การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การเรียนรู้บ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การผลิตสบู่เหลวเปลือกมังคุด, ศูนย์การเรียนรู้บ้านสมุนไพรบ้านคีรีวงบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการเกิดกิจกรรมการผลิตสบู่เหลวเปลือกมังคุดของกลุ่มบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) สภาพปัญหาการผลิตสบู่เหลวเปลือกมังคุด
ของกลุ่มบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) การบริหารจัดการกิจกรรม
การผลิตสบู่เหลวเปลือกมังคุดภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง 9 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ศูนย์การเรียนรู้บ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง 6 คน และ 2) ผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้
ความเข้าใจและมีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำสบู่สมุนไพรไม่ต่ำกว่า 5 ปี ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการเกิดกิจกรรมการผลิต สบู่เหลวเปลือกมังคุด มี 3 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นก่อตัวของกลุ่ม พบว่า การจัดตั้งกลุ่มเกิดขึ้น
ในปี พ.ศ. 2542 1.2) ขั้นดำเนินการปฏิบัติ หลังจากที่ได้พูดคุยกัน ก็เริ่มมีความคิดในการรวมกลุ่มกันภายในชุมชน และเริ่มมีการผลิตสินค้าจำหน่าย และ 1.3) ขั้นการขยายตัวของกลุ่ม พบว่า สบู่เหลวเปลือกมังคุดได้จำหน่ายออกและมีการรับชื้อปลีกและย่อยออกไปจำหน่าย 2) สภาพปัญหาของกลุ่ม 2.1) ปัญหาการผลิตสบู่เหลวเปลือกมังคุด 2.2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์สบู่เหลวเปลือกมังคุด 2.3) ปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวงและ
2.4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่มบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง และ 3) การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ 3.1) ความพอประมาณ 3.2) ความมีเหตุผล 3.3) การมีภูมิคุ้มกัน 3.4) การมีความรู้ และ 3.5) การมีคุณธรรม
References
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). เศรษฐกิจพอเพียงกับภาคการเกษตร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.
กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ. (2544). การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสำหรับเยาวชนไทย: กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2546). โลจิสติกส์ และการจัดการซัพพลายเชน. กรุงเทพมหานคร: นัฐพร.
ชีวรรณ เจริญสุข. (2547). กลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม (โชว์ห่วย). ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ณัฐรส เมืองศรี. (2551). กระบวนการกลุ่มอาชีพชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มอาชีพขายไก่ย่าง ชุมชนทางพาด ตำบลคำม่วง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ธวัช ลำภูศรี. (2561). คีรีวงความเป็นเมืองที่ก้าวกระโดด แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
นงนุช พ้นยาก. (2549). เศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาธุรกิจผ้ากาบบัว บ้านโนนสวาง ตำบลโนนสว่าง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
บัณฑร อ่อนดํา. (2533). ยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์. (2540). เศรษฐกิจชุมชน: ทางรอดที่ยั่งยืนของชาติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัย และให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2543). กระบวนการ และเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พัฒน์ บุณยรัตพันธุ์. (2547). การสร้างพลังชุมชนโดยขบวนการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
มยุรา ปะลาวัน. (2550). การดำรงอยู่ของกลุ่มอาชีพในชุมชนผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ: กรณีศึกษากลุ่ม เครื่องแกงตำมือบ้านเกาะมุกด์ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
รุ่งทิพย์ เสมอเชื้อ. (2550). การบริหารจัดการธุรกิจชุมชนของกลุ่มอาชีพไม้กวาดลายดอกแก้ว: กรณีศึกษา ตำบลดงสุวรรณ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สมพงษ์ เฟื่องอารมณ์. (2550). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักส์.
สุลีพร ทองงาม. (2550). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
เสน่ห์ จามริก. (2541). เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
อำเภอลานสกา. (2557). ประวัติชุมชนบ้านคีรีวง. เรียกใช้เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 จาก https://lansakadistrict.go.th/news/doc_download/a_100313_173630.pdf
Krungsri Guru (กรุงศรี กูรู). (2560). แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจที่ทำได้จริง. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2566 จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/practical-self-sufficient-economy-philosophy
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Innovation for Sustainable Social Development

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.