ปั้นดิน: การปรับตัวด้านการผลิตของผู้ประกอบอาชีพงานหัตถกรรม กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาหม้อ ชุมชนบ้านเตาหม้อ ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จิราวดี รับไทรทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ฐิติกานต์ เอียดน้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • อุดมศักดิ์ เดโชชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • พงศ์ประสิทฺธิ์ อ่อนจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ชวนะ ทองนุ่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การปรับตัวด้านการผลิต, ผู้ประกอบอาชีพงานหัตถกรรม, วิสาหกิจชุมชน, กลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาหม้อ, ชุมชนบ้านเตาหม้อจังหวัดนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

          การศึกษาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านการผลิตของผู้ประกอบ
อาชีพงานหัตถกรรม 2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการปรับตัวด้านการผลิตของผู้ประกอบอาชีพงานหัตถกรรม
และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวด้านการผลิตของผู้ประกอบอาชีพงานหัตถกรรม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาหม้อ ชุมชนบ้านเตาหม้อ ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม โดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่ม จำนวน 8 คน และผู้สนับสนุนและส่งเสริม จำนวน 6 คน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาด้านการผลิตของผู้ประกอบอาชีพงานหัตถกรรม พบว่า 1.1) ปัญหาด้านปัจจัยการผลิต ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่ม วัตถุดิบในการผลิต และงบประมาณ 1.2) ปัญหาด้านกระบวนการผลิต ประกอบด้วย ขั้นตอนในการเตรียมวัตถุดิบ การสร้างรูปทรงสินค้า และการตกแต่งลวดลาย และ 1.3) ปัญหาด้านผลผลิต ประกอบด้วย รูปแบบของสินค้า 2) การส่งเสริมการปรับตัวด้านการผลิต
ของผู้ประกอบอาชีพงานหัตถกรรม พบว่า 2.1) ด้านปัจจัยการผลิต ประกอบด้วย การส่งเสริมด้านการผลิต
ให้กับสมาชิกในกลุ่ม การใช้ทรัพยากรในชุมชนเพื่อการผลิต และการจัดสรรงบประมาณ 2.2) ด้านกระบวนการผลิต ประกอบด้วย การจัดสรรวัตถุดิบในการผลิต การออกแบบรูปทรงสินค้าที่แปลกใหม่ และการสร้างชิ้นงาน
ให้มีความโดดเด่น และ 2.3) ด้านที่เป็นผลผลิต ประกอบด้วย รูปแบบของสินค้าให้มีความน่าสนใจ และ 3) แนวทาง
การปรับตัวด้านการผลิตของผู้ประกอบอาชีพงานหัตถกรรม พบว่า 3.1) การปรับตัวด้านร่างกาย 3.2) การปรับตัวด้านจิตใจ และ 3.3) การปรับตัวด้านสังคม

References

นันทกาญจน์ เกิดมาลัย และคณะ. (2561). สภาพการบริหารการพัฒนาและปัญหาการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ครามในจังหวัดสกลนคร. วารสารการบริหารปกครอง, 7(2), 291-313.

พรนภัส หารคำ. (2561). ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: เครื่องปั้นดินเผาบ้านวังถั่ว จ.ขอนแก่น สู่การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 133-161.

พัชราภา สิงห์ธนสาร. (2557). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบริเวณพื้นที่รอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 24(2), 169-204.

พีรพงษ์ พันธะศรี. (2561). เครื่องปั้นดินเผาสร้างสรรค์: กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาประกอบไม้ยางพาราและเถาวัลย์ในจังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9(1), 12-24.

มณฑณัท แสงสังข์ และคณะ. (2562). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(1), 133-143.

ศิระกาญจณ์ อะนันเอื้อ และคณะ. (2561). โมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตรสำหรับเยาวชน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 11(3), 2531-2550.

สวย หลักเมือง. (2558). แนวทางการจัดการปัญหาวิถีการตลาดของกลุ่มเกรษตกรข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(3), 37-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

รับไทรทอง จ., เอียดน้อย ฐ., ดำรงวัฒนะ จ., เดโชชัย อ., อ่อนจันทร์ พ., & ทองนุ่น ช. (2024). ปั้นดิน: การปรับตัวด้านการผลิตของผู้ประกอบอาชีพงานหัตถกรรม กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาหม้อ ชุมชนบ้านเตาหม้อ ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 4(1), 13–23. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/124