กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อพิสิทธิ์ ช่วยอักษร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เกศศิณีย์ เพียงพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • มาริษา แก้วสีสด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

กลุ่มอาชีพ, เครือข่ายการเรียนรู้, การบริหารจัดการ, กระบวนการสร้าง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการเกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 2) สภาพปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 และ 3) กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นางรัตนา อร่ามศักดิ์ (รองประธาน) และนายมานพ สมพงษ์ (ประสานงาน) ผู้ให้ข้อมูลรอง คือ ผู้ที่ส่งเสริม และสนับสนุนกลุ่ม นายเกรียงศักดิ์ ด่านคงรักษ์ (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์เสด็จ) นายสมกียรติ์ สมทอง (ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8) ผลการวิจัย พบว่า 1) พัฒนาการเกิดกลุ่ม พบว่า มี 4 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นก่อตัวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 1.2) ขั้นตอนการรวมตัวกันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 1.3) ขั้นการผลิตสินค้าภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 และ 1.4) ด้านขั้นตอนการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 2) สภาพปัญหาของกลุ่ม ดังนี้ 2.1) ปัญหาการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 2.2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 2.3) ปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 และ 2.4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 และ 3) กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 ดังนี้ 3.1) การก่อตัวของเครือข่าย 3.2) การสร้างและพัฒนาเครือข่าย 3.3) การบริหารจัดการเครือข่าย และ 3.4) การขยายผลของเครือข่าย

References

นงนุช พ้นยาก. (2549). เศรษฐกิจชุมชน:กรณีศึกษาธุรกิจผ้ากาบบัว บ้านโนนสวาง ตำบลโนนสว่าง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยอุบาลราชธานี.

บัณฑร อ่อนดํา. (2533). ยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์. (2540). เศรษฐกิจชุมชน: ทางรอดที่ยั่งยืนของชาติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

มยุรา ปะลาวัน. (2550). การดำรงอยู่ของกลุ่มอาชีพในชุมชนผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ: กรณีศึกษากลุ่มเครื่องแกงตำมือบ้านเกาะมุกด์ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

มานพ สมพงษ์. (13 มกราคม 2566). กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (มาริษา แก้วสีสด, ผู้สัมภาษณ์)

รุ่งทิพย์ เสมอเชื้อ. (2550). การบริหารจัดการธุรกิจชุมชนของกลุ่มอาชีพไม้กวาดลายดอกแก้ว: กรณีศึกษาตำบลดงสุวรรณ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. ใน การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุลีพร ทองงาม. (2550). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

อรทิพย์ เรืองกุล. (2547). กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขต เทศบาลเมืองกําแพงเพชร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-08

How to Cite

ช่วยอักษร อ. ., เพียงพิมพ์ เ. ., แก้วสีสด ม. ., & ดำรงวัฒนะ จ. . (2024). กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านโพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 8 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 2(2), 1–11. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/119