กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรอำเภอลานสกา ตำบลลานสกา อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • นิชาภัทร ชิตชลธาร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • อรนุช ช่อเส้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ปัตพงษ์ ดำรงปิยมโนธร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, กระบวนการสร้างเครือข่าย, สินค้าเกษตรอำเภอลานสกา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรอำเภอ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา การศึกษาเรื่องศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรประชากรผู้ให้ข้อมูลหลัก 1) นายวิเชียรรัตน์ มัชณิกะ (ประธาน) 2) นายบุญเติม ศิริวรรณ (ประธานแปลง ใหญ่) 3) นายธวัชชัย มัชณิกะ (รองประธาน) 4) นายไชยพงค์ ทะนันชัย (เลขานุการ) และ 5) นางสาวจิราภรณ์ จิตรพันธ์ (เหรัญญิก) เครื่องมือใช้ในการวิจัย เครื่องบันทึกภาพบันทึกการสังเกต แบบสัมภาษณ์ การศึกษาเรื่อง ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรอำเภอลานสกา เมื่อรวบรวมข้อมูล และตรวจสอบเนื้อหาอย่างถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการการเกิดกลุ่มศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรอำเภอลานสกา มี 4 ขั้นตอน 1.1) ขั้นก่อตัวของกลุ่มศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรอำเภอลานสกา ในสมัยก่อนได้ก่อตั้งเป็นกลุ่มผลไม้ของอำเภอลานสกา 1.2) ขั้นตอนการรวมตัวกันของกลุ่มศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรอำเภอลานสกา ชาวบ้านได้มาเป็นสมาชิกในศูนย์การเรียนรู้ 1.3) ขั้นการผลิตสินค้าภายในกลุ่มศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรอำเภอลานสกา และ 1.4) ด้านขั้นตอนการบริหารจัดการกลุ่มศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรอำเภอลานสกา 2) สภาพปัญหาของกลุ่มศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรอำเภอลานสกา 2.1) ปัญหาการผลิต บางฤดูจะไม่มีผลผลิตมังคุด 2.2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์ ผลผลิตในแต่ล่ะฤดูออกผลมาไม่ได้ตามที่เราต้องการ 2.3) ปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร 2.4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่มศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรอำเภอลานสกา
และ 3) กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชนกลุ่มศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรอำเภอลานสกา 3.1) ความพอประมาณ 3.2) ความมีเหตุผล มีการตัดสินใจที่ตรงไปตรงมา และ 3.3) การมีภูมิคุ้มกัน

References

กาญจนา ไชยพันธุ์. (2549). กระบวนการกลุ่ม. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

นงนุช อุณอนันต์. (2554). หลักการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

บัณฑร อ่อนดํา. (2533). ทธศาสตร์การพัฒนาชนบท . กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์. (2540). เศรษฐกิจชุมชน : ทางรอดที่ยั่งยืนของชาติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัย และให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสน่ห์ จามริก. (2541). เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์ . กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการสิทธิ.

อรทิพย์ เรืองกุล. (2547). กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขต เทศบาลเมืองกําแพงเพชร . ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04

How to Cite

ชิตชลธาร น. ., ช่อเส้ง . อ. ., ดำรงปิยมโนธร ป. ., & ดำรงวัฒนะ จ. (2024). กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรอำเภอลานสกา ตำบลลานสกา อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช . Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 1(2), 1–9. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/111