การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าบาติก บ้านรักเฉลิมพระเกียรติ ตำบลสวนหลวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
วิสาหกิจชุมชน, ผ้าบาติก, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ความรู้ 2) ขั้นตอนและวิธีการผลิต 3) สภาพปัญหากระบวนต่าง ๆ 4) แนวทางส่งเสริมอาชีพ 5) การออกแบบลวดลาย และแนวทางการส่งเสริมในการทำผ้าบาติก กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าบาติก บ้านรักเฉลิม พระเกียรติ ตำบลสวนหลวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 11 คน โดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์ประกอบด้วย แบบบันทึกการสังเกต แบบสัมภาษณ์ และเครื่องบันทึกเสียง ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการ การเกิดกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าบาติก บ้านรักเฉลิมพระเกียรติ พบว่ามี 4 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นก่อตัวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าบาติก 1.2) ขั้นตอนการรวมตัวกันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าบาติก 1.3) ขั้นการผลิตสินค้าภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าบาติก และ 1.4) ด้านขั้นตอนการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าบาติก 2) สภาพปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าบาติก บ้านรักเฉลิมพระเกียรติ ดังนี้ 2.1) ปัญหาการผลิตผ้าบาติก 2.2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์ผ้าบาติก 2.3) ปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มอาชีพผ้าบาติก และ 2.4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่มผ้าบาติก 3) การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าบาติก บ้านรักเฉลิมพระเกียรติ ตำบลสวนหลวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ดังนี้ 3.1) ความพอประมาณการทำผ้าบาติก 3.2) ความมีเหตุผลในการทำผ้าบาติก 3.3) การมีภูมิคุ้มกันในเรื่องของการทำผ้าบาติก และ 3.4) การมีความรู้ในกลุ่มอาชีพการทำผ้าบาติก
3.5) การมีคุณธรรมในกลุ่มอาชีพการทำผ้าบาติก
References
กุสุมา โกศล. (2555). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางในยุคเศรษฐกิจถดถอย: ศึกษากรณีจังหวัดสุราษฎร์ และนครศรีธรรมราช. เรียกใช้เมื่อ 16 ธันวาคม 2564
จาก http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2555/b176600.pdf
บัณฑร อ่อนดํา. (2533). การดำรงอยู่ของกลุ่มอาชีพในชุมชนผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ: กรณีศึกษากลุ่มเครื่องแกงตำมือบ้านเกาะมุกด์ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง. ใน รายงานการวิจัย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
พรวิกา มากวิจิต และบัญชา สมบูรณ์สุข. (2563). การตัดสินใจในการเลือกระบบกรีดยางพาราของเกษตรกรชาวสวนยางพารา อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 38(4), 571-580.
ภัทรพงศ์ วงศ์สุวัฒน์ และคณะ. (2564). ความยั่งยืนของเกษตรกรชาวสวนยางในประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(3), 174-193.
วราภรณ์ ภูมลี. (2559). การศึกษางานสร้างสรรค์ จิตรกรรมบาติกจากลวดลายล้านนา จังหวัดลำปาง. วารสารวิจิตรศิลป์, 7(1), 143-190.
ศุภชัย สร้อยจิต. (2561). ผ้าบาติกสีคราม: มิติความงามวิถีปัตตานีสู่งานศิลปะ. วารสารวิทยาบริการ, 29(2),1-11.
สุลีพร ทองงาม. (2550). การดำรงอยู่ของกลุ่มอาชีพในชุมชนผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ: กรณีศึกษากลุ่มเครื่องแกงตำมือบ้านเกาะมุกด์ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
อรทิพย์ เรืองกุล. (2547). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อารีย์ จันแก้ว. (2553). การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ผลิตยางแผ่นดิน และเกษตรกรที่ผลิตน้ำยางสด ในตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาการเกษตร. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.