แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกไข่ปูเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนบ้านหน้าทับ หมู่ที่ 7 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ลานา วงศ์ไชยยา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เดโช แขน้ำแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • อุดมศักดิ์ เดโชชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ทิพย์วรรณ จันทรา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

แนวทางพัฒนา, ผลิตภัณฑ์น้ำพริกไข่ปู, ส่งเสริม, เศรษฐกิจชุมชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตน้ำพริกไข่ปู สภาพปัญหาในการผลิตน้ำพริกไข่ปู และแนวทางส่งเสริมการผลิตน้ำพริกไข่ปูสู่การพัฒนาอาชีพในชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหน้าทับ หมู่ที่ 7 ตำบล
ท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก
และสนทนากลุ่ม ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต เครื่องมือบันทึกภาพ เครื่องบันทึกเสียง โดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 6 คน และผู้ให้ข้อมูลรอง จำนวน 6 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ขั้นตอนการผลิตน้ำพริกไข่ปูสู่การพัฒนาอาชีพในชุมชน พบว่า ในการเตรียมวัตถุดิบ และอุปกรณ์ ต้องคำนึงถึงความสะอาด อุปกรณ์ที่ใช้ วัตถุดิบที่ใช้ต้องล้างทำความสะอาดก่อนนำไปทำเป็นน้ำพริกไข่ปู เสร็จแล้วนำวัตถุดิบมาปั่นให้เข้ากัน ตั้งไฟผัดจนหอม ปรุงรส เติมไข่ปู ผัดจนแห้ง ยกลง นำมาบรรจุในขวดแก้ว ซีลขวดด้วยพลาสติก ปิดฉลาก พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำพริกไข่ปู มีทั้งการจำหน่ายแบบขายส่งและขายปลีก 2) สภาพปัญหาการผลิต
น้ำพริกไข่ปูสู่การพัฒนาอาชีพในชุมชน พบว่า การผลิตน้ำพริกไข่ปูในชุมชนประสบปัญหาหลายประการที่ส่งผล
ต่อการพัฒนาอาชีพในชุมชน ปัญหาเหล่านี้ครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบและอุปกรณ์ไปจนถึงการผลิต การบรรจุภัณฑ์ และการจำหน่าย และ 3) แนวทางส่งเสริมการผลิตน้ำพริกไข่ปูสู่การพัฒนาอาชีพในชุมชน พบว่า การส่งเสริม
การผลิตน้ำพริกไข่ปูในชุมชนมีความสำคัญต่อการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้แก่ชุมชน แนวทางการส่งเสริม
ที่ครอบคลุม สามารถขยายช่องทางการจำหน่ายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ ช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ที่ผู้ผลิตในชุมชนประสบอยู่

References

กรองแก้ว อยู่สุข และพิมพา ศรายุทธ. (2532). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: ประยูรวงศ์.

จตุพร คงทอง และคณะ. (2561). แผนกลยุทธ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องแกงชุมชน: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านนากุน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(ฉบับพิเศษ), 36-47.

จินต์จุฑา ไชยศรีษะ. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาทูกึ่งสำเร็จรูปแบบผง. ใน วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

พิชิต สุขเจริญพงค์. (2554). การจัดการวิศวกรรมการผลิต. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดบุคเซ็นเตอร์.

วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2556). รายงานการศึกษาเพื่อดำเนินการยกระดับ และสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้กิจกรรมพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนในการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านลำในใต้ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. พัทลุง: วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ศักดิ์ชาย เพ็ชรศรีทอง และคณะ. (2563). กล้วยฉาบบ้านหน้าเขา: แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบ เพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน กรณีศึกษา เกษตรกรรายย่อย บ้านหน้าเขา หมู่ที่ 3 ตำบลหน้าเขา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ศิริขวัญ หวันจิ. (2562). จันดีพริกแกง: แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน กรณีศึกษา: ผู้ผลิตน้ำพริกแกงรายย่อยชุมชนตลาดคลองจันดี ตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร. (2555). การทำความสะอาดวัตถุดิบก่อนการแปรรูปอาหาร. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://shorturl.asia/qTjkl

สถาบันพัฒนาองค์กรค์ชุมชน. (2563). เศรษฐกิจฐานราก. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤษภาคม 2565 จาก https://web.codi.or.th/development_project/20201125-20029/

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2556). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ของน้ำพริกแกง (มผช.129/2556). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

อรรณพ ทัศนอุดม และคณะ. (2552). การปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์น้ำพริก. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 136-144.

MGRONLINE. (2022). น้ำพริกจากบ้านนาสู่มหานคร เสิร์ฟวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ภูมิปัญญาร่วมสมัย. เรียกใช้เมื่อ 26 ธันวาคม 2566 จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000066980

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

วงศ์ไชยยา ล., ดำรงวัฒนะ จ., แขน้ำแก้ว เ., เดโชชัย อ., & จันทรา ท. (2024). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกไข่ปูเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนบ้านหน้าทับ หมู่ที่ 7 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 4(1), 1–12. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/121