กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา กลุ่มเกษตรจักสานปลูก ย่านลิเภา ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญา, การจักสาน, ย่านลิเภาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการเกิดกลุ่ม ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา กลุ่มเกษตรจักสานปลูกย่านลิเภา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของกลุ่ม ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภากลุ่มเกษตรจักสานปลูกย่านลิเภา และ 3) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชนของกลุ่มศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา กลุ่มเกษตรจักสานปลูกย่านลิเภา ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 5 คน ผู้ให้ข้อมูลรอง จำนวน 3 คน ผลการวิจัย 1) พัฒนาการการเกิดกลุ่ม ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภากลุ่มเกษตรจักสานปลูกย่านลิเภา ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มี 4 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นก่อตัวของกลุ่ม ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา 1.2) ขั้นตอนการรวมตัวกันของกลุ่มศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา 1.3) ขั้นการผลิตสินค้าภายในกลุ่มศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา และ 1.4) ด้านขั้นตอนการบริหารจัดการกลุ่มศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา 2) สภาพปัญหาของกลุ่มศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา กลุ่มเกษตรจักสานปลูกย่านลิเภา ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ดังนี้ 2.1) ปัญหาการผลิต ของศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา 2.2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์ ของศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา 2.3) ปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา และ 2.4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่มศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา และ 3) กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กลุ่มศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาจักสานย่านลิเภา กลุ่มเกษตรจักสานปลูกย่านลิเภา ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
References
ธีรพล กาญจนธัญรัตน์. (2554). กลยุทธ์การคงอยู่ของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงนุช พ้นยาก. (2549). เศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาธุรกิจผ้ากาบบัว บ้านโนนสวาง ตำบลโนนสว่าง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยอุบาลราชธานี.
ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์. (2540). เศรษฐกิจชุมชน: ทางรอดที่ยั่งยืนของชาติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2543). กระบวนการ และเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พัฒน์ บุณยรัตพันธุ์. (2547). การสร้างพลังชุมชนโดยขบวนการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สมพงษ์ เฟื่องอารมณ์. (2550). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.
เสน่ห์ จามริก. (2541). เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
อรทิพย์ เรืองกุล. (2547). กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองกําแพงเพชร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา . มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.