การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านวังม่วง ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
กลุ่มการออม, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การออม, อาชีพเสริมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการเกิดกลุ่มกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านวังม่วง ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของกลุ่มกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านวังม่วง ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มภาย
ใต้ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น
2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านวังม่วง ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวน 3 คน และ 2) กลุ่มผู้ส่งเสริม และสนับสนุนการบริหารจัดการ กลุ่ม ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีจำนวน 3 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ และเป็นผู้สนับสนุน กลุ่มออมทรัพย์
เพื่อการผลิตบ้านวังม่วงมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัย พบว่า 1) พัฒนาการการเกิดกลุ่มออมทรัพย์ พบว่ามี 4 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นก่อตัวของกลุ่มออมทรัพย์
1.2) ขั้นตอนการรวมตัวกันของกลุ่มออมทรัพย์ 1.3) ขั้นการผลิตสินค้าภายในกลุ่มออมทรัพย์ และ 1.4) ด้านขั้นตอน
การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์ 2) สภาพปัญหาของกลุ่มออมทรัพย์ ดังนี้ 2.1) ปัญหาการผลิตกลุ่มออมทรัพย์ 2.2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์กลุ่มออมทรัพย์ 2.3) ปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มออมทรัพย์ และ 2.4) ปัญหาด้าน
การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์ และ 3) การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงออมทรัพย์ ดังนี้ 3.1) ความพอประมาณของกลุ่มออมทรัพย์ 3.2) ความมีเหตุผลของกลุ่มออมทรัพย์ 3.3) การมีภูมิคุ้มกันของ
กลุ่มออมทรัพย์ 3.4) การมีความรู้ของกลุ่มออมทรัพย์ และ 3.5) การมีคุณธรรมของกลุ่มออมทรัพย์
References
กฤตยา ระวิวงศ์. (15 กันยายน 2565). กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านวังม่วง ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (ชาญวิทย์ รักษ์มณี, ผู้สัมภาษณ์)
ทวี วัชระเกียรติศักดิ์. (2554). การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยการพัฒนากลุ่มอาชีพ ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 5(1), 43-54.
นงนุช พ้นยาก. (2549). ศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาธุรกิจผ้ากาบบัว บ้านโนนสวาง ตำบลโนนสว่าง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยอุบาลราชธานี.
บัณฑร อ่อนดํา. (2533). ยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญโชติ เกตุแก้ว. (2556). คุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของบุคลากรฝ่ายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(2), 93-105.
ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์. (2540). ศรษฐกิจชุมชน: ทางรอดที่ยั่งยืนของชาติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัย และ ให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2543). กระบวนการ และเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
พูนศักดิ์ สุวรรณวงค์. (15 กันยายน 2565). ลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านวังม่วง ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (ชาญวิทย์ รักษ์มณี, ผู้สัมภาษณ์)
มยุรา ปะลาวัน. (2550). การดำรงอยู่ของกลุ่มอาชีพในชุมชนผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ: กรณีศึกษา กลุ่มเครื่องแกงตำมือบ้านเกาะมุกด์ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
เรณู ชูศรีอ่อน. (15 กันยายน 2565). กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านวังม่วง ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (ชาญวิทย์ รักษ์มณี, ผู้สัมภาษณ์)
ศุภรดา แสนยาโต, และคณะ. (2561). การเสริมสร้างอาชีพแปรรูปกล้วยน้ำว้าโดยใช้ภูมิปัญญาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนท้องถิ่น ตำบลนาฝาย จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสังคมศาสตร์, 3(1), 85-95.
สุลีพร ทองงาม. (2550). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
อรทิพย์ เรืองกุล. (2547). กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขต เทศบาลเมืองกําแพงเพชร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.