การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา กลุ่มลายเทียนบาติกสีธรรมชาติ บ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการกลุ่ม, การมีภูมิคุ้มกัน, เศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการเกิดกลุ่มลายเทียนบาติกสีธรรมชาติฯ 2) ศึกษาสภาพปัญหาของกลุ่มลายเทียนบาติกสีธรรมชาติฯ 3) ศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา กลุ่มลายเทียนบาติกสีธรรมชาติ บ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้วิจัยกำหนดวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มลายเทียนบาติกสีธรรมชาติฯ จำนวน 3 คน ซึ่งทุกคนเป็นคนที่ทำงานอยู่ ภายในกลุ่มลายเทียนบาติกสีธรรมชาติ บ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราชมาเป็นระยะเวลาหลายปี 2) กลุ่มส่งเสริมและสนับสนุนการทำผ้าลายเทียนบาติก ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าจากกลุ่มลายเทียนบาติกสีธรรมชาติบ้านคีรีวง โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัย พบว่า 1) พัฒนาการการเกิดกลุ่มลายเทียนบาติสีธรรมชาติฯ ได้แก่ ขั้นก่อตัวของกลุ่ม ขั้นดำเนินการปฏิบัติ ขั้นตอนการขยายตัวของกลุ่ม และ ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของกลุ่ม 2) สภาพปัญหาของกลุ่มอาชีพเพื่อธุรกิจชุมชนฯ พบว่าสภาพปัญหาด้านการผลิต ด้านบรรจุภัณฑ์, ด้านการตลาด และปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่ม 3) การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา กลุ่มลายเทียนบาติสีธรรมชาติ บ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า การบริหารจัดการกลุ่มด้วยความพอประมาณ, การบริหารจัดการกลุ่มด้วยความมีเหตุผล, การบริหารจัดการกลุ่มด้วยการมีภูมิคุ้มกัน, การบริหารจัดการกลุ่มด้วยการมีความรู้ และการบริหารจัดการกลุ่มด้วยการมีคุณธรรม
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2551). ข้อควรรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด.
กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ. (2544). การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสำหรับเยาวชนไทย: กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นงนุช พ้นยาก. (2549). เศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาธุรกิจผ้ากาบบัว บ้านโนนสวาง ตำบลโนนสว่าง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยอุบาลราชธานี.
ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์. (2540). เศรษฐกิจชุมชน: ทางรอดที่ยั่งยืนของชาติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัย และให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2543). กระบวนการ และเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
มยุรา ปะลาวัน. (2550). การดำรงอยู่ของกลุ่มอาชีพในชุมชนผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ: กรณีศึกษากลุ่มเครื่องแกงตำมือบ้านเกาะมุกด์ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
สุลีพร ทองงาม. (2550). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
อรทิพย์ เรืองกุล. (2547). กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขต เทศบาลเมืองกําแพงเพชร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
อัจฉรา สุขสมบูรณ์. (2545). วิสาหกิจชุมชนทิศทางใหม่ของการพัฒนาภาคการเกษตร. วารสารส่งเสริม, 33(176), 33-35.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.