แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงคั่วกลิ้งของวิสาหกิจชุมชน เพื่อส่งเสริมอาชีพของชุมชนสามตำบล หมู่ที่ 4 ตำบลสามตำบล อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ราตรี หีดใจจำ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ธันย์ชนก ทองนาค มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เดโช แขน้ำแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ปุญญาดา จงละเอียด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
  • พระณัฐพงษ์ จันทร์โร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

แนวทางส่งเสริม, กลุ่มผู้ผลิตเครื่องแกง, เครื่องแกงคั่วกลิ้ง, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาการทำผลิตภัณฑ์เครื่องแกงคั่วกลิ้งในชุมชน 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการทำผลิตภัณฑ์เครื่องแกงคั่วกลิ้งในชุมชน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงคั่วกลิ้งในชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคัดเลือกแบบเจาะจง คือ กลุ่มผู้ผลิตเครื่องแกง กลุ่มตัวแทนจำหน่าย กลุ่มผู้ซื้อรายย่อยและกลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐ รวมทั้งสิ้น 24 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาการทำผลิตภัณฑ์เครื่องแกงคั่วกลิ้งในชุมชน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ทำความสะอาดวัตถุดิบ แล้วนำไปผึ่งแดดจนแห้ง นำวัตถุดิบทั้งหมดมาชั่งตามสูตรเพื่อเตรียมบด ขั้นตอนที่ 2 ชั่งวัตถุดิบตามสูตร ทำการบดวัตถุดิบแล้วนำมาพักให้คลายร้อน ขั้นตอนที่ 3 นำบรรจุใส่กระปุกหรือใส่ถุงตามที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้ การคัดเลือกวัตถุดิบในการทำเครื่องแกงคั่วกลิ้ง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงสามตำบลจะเน้นวัตถุดิบที่มาจากชุมชนก่อนเสมอ และจะมีวัตถุดิบบางส่วนที่ชุมชนไม่สามารถปลูกเองได้ จึงทำการสั่งซื้อวัตถุดิบเหล่านั้นมาจากตลาดกลาง 2) ปัญหาและอุปสรรคการทำผลิตภัณฑ์เครื่องแกงคั่วกลิ้งในชุมชน พบว่า วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตเครื่องแกงต้องอาศัยฤดูกาล เมื่อเข้าช่วงฤดูฝน วัตถุดิบหลัก เช่น พริกขี้หนู พริกไทย และวัตถุดิบอื่น ๆ ขาดตลาดเนื่องจากความต้องการของท้องตลาดและผลผลิตที่ไม่ออกผลในตามฤดูกาล อีกทั้งราคาวัตถุดิบไม่แน่นอน อาจทำให้ราคาของวัตถุดิบมีราคาที่ค่อนข้างสูง และ 3) แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงคั่วกลิ้งในชุมชนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงสามตำบล มีการวางแผนงบประมาณให้แก่กลุ่ม รวมถึงมีความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสาธารณสุขของตำบล

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต...สู่การเป็น Smart officer สมุนไพรและเครื่องเทศ. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

จุติพร ฮกอั้น. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงแบบมีส่วนร่วมบนฐานทรัพยากรชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มสตรีทำเครื่องแกงบ้านหัวเกาะช้าง ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(3), 96-110.

ชมพูนุช โสมาลีย์ และคณะ. (2551). การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และยืดอายุการเก็บรักษาเครื่องแกงปักษ์ใต้ เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท้องถิ่น: กรณีศึกษาเครื่องแกงคั่วกลิ้งและเครื่องแกงส้มของกลุ่มแม่ข้านนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ณัฐวรา ดาววีระกุล. (2558). แผนธุรกิจน้ำพริกแกงแม่เสียน. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนุตร์ กิตติพลภักดี และคณะ. (2562). การประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเครื่องแกงในจังหวัดสงขลา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

น้อมจิตต์ สุธีบุตร และคณะ. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกงก้อน เพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

ยูนิเซฟ มาศวิเชียร. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เครื่องแกงโดยการใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ: กรณีศึกษาโรงงานเบเครื่องแกงใต้. ใน วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศิริขวัญ หวันจิ และคณะ. (2563). จันดีพริกแกง: แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 4(2), 45-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

How to Cite

หีดใจจำ ร., ทองนาค ธ., แขน้ำแก้ว เ., ดำรงวัฒนะ จ., ชัยรักษา เงินถาวร ส., จงละเอียด ป., & จันทร์โร พ. (2024). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงคั่วกลิ้งของวิสาหกิจชุมชน เพื่อส่งเสริมอาชีพของชุมชนสามตำบล หมู่ที่ 4 ตำบลสามตำบล อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 4(2), 11–20. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/164