ลอยเลิศ : การแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาดุกเลี้ยงจากแปลงสวนยางพารา กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งนาใหม่ หมู่ที่ 4 ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การแปรรูป, ผลิตภัณฑ์ปลาดุก, ลอยเลิศบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาดุกเลี้ยงจากแปลงสวนยางพารา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาดุกเลี้ยงจากแปลงสวนยางพารา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาดุกเลี้ยงจากแปลงสวนยางพารา กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งนาใหม่ หมู่ที่ 4 ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาดุกเลี้ยงจากแปลงสวนยางพารา พบว่า 1.1) การคัดเลือกปลา พิจารณาจาก พันธุ์ปลา ช่วงอายุ และขนาดของปลา 1.2) การชำแหละปลา ทำปลาให้ตาย ตัดหัว ผ่าท้อง ควักไส้ออก และล้างทำความสะอาด 1.3) การหมัก น้ำเกลือ และน้ำตาลทราย 1.4) การนำไปตากแดด หลังจากที่นำปลาดุกไปหมักเรียบร้อยแล้ว ให้นำไปตากแดด 1.5) บรรจุจำหน่าย ใช้กระดาษ ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มีการป้องกันความชื้นอย่างเหมาะสม 2) สภาพปัญหาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาดุกเลี้ยงจากแปลงสวนยางพารา พบว่า 2.1) ปัญหาในการเก็บรักษา ปลาเน่าเสีย เนื่องจากล้างไม่สะอาด 2.2) ปัญหาด้านตลาดรองรับ ไม่มีความรู้ทางด้านการตลาด และไม่มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้า 2.3) ปัญหาเกี่ยวกับราคาของสินค้า การแข่งขันกันด้านราคา 2.4) ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ขาดแคลนปลาในบางช่วงฤดูกาล 3) แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาดุกเลี้ยงจากแปลงสวนยางพารา พบว่า 3.1) การอนุรักษ์ภูมิปัญญาการแปรรูปปลาดุกร้า 3.2) การพัฒนาการแปรรูปปลาดุกร้า 3.3) การถ่ายทอดภูมิปัญญาการแปรรูปปลาดุกร้า 3.4) การเผยแพร่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการแปรรูปปลาดุกร้า 3.5) การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น และ 3.6) การส่งเสริมการตลาดออนไลน์
References
กชพร อภิชาตโรจนกุล. (2564). การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจแปรรูปปลาดุก ปลาดุกหวาน. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยรังสิต.
คมชัดลึก. (2566). ปลาดุกร้าจากบ้านท่าเตียน ฝีมือชาวบ้านอร่อยระดับ 5 ดาว. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2564 จาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/65805
เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2566). ปลาดุกร้า 2 รส ปลอดสาร ผลิตภัณฑ์โอท็อป ท่าเตียน เมืองคอน. เรียกใช้เมื่อ 16 ธันวาคม 2564
จาก https://www.technologychaoban.com/fisheryte chnology/ article _34767
ปริฉัตร มัทมิฬ และคณะ. (2558). ภูมิปัญญาในการแปรรูปปลาเปรี้ยวเพื่อส่งเสริมสินค้าชุมชน กรณีศึกษา: กลุ่มอาชีพปลาเปรี้ยว หมู่ที่ 3 บ้านห้วยหมก ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2(1), 38-39.
ปารมี ชุมศรี. (2559). การพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์น้ำพริกมะขามเสริมปลาดุกร้า. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, 5(2), 48-55.
พงศภัค ทองสุข. (2561). แนวทางการแปรรูปสละของชุมชนบ้านโปน หมู่ที่ 4 ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
พนิดา รัตนสุภา และคณะ. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน. วารสารวิทยาการจัดการ, 33(2), 19-20.
รักบ้านเกิด. (2566). วิธีการทำปลาดุกร้า. เรียกใช้เมื่อ 18 ธันวาคม 2564 จาก https://www.rakbankerd. com/a griculture/page.php?id=801&s=tblanimal
ลานา วงศ์ไชยยา. (2565). น้ำพริกไข่ปู:แนวทางส่งเสริมการผลิตน้ำพริกไข่ปูสู่การพัฒนาอาชีพในชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหน้าทับ หมู่ 7 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
อมรรัตน์ ถนนแก้ว. (2550). การเปลี่ยนเเปลงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าระหว่างการเก็บรักษาในอุณหภูมิห้อง. วารสารสภาวิจัยแห่งชาติของประเทศไทย (วิทยาศาสตร์), 41(2), 27-41.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.