ลมเปลี่ยนทิศ: แนวทางการปรับตัวด้านการประกอบอาชีพการเลี้ยงกุ้งขาว จากผลกระทบอุทกภัย กรณีศึกษา ชุมชนบ้านบางแรด ตำบลบ้านเพิง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จิตลดา สีสาย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ผกามาศ จันทศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เจียร ชูหนู มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การปรับตัวด้านการประกอบอาชีพ, การเลี้ยงกุ้งขาว, ผลกระทบอุทกภัย, ชุมชนบ้านบางแรด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาการประกอบอาชีพการเลี้ยงกุ้งขาว และ 2) แนวทาง การปรับตัวด้านการประกอบอาชีพการเลี้ยงกุ้งขาวจากผลกระทบอุทกภัย กรณีศึกษา ชุมชนบ้านบางแรด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ที่ประกอบอาชีพการเลี้ยงกุ้งขาว มี 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 7 คน และผู้ให้ข้อมูลรอง จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ เครื่องบันทึกภาพ แบบสังเกตการณ์ แบบสัมภาษณ์ และเครื่องบันทึกเสียง มีการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการสำรวจพื้นที่ในชุมชน สร้างความสัมพันธ์ และประสานงานใช้สถิติวิจัยและวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการประกอบอาชีพการเลี้ยงกุ้งขาวเมื่อมีน้ำท่วมขัง ทำให้น้ำสกปรก คุณภาพน้ำไม่ดี และส่งผลกระทบต่อตัวกุ้งขาว ทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพและกุ้งที่อาจจะเกิดโรคหรือตายเป็นตัวนำพาเชื้อโรค ถ้ากุ้งยังเล็กมีความเสี่ยงที่กุ้งจะเป็นโรคและตายมากขึ้น และหากฝนตกเป็นเวลานานมีปริมาณน้ำมากทำให้น้ำล้นตลิ่ง คุณภาพน้ำในบ่อกุ้งจึงไม่ดี ทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงกะทันหัน มีอุณหภูมิต่ำ กุ้งในบ่อปรับตัวไม่ทัน 2) แนวทางการปรับตัวด้านการประกอบอาชีพการเลี้ยงกุ้งขาว ได้แก่ การปรับวิธีเลี้ยงกุ้ง ด้านช่องทางการจำหน่าย การดูแลความเป็นอยู่ของชาวบ้านจากกรมประมงอำเภอ ซึ่งเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพการเลี้ยงกุ้งขาวที่จะได้รับการเยียวยานั้น ต้องไปขึ้นทะเบียนกับกรมประมง ส่วนภาคเอกชนมีการปรับตัวในการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายแบบออนไลน์ และส่งไปยังโรงงาน บริษัท และองค์กรที่รับซื้อกุ้งด้วยการส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2552). หนังสืออุตุนิยมวิทยา ภัยธรรมชาติในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กองสื่อสารสารสนเทศ กรมอุตุนิยมวิทยา.

กัญญารัตน์ สุนทรา และอัญชลี คมปฏิภาณ. (2562). เฝ้าระวังการเลี้ยงกุ้งทะเลในช่วงฤดูฝน. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2567 จาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20190620143800_1_file.pdf

จิราวรรณ นึกเว้น และอุมาพร คำหมอน. (2558). การประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และเพื่อการจัดทำฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการจ่ายเงินชดเชย อุทกภัย ปี พ.ศ. 2554. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ตุลฮาบ หวังสุข. (2565). เลี้ยงกุ้งหน้าฝน….พบเจอปัญหาเช่นไร? เรียกใช้เมื่อ 12 มิถุนายน 2565 จาก http://www.nicaonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1430:2012-07-06-09-01-13&catid=37:2012-02-20-02-58-06&Itemid=117

นลินี อุ๋ยสุวรรณ. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ด้วยวิธีปล่อยลูกกุ้งในบ่อและอนุบาลในคอกพลาสติกด้วยน้ำความเค็มตํ่า. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การประมง. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เบญจวรรณ สระทองยอด. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อลูกกุ้งของผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงกุ้งในจังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา. (2558). การจัดการภายในฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2567 จาก https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/cf-songkhla

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

How to Cite

สีสาย จ., จันทศรี ผ., ดำรงวัฒนะ จ., อินทรสุวรรณ เ., ชัยรักษา เงินถาวร ส., & ชูหนู เ. (2024). ลมเปลี่ยนทิศ: แนวทางการปรับตัวด้านการประกอบอาชีพการเลี้ยงกุ้งขาว จากผลกระทบอุทกภัย กรณีศึกษา ชุมชนบ้านบางแรด ตำบลบ้านเพิง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 4(2), 1–10. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/134