เตาชีวมวล: แนวทางการส่งเสริมการทำเตาชีวมวลเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน กรณีศึกษา แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยบ้านไชยรัตน์ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านลำนาว อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, เตาชีวมวล, ครัวเรือนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิธีการทำเตาชีวมวลเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน 2) สภาพปัญหาการทำเตาชีวมวลเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน และ 3) แนวทางการส่งเสริมการทำเตาชีวมวลเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน กรณีศึกษา แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยบ้านไชยรัตน์ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านลำนาว อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ด้านเตาชีวมวล และผู้ที่ใช้เตาชีวมวลจริง จำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) วิธีการทำเตาชีวมวลเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน พบว่า เตรียมอุปกรณ์ทำเตาจะช่วยลดข้อผิดพลาดจากการทำงาน การเลือกวัสดุทำเตา ควรเลือกที่มีความแข็งแรง ทนทาน มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน การประกอบเตา นำเสื้อเตา และห้องอบที่ประกอบเสร็จแล้วมาสวมลงไป จากนั้นเชื่อมเหล็กตะแกรงวงกลม ให้เสมอกับปากของถังน้ำยาแอร์ก็จะเป็นอันเสร็จ การทดลองประสิทธิภาพ สามารถนำมาใช้ในการประกอบอาหารแทนเตาแก๊สได้ 2) ปัญหาการทำเตาชีวมวลเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน พบว่า ปัญหาในการเลือกวัสดุ และอุปกรณ์ในการสร้างเตา วัสดุอุปกรณ์บางอย่างที่ค่อนข้างที่จะหาได้ยากในชุมชน ปัญหาความปลอดภัยในกระบวนการผลิต การตรวจสอบเครื่องมือก่อนการใช้งาน ปัญหาความคงทน
และ 3) แนวทางส่งเสริมการทำเตาชีวมวลเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน พบว่า การออกแบบการสร้างเตาชีวมวล ใช้วัสดุอื่นที่สามารถทนความร้อนที่หาได้ในท้องถิ่นมาใช้สร้างเตาเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิต โดยอาจจะออกแบบให้มีขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะที่จะพกพาออกไปข้างนอกเพื่อสร้างจุดขายให้น่าสนใจ
References
กนกพร หมีทอง. (2564). นวัตกรรมสร้างอาชีพ “เตาชีวมวล” ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง ร้อนเร็วไฟแรงคนกรุงชอบใช้. เรียกใช้เมื่อ 21 มีนาคม 2566 จาก https://www.sentangsedtee.com/exclusive/article_9385.
กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์ และลัญจกรณ์ นิลกาญจน์. (2561). กระบวนการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวล ภาคครัวเรือนเพื่อลดการใช้แก๊สหุงต้ม. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(ฉบับพิเศษ), 116-127.
เกียรติสุดา กาศเกษม และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2559). การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น ของโรงเรียนเทศบาลด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(3), 112-124.
ชัยยศ ปานเพชร. (2559). ข้าวหลามหนองมน. PULINET Journal, 3(3), 70-76.
นรินทร์ เจริญพันธ์ และสุธี วังเตือย. (2558). โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหลามเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลเกษตรท้องถิ่นของจังหวัดสระแก้ว. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นฤมล ภานุนําภา และคณะ. (2559). การพัฒนา และส่งเสริมการใช้เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงแบบอเนกประสงค์. ใน รายงานการวิจัย. สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้.
มนัสสุดา นันทสิริพร และคณะ. (2558). การศึกษาเศรษฐกิจการทำเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงถ่าน ปม.1 สู่อาเซียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้.
วิถีชีวิตเกษตรพอเพียง. (2564). เตาชีวมวลจากถังน้ำยาแอร์ใช้เป็นเตาหุงต้มพลังงานสูง. เรียกใช้เมื่อ 18 มีนาคม 2566 จาก https://xn--12cmh8bbc4da0bh2bc2a3d5edobk6sg.com/?p=13103.
สำนักการจัดการนวัตกรรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยี. (2564). เตาชีวมวลประหยัดพลังงาน. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2566 จาก https://imtt.rmutsv.ac.th
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). ชุมชนเมืองลอง คิดค้นเตาชีวมวลแก้ฝุ่น PM 2.5. เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.thaihealth.or.th
สุปราณี วุ่นศรี และคณะ. (2561). การพัฒนาเตาประหยัดพลังงาน สำหรับชุมชน. วารสารวิจัย มทร, 12(2), 10-12.
MGR Online. (2564). “เตาชีวมวลปั้นมือ” เปลี่ยนปัญหาหมอกควันเป็นพลังงาน. เรียกใช้เมื่อ 18 มีนาคม 2566 จาก https://mgronline.com/science/detail/9610000014952.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.