พุทธภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นตามหลักสังคหวัตถุ 4
คำสำคัญ:
พุทธภาวะผู้นำ, องค์กรปกครองท้องถิ่น, สังคหวัตถุ 4บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น โดยการนำหลักสังคหวัตถุ 4 มาอธิบายประกอบในการบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สังคมไทยได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากสถาบันที่สำคัญอย่างหนึ่ง นั่นคือ สถาบันพระพุทธศาสนา หลักธรรมและคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันเป็นเวลานับกว่าสองพันปีแล้ว แต่ทุกหลักธรรมยังคงทันสมัยและสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องดำเนินชีวิตและแนวทางในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาสังคมในปัจจุบัน ความสำคัญของหลักธรรมดังกล่าวยังคงมีอยู่เสมอ การเป็นผู้นำนั้นไม่ใช่สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้เอง แต่ต้องเกิดจากการสังเกต การเรียนรู้ การพัฒนาฝึกฝน และการมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี การที่ผู้นำนำหลักธรรมคำสั่งสอนตามหลักพระพุทธศาสนามาใช้ในการบริหารงานนั้นเป็นสิ่งที่ทันสมัยสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ และสามารถนำมาปรับใช้ได้ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งเป็นหลักธรรมร่วมสมัยจากพระปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). การกล่าวหาการชี้มูลความผิด ข้อทักท้วงและพฤติกรรมการกระทำความผิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
คณาพงษ์ พึ่งมี. (2562). ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จิดาภา เร่งมีศรีสุข. (2560). พุทธภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานการวิจัย). สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ชนาพร พิทยาบูรณ์. (2560). การสื่อสารของผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงสังคม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย รัตนบัณฑิต. 12(2), 62-72.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ: แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญางาม.
ธันยวัฒน์ รัตนสัค. (2555). การบริหารราชการไทย. เชียงใหม่: สำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2547). การปกครองท้องถิ่นไทย: ศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา. (2560). ภาวะผู้นำกับการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2560). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระวีรวัฒน์ รอดสุโข. (2550). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 ไตรลักษณ์ 3 กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนด้วยหนังสือการ์ตูนและการสอนตามปกติ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เพ็ญนภา พลับฉิม. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2556). การบริหารองค์กรภาครัฐ (Public Organization Administration) (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิชชุกร นาคธน. (2549). ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
ไสว. (2552). คู่มือดำเนินงานเสริมสร้างศีลธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
Lewin, K. (1935). A Dynamic Theory of Personality. New York: McGraw-Hill.
Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.
