbcfGGYShA8
อนิสา สังข์เจริญ และ วศิวพร แต้มคู. (2023). การสร้างความสมดุลชีวิตกับการทำงานในบทบาทของครูตามหลักไตรสิกขา. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 9(1), 208-224.
Fu, C.K., & Shaffer, M. A. (2001). The tug of work and family: Direct and indirect domain-specific determinants of work-family conflict. Personal Review, 30 (5), 502-522.
Greenhaus, J.H. , et al. (2003). The relation between work-familybalance and Quality of Life. Retrieved May 2, 2024, from https://www.researchgate.net/publication/222543597
Herzberg, F., et al. (1959). The Motivation to Work. (2nd Ed.), New York: John Wiley & Sons Inc.
Hyman & Summers. (2004). Lacking balance? Work-life employment practices in the modern economy. Personnel Review, 33(4), 418-429.
Sakid. (2023). Work Life Balance คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับการทำงานยุคใหม่. สืบค้น 20 มกราคม 2567, จาก https://www.sakid.app/blog/work-life-balance/The Start of Happiness. (2024). Wheel of Life – A Self-Assessment Tool. Retrieved May 3, 2024, from https://www.startofhappiness.com/wheel-of-life-a-self-assessment-tool/
Walton, R. E. (1974). Improving the quality of work life. Harvard Business Review, 15(5), 12-16.
Worakan J. (2024). Work-Life Balance. Retrieved February 29, 2024, from https://thematter.co/lifestyle/work-life/work-life-balance-doesnt-exist/223183
Huse, E.F. & Thomas G. C. (1980). Organization development and change. (2nd ed.). St.Pual: West Publishing Company.
