“ปลากัดสายกัด” ภูมิปัญญาท้องถิ่นการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการอนุรักษ์ของชุมชนบ้านบนควน หมู่ที่ 5 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ปลากัดสายกัด, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การเพาะเลี้ยงปลา, ปลาสวยงาม, การอนุรักษ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบท และสภาพปัญหาการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ 2) ภูมิปัญญาท้องถิ่นการเพาะเลี้ยงปลา และ 3) แนวทางส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลากัดสายกัดภูมิปัญญาท้องถิ่นปลาสวยงามเพื่อการอนุรักษ์ของชุมชนบ้านบนควน หมู่ที่ 5 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือบันทึกภาพ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และเครื่องบันทึกเสียงในการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ จำนวน 8 คน ผู้ที่ส่งเสริม และสนับสนุนภูมิปัญญาการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสรุปภาพรวม ผลการศึกษา พบว่า 1) บริบทและสภาพปัญหาการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านบนควน หมู่ที่ 5 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนอาหารปลากัด และปัญหาการดูแลรักษาปลากัด 2) ภูมิปัญญาวิธีการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านบนควน หมู่ที่ 5 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้ 2.1) การเตรียมบ่อ 2.2) การคัดเลือกพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ 2.3) การเคียงคู่ผสม 2.4) การปล่อยปลาลงบ่อ
2.5) การดูแลลูกปลา 2.6) การดูแลปลาเพื่อนำไปกัด 2.7) การหมักน้ำด้วยใบไม้ใส่ในปลากัด 2.8) การให้อาหารปลากัด 2.9) การเตรียมกัด และ 2.10) การดูแลปลากัดหลังกัด และ 3) แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านบนควน หมู่ที่ 5 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลากัด การส่งเสริมการจำหน่ายปลากัด และการส่งเสริมการขยายพันธุ์ปลากัด
References
กรมประมง กระทรวงเกษตร และสหกรณ์. (2565). แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี พ.ศ. 2566 - 2570. เรียกใช้เมื่อ 21 ธันวาคม 2565 จาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20220315131156 _1_file.pdf
กรรชัย หรรษา. (2557). การเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์. กรุงเทพมหานคร: ประยูรวงศ์.
กล่ำ สามารถ. (2548). การดูแลลูกปลา. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนอักษร.
คำนึง ใจรักษ์. (2552). การเตรียมเลี้ยงปลากัด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
จรรยา บัวแก้ว. (2555). การปล่อยปลาลงบ่อ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เจนรงค์ ศรีรักษา. (2545). ปัญหาการดูแลรักษาปลากัด. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ชื่น หอมชื่น. (2547). การเคียงผสม. กรุงเทพมหานคร: เพชรประกาย.
เชียร อร่าม. (2557). การเตรียมกัด. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร.
ทีมข่าวเนชั่นทีวี. (2565). ปลาสวยงามไทยกวาดรายได้ 700 ล้านบาท/ปี. เรียกใช้เมื่อ 21 ธันวาคม 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/1007844
ธีรดล เกิดงาม. (2544). ความหมายของการเลี้ยงปลากัด. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พรศิลป์ ทรงไพร. (2553). แนวทางการส่งเสริมเกี่ยวกับการขยายปลากัด. วารสารวิจัยเทคโนโลยี นวัตกรรม, 2(2), 20-26.
วาริน แก้วใส. (2553). การเตรียมภาชนะหรือบ่อเพาะปลากัด. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก https://www.eef.or.th
วิชิต ศรีรัตนะ. (2552). แนวทางการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลากัด: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่ม ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลากัด. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(ฉบับพิเศษ), 36-47.
สมจิต ใจกล้า. (2532). การหมักน้ำปลากัด. เรียกใช้เมื่อ 13 ตุลาคม 2565 จาก https://bsc.dip.go.th/th/
สมทรง ประมวล. (2554). ปัญหาด้านอาหารของปลากัด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
สว่าง ซั่วอิ๋ว. (2538). การให้อาหารปลากัด. เรียกใช้เมื่อ 25 มกราคม 2565 จาก https://www.mixtchat uchak.com
สุจิต เมืองสุข. (2565). ฟิน เบ็ตต้า อ่างทอง เผยเทคนิคเลี้ยงปลากัดให้รอด. เรียกใช้เมื่อ 21 ธันวาคม 2565 จาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_148326
สุพจน์ เชื้อบ้านเกาะ. (2551). การดูแลหลังกัด. เรียกใช้เมื่อ 5 ธันวาคม 2565 จาก https://readthecloud.com
อาวุธ เพชรรัตน์. (2556). แนวทางการส่งเสริมการจำหน่ายปลากัด. วารสารวิชาการ และการวิจัย มทร.พระนคร, 1(1), 9-20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.